tno 001

    หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา หรือ หอดูดาวแห่งชาติ (Thai National Observatory : TNO) มี การติดตั้งกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร พร้อมระบบอัตโนมัติที่มีขนาดใหญ่และทันสมัยที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นหอดูดาวเพียงไม่กี่แห่งในโลกที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ซึ่งเป็นจุดสังเกตการณ์ทั้งซีกฟ้าเหนือ และ ซีกฟ้าใต้ได้ตลอดทั้งปี เพื่อปฏิบัติการด้านการค้นคว้า วิจัย และพัฒนาร่วมกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ ในการสร้างองค์ ความรู้ใหม่ทางดาราศาสตร์ ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาด้านดาราศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศสู่มาตรฐานสากลด้านการวิจัย

tno 002

tno 003

 

    หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ตั้งอยู่บริเวณสถานีทวนสัญญาณทีโอที อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ความสูง 2,457 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีทัศนวิสัยที่เหมาะสมกับการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ดังนั้น จึงมีการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร พร้อมระบบอัตโนมัติที่มีขนาดใหญ่และทันสมัยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นหอดูดาวเพียงไม่กี่แห่งในโลกที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ซึ่งเป็นจุดสังเกตการณ์ทั้งซีกฟ้าเหนือ และซีกฟ้าใต้ได้ตลอดทั้งปี

astro 01

หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา เป็นกลุ่มอาคารประกอบด้วย อาคารหลัก 2 หลัง คือ

  1. อาคารหอดูดาว เป็นอาคารทรงกระบอกมีฐานรากฝังลึกลงไปใต้ดิน 21 เมตร ผนังอาคารรูปวงแหวนมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8.4 เมตร สูงจากพื้นดิน 13.5 เมตร ส่วนของโดมติดตั้งที่ด้านบนอาคารรูปวงแหวนมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 เมตร สูง 5.5 เมตร มีชัตเตอร์เปิด-ปิดรับแสงดาวสองตัว เรียกว่า ชัตเตอร์ด้านหน้าและชัตเตอร์ด้านหลังกว้าง 3 เมตร สามารถเปิดได้สองรูปแบบกล่าวคือ เปิดชัตเตอร์ด้านหน้าไปด้านหน้าสุด และเปิดชัตเตอร์ด้านหลังไปด้านหลังสุด จะทำให้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ได้เป็นมุมเงย 40 องศา ถึง 90 องศา และเปิดชัตเตอร์ด้านหน้าไปชิดกับชัตเตอร์ด้านหลังที่เปิดไปด้านหลังสุด จะทำให้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ได้เป็นมุมเงย 25 องศา ถึง 70 องศา สำหรับภายในอาคารหอดูดาวแบ่งพื้นที่ใช้งานเป็น 3 ชั้น ดังนี้

ชั้นที่ 1 ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์สำหรับควบคุมกล้องโทรทรรศน์และควบคุมโดม พร้อมทั้งระบบสนับสนุนและระบบควบคุมต่างๆ เช่น เครื่องสำรองไฟ เครื่องควบคุมความชื้น เป็นต้น ภายในชั้นนี้จะถูกชีลด์ไม่ให้ความร้อนและแสงที่เกิดขึ้นไปรบกวนยังชั้นบนอันจะมีผลต่อทัศนวิสัยภายในโดม

ชั้นที่ 2 ติดตั้งมอเตอร์สำหรับขับเคลื่อนกล้องโทรทรรศน์หนึ่งตัวและขับเคลื่อนโดมสองตัว โดยมีระบบตรวจสอบให้โดมและกล้องเคลื่อนที่ไปพร้อมๆกันในระหว่างที่กล้องเคลื่อนที่ไปยังดาวและหมุนตามดาว

ชั้นที่ 3 ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร บนแขนจับรูปส้อมพร้อมทั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพสำหรับทำวิจัยทางดาราศาสตร์ทั้งหมด 4 ตัว

 astro 02  astro 03  astro 04 

ชั้นที่ 1 ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์
สำหรับควบคุมกล้องโทรทรรรศน์และโดม

   ชั้นที่ 2 ติดตั้งมอเตอร์สำหรับขับเคลื่อน
   กล้องโทรทรรรศน์ 1 ตัว และโดม 2 ตัว

  ชั้นที่ 3 ติดตั้งกล้องโทรทรรรศน์
  ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร

 

  1. อาคารควบคุม เป็นสถานที่ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมกล้องโทรทรรศน์และนักดาราศาสตร์ มี 2 ชั้น

ชั้นที่ 1 ห้องเก็บอุปกรณ์และเครื่องมือช่างที่ใช้ในการซ่อมบำรุง พร้อมทั้งห้องพักเจ้าหน้าที่และนักดาราศาสตร์

ชั้นที่ 2 ห้องควบคุมกล้องโทรทรรศน์ซึ่งเป็นห้องทำงานหลัก พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ ห้องสเปกโตรกราฟ

ส่วนดาดฟ้าของอาคารควบคุมติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เมตร ติดตั้งระบบตรวจสอบสภาพอากาศและสภาพท้องฟ้า อาคารหอดูดาวและอาคารควบคุมเชื่อมต่อกันจากชั้นดาดฟ้าของอาคารควบคุม

 astro 05   astro 06   astro 07  

ชั้นที่ 1 ห้องเก็บอุปกรณ์ และเครื่องมือช่าง

ชั้นที่ 2 ห้องแสดงนิทรรศการ

ชั้นที่ 2 ห้องควบคุมกล้องโทรทรรศน์

 

    ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สดร. ได้เปิดให้บริการกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร สำหรับ นักวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ สดร. ยังเปิดโอกาสให้เยาวชน ประชาชน ผู้สนใจทั่วไป เข้าเยี่ยมชมหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อเปิดประสบการณ์กับเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ที่ทันสมัยระดับโลกภายใต้กิจกรรม Open House สำหรับปีงบประมาณ 2562 สดร. เริ่มเปิดฤดูกาลสังเกตการณ์ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2561 จนถึงวันปิดฤดูกาลเดือนพฤษภาคม 2562 และมีการจัดสรรเวลาการใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร จำแนกตามรายละเอียดต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้

tno 004

tno 005