ข่าวทั้งหมด ข่าวดาราศาสตร์

DvzVFcgUwAETn1A narit  logo ipst mini

 

          ปัจจุบันนานาประเทศต่างยอมรับว่าดาราศาสตร์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก ดาราศาสตร์สามารถดึงดูดผู้คนทุกเพศทุกวัยให้ชื่นชอบและหลงใหลในความสวยงามและความน่าอัศจรรย์ ดาราศาสตร์ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นศึกษาทำความเข้าใจเอกภพเท่านั้น แต่ยังมาพร้อมกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาต่าง ๆ ประโยชน์ของดาราศาสตร์ทางด้านการศึกษานอกจากจะทำให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจในดาราศาสตร์มากขึ้นแล้ว ยังสามารถดึงดูดเยาวชนให้มีความสนใจใฝ่รู้ เสริมสร้างจินตนาการ และมีกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ในส่วนของประชาชนทั่วไปนอกจากความสวยงามของกลุ่มดาวต่างๆ ที่ปรากฏ ให้เห็นบนท้องฟ้ายามค่ำคืนแล้ว ดาราศาสตร์ยังสามารถดึงดูดให้ประชาชนสนใจติดตามข่าวสารปรากฏการณ์ต่างๆ เป็นการเสริมสร้างบรรยากาศและส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ของคนในประเทศได้อีกด้วย

        การศึกษาวิชาดาราศาสตร์ในประเทศไทยได้ถูกบรรจุเนื้อหาไว้ในสาระการเรียนรู้ โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการเมื่อปี พ.ศ. 2551 วิชาดาราศาสตร์จึงถือว่าเป็น เรื่องใหม่สำหรับครูผู้สอนและเป็นวิชาที่ยังขาดแคลนครูที่มีความรู้ ทักษะและประสบการณ์อยู่เป็นจำนวนมาก ส่งผลต่อการพัฒนากำลังคนทางด้านดาราศาสตร์ของประเทศ ดังนั้น สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบงานทางด้าน ดาราศาสตร์ของประเทศ ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา จึงได้จัดให้มีโครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขึ้น โดยแบ่งออกเป็นหลายระดับ คือ ขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นสูง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นความสนใจให้เกิดการเรียนรู้ทางด้าน ดาราศาสตร์ เกิดการพัฒนาความรู้ ทักษะ และเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้ทางด้านดาราศาสตร์ให้กับครูผู้สอน เพื่อนำไปพัฒนาสื่อและกระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียน 

        สำหรับโครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นสูง มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นให้ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านดาราศาสตร์ ได้พัฒนาทักษะการทำโครงงานทางด้านดาราศาสตร์ สามารถเป็นที่ปรึกษาโครงงานทางด้านดาราศาสตร์ให้กับนักเรียน เกิดการสร้างเครือข่ายการทำโครงงานด้าน ดาราศาสตร์ในระดับโรงเรียน เพื่อก้าวไปสู่การทำโครงงานทางดาราศาสตร์ในระดับประเทศ และก้าวไปสู่เครือข่ายการทำโครงงานในระดับนานาชาติต่อไป

วัตถุประสงค์

1.1 เพื่อให้ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ได้เรียนรู้กระบวนการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อนำไปสู่กระบวนการทำโครงงานทางดาราศาสตร์

1.2 เพื่อให้ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ได้เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์การเป็นที่ปรึกษาโครงงานทางดาราศาสตร์

1.3 เพื่อให้ครูที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถเป็นที่ปรึกษาโครงงานทางดาราศาสตร์ให้กับนักเรียนได้

1.4 นักเรียนสามารถทำโครงงานทางดาราศาสตร์ได้สำเร็จ ภายใต้การให้คำปรึกษาของครูที่เข้าร่วมโครงการฯ

1.5 ครูที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถสร้างเครือข่ายการทำโครงงานดาราศาสตร์ในระดับโรงเรียนและระดับประเทศได้

1.6 เป็นการปูทางเพื่อนำไปสู่การสร้างเครือข่ายการทำโครงงานทางดาราศาสตร์ในระดับนานาชาติ

