สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยนักวิจัย สดร. ร่วมค้นพบการส่ายของเจ็ทรอบหลุมดำใจกลางกาแล็กซี M87 จากการติดตามสังเกตการณ์นานกว่าสองทศวรรษ พบว่าเจ็ทเปลี่ยนทิศทางประมาณ 10 องศา เป็นวัฏจักร ที่มีคาบ 11 ปี นับเป็นหลักฐานแรกที่บ่งชี้และยืนยันว่าหลุมดำอาจกำลังหมุน งานวิจัยดังกล่าว ตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา
| |สำเร็จแล้ว ยาน JUICE สามารถกางเสาอากาศได้อย่างสมบูรณ์
12 พฤษภาคม ค.ศ.2023 องค์การอวกาศยุโรป (ESA) รายงานว่ายาน JUICE ยานสำรวจดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี สามารถกางเสาอากาศยาว 16 เมตรได้สำเร็จ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์หลักของยาน ทำหน้าที่เป็นระบบเรดาร์ใช้ศึกษาทะลุเข้าไปยังเปลือกชั้นน้ำแข็งของดวงจันทร์ หลังจากประสบปัญหาไม่สามารถกางอุปกรณ์ดังกล่าวได้นานเกือบ 1 เดือน
| |ดาวเสาร์กลับมาทวงบัลลังก์ “ราชาแห่งดวงจันทร์บริวาร” จากจำนวนดวงจันทร์ทั้งหมดที่ 145 ดวง
นักดาราศาสตร์ค้นพบดวงจันทร์เพิ่มอีก 62 ดวงรอบดาวเสาร์ การค้นพบนี้ส่งผลให้จำนวนดวงจันทร์ทั้งหมดของดาวเสาร์มากกว่า 100 ดวง และทำให้ดาวเสาร์กลับมาทวงคืนตำแหน่ง “ราชาแห่งดวงจันทร์บริวาร” จากดาวพฤหัสบดี
| |JWST เผยภาพแถบดาวเคราะห์น้อยรอบดาวฤกษ์ Fomalhaut ได้เป็นครั้งแรก
ดาวสวย ๆ บนท้องฟ้าที่ตาเรามองเห็น อาจมีอะไรซ่อนอยู่มากกว่านั้น ดังเช่นดาวฤกษ์ Fomalhaut แห่งกลุ่มดาวปลาใต้ ที่ล่าสุดกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ ได้เผยให้เห็น “แถบดาวเคราะห์น้อย” ที่ล้อมรอบดาวดวงนี้อยู่
| |น้ำตกบนดวงอาทิตย์
นักถ่ายภาพดาราศาสตร์พบปรากฏการณ์ประหลาดบนดวงอาทิตย์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับน้ำตก ที่มีความสูงมากกว่า 100,000 กิโลเมตร
| |Supermassive Black Hole มันใหญ่แค่ไหนกันบ้าง ?
NASA ได้ทำวิดีโอจำลองหลุมดำยักษ์กว่า 10 แห่ง เปรียบเทียบขนาดกับระบบสุริยะของเรา หลุมดำที่ได้ชื่อว่าเป็น Supermassive นั้นมันใหญ่แค่ไหนกันแน่ รับชมได้ในวิดีโอนี้เลย
| |ภาพหลุมดำยักษ์ M87* ที่กำลังพ่นอนุภาคพลังงานสูงออกมา
26 เมษายน 2023 หอดูดาวซีกฟ้าใต้แห่งยุโรปหรือ ESO เผยแพร่ภาพหลุมดำยักษ์หรือ Supermassive Black Hole ที่ใจกลางกาแล็กซี M87 แสดงให้เห็นทั้งเงาของหลุมดำและลำอนุภาคพลังงานสูงที่หลุมดำปลดปล่อยออกมาในภาพเดียวกัน ซึ่งเป็นภาพในช่วงคลื่นวิทยุ นับเป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์สามารถบันทึกภาพทั้งโครงสร้างของหลุมดำและลำอนุภาคพลังงานสูงได้ในคราวเดียวกัน ช่วยให้นักดาราศาสตร์เข้าใจกลไกการปลดปล่อยอนุภาคพลังงานของหลุมดำได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
| |ตรวจพบ “Uracil” องค์ประกอบพื้นฐานของ RNA ในดินจากดาวเคราะห์น้อยริวงู
