What's up in the sky July - 2025 ท้องฟ้าเดือนกรกฎาคม 2568
12 กรกฎาคม 2568
“Planet X” ดาวเคราะห์ปริศนาดวงที่ 9 มีจริงหรือไม่ ?
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2016 Konstantin Batygin และ Mike Brown นักดาราศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (Caltech) ในสหรัฐฯ เผยแพร่งานวิจัยที่แสดงหลักฐานบ่งชี้ถึงดาวเคราะห์ที่มีขนาดประมาณ 2-4 เท่าของขนาดโลก ในบริเวณระบบสุริยะชั้นนอก ทั้งนี้ ผลการวิจัยยังคงเป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น ซึ่งนักดาราศาสตร์ทั้งสองคนนี้ไม่ได้สังเกตการณ์จนค้นพบดาวเคราะห์จริง ๆ
10 กรกฎาคม 2568
ต้อนรับกระแสอันร้อนแรงของฮีโร่สุดไอคอนนิคอย่าง “ซูเปอร์แมน” ที่มาพร้อมกับผ้าคลุมสีแดง
จักรวาลของเราก็ไม่แพ้จักรวาลดีซี เพราะเราก็มี “ผ้าคลุมไหล่” เหมือนกัน แม้จะไม่ใช่ผ้าคลุมของซูเปอร์ฮีโร่ แต่นี่คือ… ภาพ “เนบิวลาผ้าคลุมไหล่” จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) เส้นใยแก๊สจากซากซูเปอร์โนวากำลังสยายออกกลางอวกาศอย่างตระการตาราวกับผ้าคลุมที่กำลังพริ้วไหวในห้วงจักรวาล
09 กรกฎาคม 2568
ดาวพฤหัสบดีอาจเคยใหญ่กว่าปัจจุบันนี้ถึง 2 เท่า
ในช่วงนานมาแล้วก่อนที่ดาวพฤหัสบดีจะกลายเป็นดาวเคราะห์ยักษ์ใหญ่สุดในระบบสุริยะอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน ดาวพฤหัสบดีเคยใหญ่กว่าและมีสนามแม่เหล็กที่เข้มกว่านี้มาก โดยงานวิจัยในครั้งนี้ได้ให้ผลลัพธ์ที่แสดงถึงการก่อตัวของดาวพฤหัสบดีในช่วงแรกเริ่ม
04 กรกฎาคม 2568
4 กรกฎาคม 2568 โลกไกลดวงอาทิตย์ที่สุดในรอบปี
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี ไม่ได้เป็นวงกลมสมบูรณ์ ทำให้ในแต่ละปี โลกจะมีจุดที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด (Perihelion) และจุดที่ห่างไกลที่สุด (Aphelion)
03 กรกฎาคม 2568
นักดาราศาสตร์พบ "3I/ATLAS" วัตถุจากนอกระบบสุริยะดวงที่สามในประวัติศาสตร์
วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2025 ที่ผ่านมา ทีมนักดาราศาสตร์จากเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ ATLAS (Asteroid Terrestrial-impact Last Alert System) ค้นพบวัตถุคล้ายดาวหาง C/2025 N1 (ATLAS) โดยดาวหางดวงนี้มาจากทิศทางของกลุ่มดาวคนยิงธนู
02 กรกฎาคม 2568
"Arp 105" กาแล็กซีกีตาร์ในห้วงอวกาศ
“Arp 105” คือระบบกาแล็กซีที่เกิดจากการชนและรวมตัวกันของกาแล็กซีสองแห่ง ด้านบนคือ NGC 3561B ซึ่งเป็นกาแล็กซีทรงรี (Elliptical galaxy) ส่วนด้านล่างคือ NGC 3561A ซึ่งเป็นกาแล็กซีกังหัน (Spiral galaxy) ซึ่งทั้งสองมีปฏิสัมพันธ์กันทางแรงโน้มถ่วง ส่งผลให้เกิดหางแก๊สและฝุ่นทอดยาวออกไปกว่า 362,000 ปีแสง ภายในหางนี้ประกอบไปด้วย กระจุกดาว (Star cluster) และกาแล็กซีแคระ (Dwarf galaxy) การเรียงตัวของกาแล็กซีทั้งสองแห่ง รวมถึงหางแก๊สและฝุ่นที่ทอดยาวนี้ ทำให้ Arp 105 มีรูปร่างคล้าย “กีตาร์ในห้วงอวกาศ”
01 กรกฎาคม 2568
What's up in the sky July - 2025 ท้องฟ้าเดือนกรกฎาคม 2568
ปรากฏการณ์เด่น 4 กรกฎาคม 2568 (ช่วงเช้า)โลกอยู่ไกลดวงอาทิตย์มากที่สุดในรอบปี เวลา 12:57 น. (ช่วงหัวค่ำ) ดาวพุธอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันออกมากที่สุด ทางทิศตะวันตก เวลาประมาณ 19:17 น. มีเวลาสังเกตประมาณ 1 ชั่วโมง
24 มิถุนายน 2568
ภาพแรกจากหอดูดาว Vera C. Rubin ยุคใหม่แห่งการสำรวจท้องฟ้า
23 มิถุนายน 2025 ที่ผ่านมา Vera C. Rubin Observatory เผยภาพแรกที่บันทึกได้จากหอดูดาวดังกล่าว นับเป็นการเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ ภายใต้ภารกิจการสำรวจ (survey) ท้องฟ้าซีกโลกใต้ในอีก 10 ปีข้างหน้านี้
17 มิถุนายน 2568
ยาน Solar Orbiter ถ่ายภาพขั้วของดวงอาทิตย์ได้เป็นครั้งแรก
ยานโซลาร์ ออร์บิเตอร์ (Solar Orbiter) ขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) สามารถถ่ายภาพขั้วของดวงอาทิตย์ได้เป็นครั้งแรก