กลุ่มเป้าหมาย

        ครู อาจารย์ หรือบุคลากรทางการศึกษา ที่สอนในโรงเรียน สถานศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาด้านดาราศาสตร์เป็นอย่างดี มีทักษะและประสบการณ์ในการดำเนินโครงงานทางวิทยาศาสตร์หรือดาราศาสตร์อย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งกลุ่มครูที่เข้าร่วม ดังนี้

1. ครูที่เข้าร่วมการอบรม ในปีงบประมาณ 2562 จำนวน 6 คน (ครูเดิมจากปีที่แล้ว) 

    และนักเรียน จำนวน 18 คน (โรงเรียนละ 3 คน)

2. คัดเลือกครูในปีงบประมาณ 2563 เพิ่มเติม จำนวน 3 คน 

    และนักเรียน จำนวน 9 คน (โรงเรียนละ 3 คน)

หมายเหตุ :  การคัดเลือกนักเรียนที่เข้าร่วมทำโครงงาน ให้อยู่ในดุลยพินิจของครูที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมอบรม และควรศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 5 ในสถาบันการศึกษาเดิม

คุณสมบัติผู้สมัคร

1.  เป็นครู อาจารย์ หรือบุคลากรทางการศึกษาที่สอนในโรงเรียน สถานศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางการศึกษา ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งภาครัฐและเอกชน

2.  ผ่านการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นกลาง หรือมีความรู้ความเข้าใจทางด้านดาราศาสตร์ เป็นอย่างดี

3.  มีประสบการณ์การดำเนินงานและเป็นที่ปรึกษาโครงงานทางวิทยาศาสตร์หรือดาราศาสตร์

4.  สามารถเข้าร่วมกิจกรรมอบรมตลอดหลักสูตรจนครบระยะเวลาอบรม 3 ปี และสามารถเข้าร่วมการนำเสนอผลงานทางดาราศาสตร์ที่ทางสถาบันฯ กำหนดขึ้นได้

5.  สามารถทำการคัดเลือกนักเรียนที่มีความรู้ความสามารถที่จะเป็นตัวแทนในการเข้าร่วมทำโครงงานทาง ดาราศาสตร์ร่วมกับครู (โรงเรียนละ 3 คน)

6. ได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานต้นสังกัด และสามารถสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการเดินทางจากภูมิลำเนามายังสถานที่จัดอบรม (จ.เชียงใหม่) ตลอดหลักสูตรจนครบระยะเวลาอบรม 3 ปี

หมายเหตุ

1. ครูผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการฯ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้โดย ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน เอกสาร และวัสดุประกอบการอบรม ยกเว้น ค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากภูมิลำเนามายัง สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ จ.เชียงใหม่ โดยให้ผู้เข้าร่วมอบรมจะต้องได้รับความเห็นชอบในการสนับสนุนและเบิกจ่ายจากต้นสังกัด ตลอดระยะเวลาหลักสูตรที่เข้าร่วมโครงการ 3 ปี

2. ครูที่เข้าร่วมโครงการจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมอบรมตลอดหลักสูตรจนครบระยะเวลาอบรม 3 ปี และสามารถเข้าร่วมการนำเสนอผลงานทางดาราศาสตร์ที่ทางสถาบันฯ กำหนดขึ้นได้

3. ทางสถาบันฯ จะดูแลค่าที่พัก ค่าอาหาร และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างการฝึกอบรม

4. ครูผู้เข้าร่วมโครงการฯ สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของกิจกรรมอบรม ผ่านทางเว็ปไซด์ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ http://www.narit.or.th/index.php/teacher/training/advance

5. กำหนดการและสถานที่ในการเข้ารับการอบรมจะมีการเปลี่ยนแปลง และจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งในภายหลัง

 