22 มีนาคม 2023 ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮอกไกโด ตรวจพบ “ยูราซิล (Urasil)” ในตัวอย่างดินของดาวเคราะห์น้อยริวงู (Ryugu) ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบพื้นฐานของ RNA รวมถึงยังตรวจพบกรดนิโคตินิก (Nicotinic acid, Niacin) หรือวิตามินบี 3 ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตทั้งสิ้น ช่วยสนับสนุนสมมติฐานที่ทำนายว่า องค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตบนโลกนั้น มีการก่อตัวขึ้นในวัตถุอวกาศอื่น ๆ ในระบบสุริยะ และเมื่อวัตถุเหล่านี้พุ่งชนโลก จึงทำให้โลกของเรามีวัตถุดิบมากพอที่จะก่อตัวไปเป็นสิ่งมีชีวิตที่เรารู้จักในปัจจุบันนี้ได้
| |ภาพดาวยูเรนัส จากเจมส์ เว็บบ์
วันที่ 6 เมษายน 2023 องค์การอวกาศยุโรปหรือ ESA เปิดเผยภาพถ่ายดาวยูเรนัสจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ (JWST) ที่ปรากฏภาพของเมฆในชั้นบรรยากาศ วงแหวนสุดคมชัดถึง 11 ชั้น และดวงจันทร์ขนาดใหญ่อีก 6 ดวง
| |ประกาศแล้ว! นักบินอวกาศในภารกิจอาร์ทีมิส 2 เตรียมกลับไปดวงจันทร์ในรอบ 50 ปี
เมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา องค์การบริหารการบินอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) ประกาศรายชื่อนักบินอวกาศที่จะกลับไปเยือนดวงจันทร์เป็นกลุ่มแรก จำนวน 4 คน ในภารกิจอาร์ทีมิส 2 (Artemis 2) หลังจากเว้นช่วงสำรวจดวงจันทร์โดยมนุษย์มานานกว่า 50 ปี นับตั้งแต่โครงการอะพอลโล ซึ่งภารกิจอาร์ทีมิส 2 นี้ จะพานักบินอวกาศเดินทางไปยังดวงจันทร์ในปี ค.ศ. 2024
| |“ขยะอวกาศ” มลภาวะที่เป็นเรื่องใหญ่ไม่แพ้ขยะพลาสติก
“อวกาศ” เปรียบเสมือนน่านน้ำสากลที่ใหญ่ที่สุด ที่ปัจจุบันมีการส่งดาวเทียมและยานอวกาศจากนานาประเทศทั่วโลก เพื่อประโยชน์ทั้งทางด้านการสำรวจทรัพยากร การศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ของโลก การติดต่อสื่อสารทางไกล ไปจนถึงด้านความมั่นคงของชาติหรือทางการทหาร ทำให้ภายในปี ค.ศ.2022 มีดาวเทียมที่ยังคงปฏิบัติภารกิจและโคจรอยู่รอบโลกมากกว่า 5,000 ดวง และด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดมากขึ้นในทุก ๆ วัน นักวิทยาศาสตร์คาดว่า ภายในปี ค.ศ.2030 จะมีดาวเทียมโคจรอยู่รอบโลกมากถึง 60,000 ดวง
| |กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ ตรวจพบดาวเคราะห์น้อยโดยบังเอิญ
6 กุมภาพันธ์ 2023 องค์การ NASA เผยว่า กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ (JWST) ได้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่โดยบังเอิญภายในแถบดาวเคราะห์น้อยหลัก กลายเป็นวัตถุขนาดเล็กที่สุดที่ JWST สามารถสังเกตการณ์ได้ แสดงให้เห็นถึงความทรงพลังของ JWST ที่ไม่เพียงแต่สามารถมองลึกเข้าไปในเอกภพได้ไกลกว่ากล้องอื่น แต่ยังสามารถค้นพบวัตถุขนาดเล็กภายในระบบสุริยะของเราได้อีกด้วย
| |