เกี่ยวกับ สดร.

history 2563

        คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเดิม) ดำเนินโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 โดยสถาบัน มีแผนการดำเนินงานที่สำคัญประการหนึ่งที่ได้รับการบรรจุไว้ในลำดับต้น ๆ ของแผนการจัดตั้ง คือ การวางโครงสร้างพื้นฐานทางดาราศาสตร์ที่มีมาตรฐานระดับสากล เพื่อสนับสนุนงานวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ของประเทศ ซึ่งเป็นภารกิจหลักที่สำคัญ รวมถึงรองรับการให้บริการทางด้านดาราศาสตร์ในรูปแบบต่าง ๆ ของสถาบัน ให้ตรงตามความต้องการของทุกกลุ่มเป้าหมายในทุกระดับ ให้สามารถเข้าถึงการให้บริการได้อย่างทั่วถึงและสามารถใช้โครงสร้างพื้นฐานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่า ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สถาบันได้ดำเนินการวางโครงสร้างพื้นฐานทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 12 แห่ง โดยแบ่งเป็น

1. โครงสร้างพื้นฐานด้านอาคารสถานที่สำหรับการให้บริการด้านวิชาการ ประกอบด้วย อาคารหอดูดาว
ที่มีกล้องโทรทรรศน์แบบต่างๆ เพื่อใช้ในการสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้า/อาคารท้องฟ้าจำลองที่มีพื้นที่สำหรับการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ รวมถึงอาคารสำนักงาน สำหรับปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย

astro pic H4    astro pic H3   

 

เปิดให้บริการแล้ว  จำนวน  4  แห่ง

    • อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร (Princess Sirindhorn AstroPark) ตั้งอยู่ที่ ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม
      จ.เชียงใหม่ เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบในปี 2563
    • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ภูมิภาค
      • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา
        (Regional Observatory for Public, Nakhon Ratchasima)
        ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา
        เปิดให้บริการในปี 2557
      • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา
        (Regional Observatory for Public, Chachoengsao)
        ตั้งอยู่ที่ ต.วังเย็น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา เปิดให้บริการในปี 2561
      • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา
        (Regional Observatory for Public, Songkhla)
        ตั้งอยู่ที่ ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา เปิดให้บริการในปี 2562
      • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ขอนแก่น
        (Regional Observatory for Public, Khon Kaen)
        ตั้งอยู่ที่ ต.เขื่อนอุบลรัตน์ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เปิดให้บริการท้องฟ้าจำลองและกิจกรรมดูดาวในปี 2566 และคาดว่าจะเปิดบริการอย่างเต็มรูปแบบในปี 2568

อยู่ระหว่างการก่อสร้าง  จำนวน  1  แห่ง

      1. หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา พิษณุโลก (Regional Observatory for Public, Phitsanulok) ตั้งอยู่ภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ต.พลายชุมพล อ.เมือง จ.พิษณุโลก


2. โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ที่มีการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ และอุปกรณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับใช้ในการสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้า เพื่อการค้นคว้า วิจัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 8 แห่ง ประกอบด้วย

เปิดให้บริการแล้ว

[ 1 ] หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา หรือ หอดูดาวแห่งชาติ (Thai National Observatory : TNO) ตั้งอยู่ที่ สถานีทวนสัญญาณทีโอที อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ – เปิดให้บริการแล้วในปี 2556 ( โครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี )

[ 2 ] เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ควบคุมระยะไกลอัตโนมัติ (Thai Robotic Telescope Network : TRT)

      • หอดูดาว Cerro Tololo Inter-American Observatory (CTIO) สาธารณรัฐชิลี
      • หอดูดาว Gao Mei Gu มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
      • หอดูดาว Sierra Remote มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
      • หอดูดาว SpringBrook นิวเซาว์เวลล์ (NWS) ออสเตรเลีย
      • หอดูดาว La Palma Observatory สเปน
      • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ภายใต้โครงการเฝ้าติดตามวัตถุที่อาจมีภัยคุกคามต่อโลก บริเวณสถานีรายงานดอยอินทนนท์ จ. เชียงใหม่ ( ความร่วมมือระหว่าง สดร. กองทัพอากาศ และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม )

อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

[ 1 ] หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ ( Thai National Radio Astronomy Observatory : TNRO ) ตั้งอยู่ภายในบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่อยู่ระหว่างการติดตั้งและทดสอบระบบรับสัญญาณ ประกอบด้วย

[ 1.1 ] กล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เมตร 
[ 1.2 ] อาคารควบคุมกล้องโทรทรรศน์วิทยุ

2538 1

        สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีความรู้และความสนพระทัยอย่างลึกซึ้งในศาสตร์และวิทยาการหลายแขนง พระองค์ได้ทรงริเริ่มโครงการในพระราชดำริมากมายหลายโครงการเพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร์ของพระองค์  โครงการเหล่านี้อาจมีธรรมชาติแตกต่างกันบ้างก็เป็นโครงการแบบบูรณาการ และบ้างก็เป็นโครงการที่มีลักษณะเฉพาะ ในบรรดาโครงการมากหลายที่เกิดจากพระราชดำริของพระองค์ โครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดเป็นโครงการในระดับแนวหน้าโครงการหนึ่ง โครงการในพระราชดำริของ"สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" ได้รับการสานต่อให้ดำเนินการได้โดยรัฐบาลไทยและหน่วยงานต่างๆของรัฐ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

        “ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ” ทรงมีความสนพระทัยอย่างยิ่งในวิชาดาราศาสตร์ซึ่งเป็นศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดศาสตร์หนึ่งของโลก ทรงตระหนักว่าท้องฟ้ากว้างใหญ่ที่ระยิบระยับด้วยแสงจากหมู่ดาวน้อยใหญ่เป็นสิ่งที่สร้างสรรค์จินตนาการและดึงดูดความสนใจของผู้คนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้เป็นอย่างดี จึงทรงประทานพระราชดำริว่าดาราศาสตร์น่าจะเป็นเครื่องมืออีกอันหนึ่งที่ใช้นำสังคมของประเทศให้ก้าวสู่ความเป็นสังคมแห่งความรู้ได้

        เมื่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้จัดตั้งสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติขึ้นในปี พ.ศ. 2551 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงพระกรุณารับโครงการดำเนินการของสถาบันฯเป็นโครงการในพระราชดำริ 2 โครงการ ได้แก่

        1. โครงการหอดูดาวแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในศุภมงคลวารเฉลิมพระชนมายุ 80 พรรษา

        2. โครงการหอดูดาวภูมิภาคเพื่อประชาชน 5 แห่ง

nma home 01

หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
จังหวัดนครราชสีมา

pasted image 3

หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา
ภาคตะวันออก 
จังหวัดฉะเชิงเทรา

ska home
หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา
ภาคใต้ 
จังหวัดสงขลา

อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง 

- หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ขอนแก่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จังหวัดขอนแก่น
- หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา พิษณุโลก ภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก


        นอกจากนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริเรื่องความร่วมมือกับองค์กรด้านดาราศาสตร์ในมิตรประเทศอีกหลายประเทศ เช่น หอดูดาวแห่งชาติยูนนาน หอดูดาวเกาเหม่ยกู่ สาธารณรัฐประชาชนจีน  สถาบันดาราศาสตร์และฟิสิกส์อวกาศเกาหลี ประเทศเกาหลีใต้ หอดูดาว พารานัล และหอดูดาวเซอร์โร โทโลโล อินเทอร์อเมริกันในประเทศสาธารณรัฐชิลี เป็นต้น

        วิสัยทัศน์อันกว้างไกลของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งแสดงให้ประจักษ์ด้วยโครงการในพระราชดำริเหล่านี้จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาสถานภาพของประเทศให้ก้าวขึ้นสู่ความเป็นผู้นำในวิชาดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์

         

          ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

Page 13 of 13