ดาวน์โหลดโครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นสูง ประจำปี 2563

| Category: ขั้นสูง | Hits: 1175

teacher advance 2563 04

คุณสมบัติผู้สมัคร

1. เป็นครู อาจารย์ หรือบุคลากรทางการศึกษาที่สอนในโรงเรียน สถานศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางการศึกษา ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งภาครัฐและเอกชน
2. ผ่านการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นกลาง หรือมีความรู้ความเข้าใจทางด้านดาราศาสตร์เป็นอย่างดี
3. มีประสบการณ์การดำเนินงานและเป็นที่ปรึกษาโครงงานทางวิทยาศาสตร์หรือดาราศาสตร์
4. สามารถเข้าร่วมกิจกรรมอบรมตลอดหลักสูตรจนครบระยะเวลาอบรม 3 ปี และสามารถเข้าร่วมการนำเสนอผลงานทางดาราศาสตร์ที่ทางสถาบันฯ กำหนดขึ้นได้
5. สามารถทำการคัดเลือกนักเรียนที่มีความรู้ความสามารถที่จะเป็นตัวแทนในการเข้าร่วมทำโครงงานทางดาราศาสตร์ร่วมกับครู (โรงเรียนละ 3 คน)
6. ได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานต้นสังกัด และสามารถสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการเดินทางจากภูมิลำเนามายังสถานที่จัดอบรม (จ.เชียงใหม่) ตลอดหลักสูตรจนครบระยะเวลาอบรม 3 ปี

การรับสมัครเข้าร่วมโครงการ

teacher advance 2563 05

 

        ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าร่วมโครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นสูง ประจำปี 2562 สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ได้โดย  ไม่เสียค่าใช้จ่ายค่าสมัครและค่าลงทะเบียน  โดยมีรายละเอียดและขั้นตอนการ       รับสมัคร ดังนี้

1. ศึกษารายละเอียดการรับสมัครได้ที่http://www.narit.or.th/index.php/teacher/training/advance
2. เตรียมข้อมูลและเอกสารประกอบการสมัคร

3. ส่งใบสมัครผ่านระบบออนไลน์ บน Google Formsที่ http://gg.gg/NARIT-AdvanceTeacher2018
4.  กรรมการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์


เอกสารหลักฐานการสมัคร

teacher advance 2563 06

         การรับสมัครครูเพื่อเข้าร่วมโครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นสูง ประจำปี 2562 ดำเนินการรับสมัครผ่านระบบออนไลน์ บน Google Forms จึงไม่ต้องกรอกหรือเตรียมใบสมัครในรูปแบบเอกสาร ผู้สมัครต้องเตรียมเอกสารและข้อมูลสำหรับแนบส่งพร้อมกับการกรอกใบสมัคร ดังนี้

1. รูปถ่าย/รูปภาพ ของผู้สมัคร ขนาดไม่เกิน 5 Mb      จำนวน 1 รูป
( ไฟล์ภาพ นามสกุลไฟล์ .jpg/.png แนบรูปบน Google Forms )

2. สำเนาบัตรประชาชน/บัตรข้าราชการ       จำนวน 1 ชุด
( ไฟล์สแกน/ถ่ายรูป นามสกุลไฟล์ .jpg/.PDF แนบไฟล์บน Google Forms )

3. เอกสารแสดงวุฒิการศึกษาสูงสุด (วุฒิสูงสุด)      จำนวน 1 ชุด
( ไฟล์สแกน/ถ่ายรูป นามสกุลไฟล์ .jpg/.PDF แนบไฟล์บน Google Forms )

4. สำเนาประกาศนียบัตรการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นกลาง ( ถ้ามี )      จำนวน 1 ชุด
( สำหรับครูที่ผ่านการอบรมครูฯ ขั้นกลาง ) หรือสำเนาเกียรติบัตรการอบรมดาราศาสตร์อื่นๆ
( ไฟล์สแกน/ถ่ายรูป นามสกุลไฟล์ .jpg/.PDF แนบไฟล์บน Google Forms )

5. เอกสารความเห็นผู้บริหาร      จำนวน 1 ชุด
( ไฟล์สแกน/ถ่ายรูป นามสกุลไฟล์ .jpg/.PDF แนบไฟล์บน Google Forms )

6. เอกสารหลักฐานผลงานทางวิชาการ/บทความ/รางวัลเกียรติบัตร      จำนวน ไม่เกิน 5 ชุด
( เตรียมเป็นไฟล์ข้อมูล/รูปภาพ/เอกสารรายงาน แนบไฟล์บน Google Forms )

7. เอกสารหลักฐานการจัดกิจกรรมทางด้านดาราศาสตร์      จำนวน ไม่เกิน 5 ชุด      
( เตรียมเป็นไฟล์ข้อมูล/รูปภาพ/เอกสารรายงาน แนบไฟล์บน Google Forms )

8. เอกสารหลักฐานการการทำโครงงาน/ที่ปรึกษาโครงงาน      จำนวน ไม่เกิน 5 ชุด
( เตรียมเป็นไฟล์ข้อมูล/รูปภาพ/เอกสารรายงาน แนบไฟล์บน Google Forms )

9. เอกสารหลักฐานการจัดกิจกรรม/โครงงานที่เคยทำกับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย      จำนวน ไม่เกิน 5 ชุด
( เตรียมเป็นไฟล์ข้อมูล/รูปภาพ/เอกสารรายงาน แนบไฟล์บน Google Forms )


การคัดเลือกและการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

        หลังจากหมดเขตการรับสมัคร คณะกรรมการจะดำเนินการรวบรวมข้อมูลใบสมัครทั้งหมด เพื่อพิจารณาคัดเลือกตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้

1. การคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น : คณะกรรมการจะดำเนินการคัดเลือกผู้สมัครจากข้อมูลใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัครที่แนบสงเข้ามา เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ต่อไป

2. การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ : คณะกรรมการจะดำเนินการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับผู้สมัครที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น ระหว่างวันที่ 9 – 12 กันยายน 2562 ทั้งนี้ ผู้ส่งใบสมัครทุกท่านกรุณาเตรียมตัวเพื่อรอรับสายโทรศัพท์จากคณะกรรมการในช่วงวัน เวลา ดังกล่าวด้วย

การประกาศผลการคัดเลือก

        คณะกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกครูเพื่อเข้าร่วมโครงการอบรม จำนวน 3 ท่าน และจะประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการอบรมใน  วันจันทร์ ที่ 16 กันยายน 2562 ทางเว็ปไซต์ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ที่ลิงค์ http://www.narit.or.th/index.php/teacher/training/advance โดยถือคำตัดสินของคณะกรรมการเป็นที่สิ้นสุด


ดาวน์โหลดหนังสือประชาสัมพันธ์โครงการอบรมครูเชิงปฏฺบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นสูง ประจำปี 2563

ดาวน์โหลดโครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นสูง ประจำปี 2563

ดาวน์โหลดกำหนดการโครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นสูง ประจำปี 2563

แบบแสดงความคิดเห็นผู้บริหาร

ตัวอย่างใบสมัครอบรมครูขั้นสูง ประจำปี 2563

| Category: ขั้นสูง | Hits: 2658

การเตรียมตัวก่อนการเข้าร่วมอบรม 

        ครูที่เข้าร่วมโครงการอบรมทุกคน (ทั้งครูเดิมจากปี 2562 และครูที่ได้รับคัดเลือกใหม่ในปี 2563) จะต้องดำเนินการคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าร่วมทำโครงงานกับครู โดยคัดเลือกนักเรียนโรงเรียนละ 3 คน พร้อมให้นักเรียนศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐาน พร้อมทั้งทำแบบฝึกหัดออนไลน์ที่กำหนด โดยครูที่ปรึกษาเป็นผู้คอยให้คำแนะนำในการศึกษาของนักเรียน (ตามเนื้อหาในหนังสือคู่มือการศึกษาดาราศาสตร์เชิงปฏิบัติการ) โดยมีขอบเขตเนื้อหาในการศึกษา ดังนี้

บทที่ 1 ทรงกลมท้องฟ้า (Celestial Sphere)

บทที่ 2 ระบบพิกัดท้องฟ้า (Celestial Coordinate System)

บทที่ 3 การเคลื่อนที่ของท้องฟ้า (Celestial Motion)

บทที่ 4 การวัดตำแหน่งวัตถุท้องฟ้า (Astrometry)

บทที่ 5 การวัดแสง (Photometry)

บทที่ 6 สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Spectrum)

        ทั้งนี้ คณะกรรมการจัดการอบรมจะส่งแบบฝึกหัดก่อนการเข้าร่วมอบรมตามขอบเขตเนื้อหาที่แจ้งไว้ โดยจะแบ่งเป็นรอบๆ ซึ่งจะแจ้งให้ทราบหลังจากที่ได้รับการยืนยันการเข้าร่วมอบรมแล้ว

ขอบเขตเนื้อหาในการอบรมและการเข้าร่วมโครงการ

        โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติด้านดาราศาสตร์ขั้นสูง ประจำปี 2563 แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 

ช่วงที่ 1 : การอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นสูง (สำหรับครูที่ปรึกษาและนักเรียน)

- กิจกรรมสร้างกระบวนการวิทยาศาสตร์

- ฝึกปฏิบัติเทคนิคการวัดทางดาราศาสตร์ เน้นการวัดความสว่างของวัตถุท้องฟ้า (Photometry) 

  ของดาวแปรแสง  การสร้างแผนภาพ H-R Diagram

- คิดริเริ่มทำโครงงานดาราศาสตร์

- วางแผนขั้นตอนการทำโครงงานดาราศาสตร์

ช่วงที่ 2 : การนำเสนอผลงานวิชาการดาราศาสตร์ (ในประเทศไทย)

- นำเสนอผลงานวิชาการดาราศาสตร์ของนักเรียนแบบบรรยาย (Oral Presentation) โดยกรรมการซักถามในประเด็นที่สนใจและให้คำแนะนำในการทำโครงงาน

ช่วงที่ 3 : การนำเสนอผลงานวิชาการดาราศาสตร์ ณ ประเทศญี่ปุ่น

-  นำเสนอผลงานวิชาการดาราศาสตร์ของนักเรียนแบบบรรยาย (Oral Presentation) และแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation)

**หมายเหตุ** หลังจากเสร็จสิ้นการอบรมในช่วงที่ 1 นักเรียนและครูจะต้องเดินทางกลับไปศึกษาโครงงานดาราศาสตร์ ณ โรงเรียนหรือภูมิลำเนาของตนเอง โดยครูที่ปรึกษามีหน้าที่หลักในการให้คำปรึกษานักเรียนตลอดระยะเวลาที่ปรึกษาโครงงาน และต้องรายงานความคืบหน้าการศึกษาโครงงานของนักเรียนภายใต้ที่ปรึกษาของแต่ละท่านด้วย ซึ่งจะแจ้งให้ทราบต่อไป

 

หนังสือคู่มือการศึกษาดาราศาสตร์เชิงปฏิบัติการ

| Category: ขั้นสูง | Hits: 2500

อบรมการทำโครงงานเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นสูง (สำหรับครูที่ปรึกษาและนักเรียน)
Advance Astronomical Teacher Training and Workshop (Teacher & Student)

ระยะเวลา : 5 วัน ช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี
สถานที่ : ศูนย์บริการข้อมูลสารสนเทศและฝึกอบรมทางดาราศาสตร์ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
รายละเอียด : เป็นการอบรมเพื่อเน้นให้ครูและนักเรียนเข้าใจกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่จำเป็นในการทำโครงงานดาราศาสตร์
รวมไปถึงการเสนอแนะหัวข้อและวางแผนการทำโครงงานดาราศาสตร์

1 01 1 02
1 03 1 04
1 05 1 06

การนำเสนอผลงานวิชาการดาราศาสตร์ภายในประเทศ
The Presentation of Astronomical Project

ระยะเวลา : 2 วัน  ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี
สถานที่ : จังหวัดเชียงใหม่
รายละเอียด : เป็นการนำเสนอผลการศึกษาและการทำโครงงานดาราศาสตร์ของนักเรียน หลังจากที่เข้าร่วมการอบรมในรอบแรก (ครูที่ปรึกษาและนักเรียน)
โดยเป็นการนำเสนอในรูปแบบบรรยายรวมไปถึงการให้คำปรึกษาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของการศึกษาและพัฒนาการศึกษาให้ผลดีขึ้น

2 01 2 02
2 03 2 04
2 05

การนำเสนอผลงานวิชาการดาราศาสตร์ ณ ประเทศญี่ปุ่น
Junior Session of Astronomical Society of Japan : ASJ – Junior Session

ระยะเวลา : 7 วัน  ช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี
สถานที่ : ประเทศญี่ปุ่น
รายละเอียด : การนำเสนอผลงานดาราศาสตร์ของนักเรียนไทยร่วมกับนักเรียนชาวญี่ปุ่น ณ ประเทศญี่ปุ่น ในรูปแบบของการนำเสนอแบบบรรยายและโปสเตอร์ภาคภาษาอังกฤษ รวมไปถึงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักเรียนไทยกับนักเรียนญี่ปุ่นถึงแนวคิดในการทำโครงงานดาราศาสตร์ และการให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทางดาราศาสตร์อีกด้วย

3 01 3 02
3 03 3 04
3 05

การนำเสนอผลงานวิชาการดาราศาสตร์เพื่อเยาวชนแห่งประเทศไทย
Thai Astronomical Conference (Student Session) : TACs

ระยะเวลา : 3 วัน  ช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี
สถานที่ : จังหวัดเชียงใหม่
รายละเอียด : เป็นเวทีนำเสนอผลงานดาราศาสตร์ในระดับประเทศสำหรับเยาวชน โดยผู้เข้าร่วมจะเป็นนักเรียนและเยาวชนที่นำผลการศึกษาโครงงานดาราศาสตร์มานำเสนอและแลกเปลี่ยนแนวคิด กระบวนการศึกษาโครงงานในรูปแบบต่างๆ
*หมายเหตุ : ครูที่เข้าร่วมโครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติด้านดาราศาสตร์ขั้นสูงทุกคน ต้องนำนักเรียนเข้าร่วมนำเสนอผลงานในการนำเสนอผลงานวิชาการดาราศาสตร์เพื่อเยาวชนแห่งประเทศไทย (TACs) ด้วย

4 01 4 02
4 03 4 04
4 05 4 06
| Category: ขั้นสูง | Hits: 1629

               

โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการ
ด้านดาราศาสตร์ขั้นต้น ประจำปี 
2562

          สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี  ในฐานะของผู้นำด้านดาราศาสตร์ของประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรทางดาราศาสตร์ของประเทศไทย จึงดำเนินการจัดให้มี “โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นต้น” ขึ้น  โดยการอบรมมุ่งเน้นให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้และทักษะทางดาราศาสตร์พื้นฐาน  การใช้อุปกรณ์ต่างๆ  ในการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์   การศึกษาสภาพท้องฟ้าจริง เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ผ่านสื่อดาราศาสตร์ เพื่อนำไปประยุกต์ในการจัดกิจกรรมและจัดการเรียนการสอนวิชาดาราศาสตร์ให้แก่นักเรียนและเยาวชนได้ในอนาคต ซึ่งกิจกรรมอบรมดังกล่าวข้างต้นได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 มาจนถึงปัจจุบัน และได้รับการตอบรับในการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี

          สำหรับการจัดอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นต้น  ประจำปี 2562   ได้รับความร่วมมือและสนับสนุนด้านงบประมาณจาก สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)  กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อดำเนินกิจกรรมอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ในทุกระดับ ทั้งการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นต้น การอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นกลาง และการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นสูง ซึ่งจะนำไปสู่การดำเนินงานด้านคุรุวิจัย และยุววิจัยในอนาคตต่อไป

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับทราบความรู้พื้นฐานในการศึกษาและสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์

2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดทักษะและกระบวนการพื้นฐานในการศึกษาและสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์

3.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีโอกาสแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ใหม่ทางด้านดาราศาสตร์

4.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงในการสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าด้วยตัวเอง

5.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับแนวทางในการปรับปรุงเนื้อหาบทเรียนวิชาดาราศาสตร์ที่สอนในโรงเรียนและสถาบันอุดมศึกษาให้ทันยุคสมัย

6.เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าอบรมในการจัดกิจกรรมและการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยดาราศาสตร์เป็นสื่อ

7.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนที่มีความสนใจทางดาราศาสตร์ ได้รับความรู้เบื้องต้นในด้านวิชาการ และการสังเกตท้องฟ้าเบื้องต้น

8.เพื่อประชาสัมพันธ์สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ให้เป็นที่รู้จักในสาธารณชน

กลุ่มเป้าหมาย

1.ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่สอนอยู่ในโรงเรียน สถานศึกษาทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จากทั่วประเทศ (โดยเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดที่เข้าไปจัดกิจกรรมอบรม)

2.ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องการพัฒนาความรู้พื้นฐานทางด้านดาราศาสตร์ให้สูงขึ้น

3.บุคคลทั่วไปที่มีความสนใจที่จะพัฒนาความรู้พื้นฐานด้านดาราศาสตร์ให้สูงขึ้น

วันเวลาและสถานที่จัดกิจกรรมอบรม

         โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นต้น ประจำปี 2562 กำหนดจัดอบรม ทั้งสิ้น 5 ครั้ง   โดยดำเนินการจัดอบรมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ผู้สนใจเข้าร่วมอบรมสามารถเลือกสมัครเข้าร่วมอบรมครั้งใดก็ได้ตามที่ผู้สมัครสนใจ ตามพื้นที่ที่สะดวกเข้าร่วมอบรม โดยมีกำหนดการจัดอบรม ดังต่อไปนี้

ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดเชียงใหม่            ระหว่างวันที่      9 - 11 พฤศจิกายน 2561

ครั้งที่ 2 ณ จังหวัดอุบลราชธานี       ระหว่างวันที่      30 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม 2561

ครั้งที่ 3 ณ จังหวัดขอนแก่น             ระหว่างวันที่      25 - 27 มกราคม 2562

ครั้งที่ 4 ณ จังหวัดชลบุรี                  ระหว่างวันที่      27 - 29 มีนาคม 2562

ครั้งที่ 5 ณ จังหวัดสงขลา                ระหว่างวันที่      8 - 10 เมษายน 2562

การรับสมัครเข้าร่วมกิจกรรมอบรม

          ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าร่วมกิจกรรมอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นต้น ประจำปี 2562 สามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้โดย  ไม่เสียค่าใช้จ่ายค่าสมัครและค่าลงทะเบียน    โดยสามารถดำเนินการสมัครเข้าร่วมกิจกรรมตามขั้นตอน ดังนี้

          1. ศึกษาข้อมูลได้ที่เว็ปไซด์ http://www.narit.or.th/index.php/teacher/training/basic

          2. ดาวน์โหลด “แบบแสดงความเห็นชอบให้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมอบรม”    พร้อมทั้งให้ผู้บริหารลงนามเห็นชอบให้สมัครเข้าร่วมอบรม

          3. กรอกข้อมูลผู้สมัครผ่านระบบ google form โดยเลือกครั้งที่จะเข้าร่วมกิจกรรมอบรมในแต่ละครั้งได้ที่หน้าเว็ปไซด์ http://www.narit.or.th/index.php/teacher/training/basic/registerพร้อมแนบ    “แบบแสดงความเห็นชอบให้สมัครเข้าร่วมอบรม” และ “สำเนาบัตริประชาชน” ในระบบรับสมัคร

          4. ผู้สมัครจะได้รับ e-mail ตอบกลับผลการรับสมัคร และสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้สมัครได้ที่หน้าเว็ปไซด์สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ http://www.narit.or.th/index.php/teacher/training/basic

กำหนดการรับสมัคร

ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดเชียงใหม่        รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่      พฤศจิกายน 2561

ครั้งที่ 2 ณ จังหวัดอุบลราชธานี    รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่     23 พฤศจิกายน 2561

ครั้งที่ 3 ณ จังหวัดขอนแก่น        รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่      18 มกราคม 2562

ครั้งที่ 4 ณ จังหวัดชลบุรี            รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่      18 มีนาคม 2562

ครั้งที่ 5 ณ จังหวัดสงขลา           รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่      31 มีนาคม 2562

จำนวนรับสมัคร

           โครงการอบรมครูเชิงปฏิรูปการด้านดาราศาสตร์ขั้นต้น ประจำปี 2561 ดำเนินการจัดอบรมทั้งสิ้น 5 ครั้ง รับสมัครผู้เข้าร่วมอบรม ครั้งละ 120 คนโดยถือลำดับการส่งใบสมัครก่อนหลังเป็นสำคัญ

           การสมัครเข้าร่วมกิจกรรมอบรมจะถือว่าสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ ผู้เข้าอบรมได้ส่งแบบยืนยันการเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเรียบร้อยแล้ว และมีชื่อปรากฏอยู่ในประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมอบรมในแต่ละครั้ง โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมและสถานที่จัดกิจกรรมอบรมได้ที่  http://www.narit.or.th/index.php/teacher/training/basic หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 053-225569 ต่อ 305 (ศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์)

หมายเหตุ

  1. ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมอบรมได้โดย  ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเอกสาร และวัสดุประกอบการอบรม ยกเว้นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับที่พักให้ผู้เข้าร่วมอบรมเบิกจ่ายจากต้นสังกัด
  2. เพื่อให้การฝึกอบรมเกิดประโยชน์สูงสุด กรุณานำคอมพิวเตอร์โน๊ตบุค (Notebook Computer) และอุปกรณ์เก็บข้อมูลผ่าน USB (Flash Drive) มาใช้ระหว่างการฝึกอบรมด้วย
  3. ครูหรือโรงเรียนที่มีกล้องโทรทรรศน์ กล้องสองตา สามารถนำมาร่วมกิจกรรมภาคปฏิบัติ และร่วมกิจกรรมสังเกตการณ์ภาคกลางคืนได้
  4. ผู้เข้าร่วมอบรมจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมสังเกตการณ์ในภาคกลางคืน เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์สูงสุด
  5. หากมีการเปลี่ยนแปลงผู้เข้าร่วมกิจกรรมหรือไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมอบรมได้   โปรดแจ้งล่วงหน้าก่อนถึงวันอบรม อย่างน้อย 1 สัปดาห์ (เพื่อดำเนินการด้านการจัดอบรมและไม่เป็นการจำกัดสิทธิ์ของผู้เข้าอบรมท่านอื่น)

หนังสือประชาสัมพันธ์เข้าร่วมโครงการฯ

โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นต้น ประจำปี2562

กำหนดการโครงการอบรมครูฯ

แบบแสดงความเห็นชอบผู้บริหาร

| Category: ขั้นสูง | Hits: 609

ข่าวสาร

-  4 กรกฎาคม 2562  / ทางลัดไปลิงค์ใบสมัคร  คลิกที่นี่ 

-  4 กรกฎาคม 2562  / ยินดีตอนรับสู่ “โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นสูง ปี 2563” 

-  2 สิงหาคม 2562 / ประกาศผลการคัดเลือกโครงงานดาราศาสตร์เพื่อนำเสนอผลงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น  คลิกที่นี่ 

-  2 สิงหาคม 2562 / หนังสือประชาสัมพันธ์โครงการอบรมครูเชิงปฏฺบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นสูง ประจำปี 2563  คลิกที่นี่ 


กำหนดการจัดกิจกรรมอบรม

การรับสมัคร วันนี้ - 17 กันยายน 2561
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ 18 - 21 กันยายน 2561
ประกาศผลคัดเลือก 1 ตุลาคม 2561
Phase I ( อบรมครูที่ปรึกษา+นักเรียน ) 29 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2561
Phase II ( นำเสนอผลงานในประเทศ ) ช่วงเดือน พฤษภาคม 2562
Phase III ( นำเสนอผลงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น ) ช่วงเดือน มีนาคม 2563
*TACs2019* เข้าร่วมนำเสนอผลงาน 28 - 30 มิถุนายน 2562

 

ดาวน์โหลดโครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นสูง
แบบแสดงความคิดเห็นผู้บริหาร
ตัวอย่างใบสมัครอบรมครูขั้นสูง2562

| Category: ขั้นสูง | Hits: 1277