ข่าวทั้งหมด ข่าวดาราศาสตร์


กิจกรรม/กิจกรรมย่อย


แผนการดำเนินงาน


กิจกรรมที่ 1
กิจกรรมสร้างความตระหนักและตื่นตัวทางดาราศาสตร์ 
หอดูดาวฯ สงขลา      

กิจกรรมย่อย 1.1 อบรมผู้ช่วยวิทยากร

1 ครั้ง ในเดือนธันวาคม 2561

กิจกรรมย่อย 1.2 งานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2562

1 ครั้ง ในเดือนมกราคม 2562

กิจกรรมย่อย 1.3 ชวนน้องดูดาว

1 ครั้ง ในเดือนมีนาคม 2562

กิจกรรมย่อย 1.4 อบรมการดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันถือศีลอดเดือนรอมฎอน

2 ครั้ง ในเดือนเมษายน
และ พฤษภาคม 2562

กิจกรรมย่อย 1.5 เปิดฟ้าตามหาดาว

3 ครั้ง เดือนมกราคม พฤษภาคม   
และ มิถุนายน 2562

กิจกรรมย่อย 1.6 ค่ายดาราศาสตร์เพื่อชุมนุมดาราศาสตร์ในโรงเรียน

1 ครั้ง ในเดือนพฤษภาคม 2562

กิจกรรมย่อย 1.7 ค่ายเยาวชนคนดูดาวเท้าติดทะเล

1 ครั้ง ในเดือนกรกฎาคม 2562

กิจกรรมย่อย 1.8 สัปดาห์วิทยาศาสตร์ประจำปี 2562

1 ครั้ง เดือนสิงหาคม 2562

กิจกรรมย่อย 1.9 กิจกรรมอบรมโครงงานวิจัยด้านดาราศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา

1 ครั้ง เดือนสิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ 2 โครงการบริหารจัดการหอดูดาวฯ สงขลา

กิจกรรมย่อย 2.1 กิจกรรมบริการจัดการหอดูดาวฯ สงขลา

ตลอดทั้งปีงบประมาณ

กิจกรรมย่อย 2.2 ผลิตสื่อและการประชาสัมพันธ์หอดูดาวฯ สงขลา

ตลอดทั้งปีงบประมาณ

 

| Category: หอดูดาวฯ สงขลา | Hits: 2491

[ 1 ] กิจกรรมอบรมผู้ช่วยวิทยากร ( จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 – 23 ธันวาคม 2562 )

        กิจกรรมอบรมผู้ช่วยวิทยากร เป็นกิจกรรมที่จัดอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นให้กลุ่มนักเรียนนักศึกษาสามารถสื่อสารข้อมูลวิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์ต่อสาธารณชนได้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมทั้งสิ้น 40 คน เป็นนักศึกษาและนักเรียนในพื้นที่ภาคใต้ ผลที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมอบรมผู้ช่วยวิทยากรนั้น คือหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา จะมีจิตอาสาที่มีทักษะการใช้งานอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์และมีแนวทางการสื่อสารข้อมูลพื้นฐานของหอดูดาวและข้อมูลดาราศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพได้ รวมถึงการสร้างกำลังคนที่จะมาทำงานในพื้นที่หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ฯ สงขลา ได้ในอนาคต ดังรูปกิจกรรมดังต่อไปนี้

ska event 1 ska event 2
ska event 3 ska event 4

 [ 2 ] กิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติ จัดขึ้นเมื่อวันที่ ( 9 – 13 มกราคม 2562 )

        กิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2562  จัดขึ้นเพื่อแสดงนิทรรศการด้านดาราศาสตร์ และเทคโนโลยีด้านดาราศาสตร์ รวมถึงสร้างกิจกรรมดาราศาสตร์ที่เสริมสร้างแรงบัลดาลใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ให้กับนักเรียน ให้มีความรักในการเรียนรู้ดาราศาสตร์ และมีกระบวนการคิดวิทยาศาสตร์ตั้งแต่วันเด็ก โดยหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติ ขึ้น ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ ระหว่างวันที่ 9 – 13 มกราคม 2562 และเทศบาลเขารูปช้างในวันที่ 12 มกราคม 2562

ska kidday 1 ska kidday 2
ska kidday 3 ska kidday 4
ska kidday 5 ska kidday 6

[ 3 ] กิจกรรมเปิดฟ้าตามหาดาว

        กิจกรรมเปิดฟ้าตามหาดาว ประจำปี 2562 หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมให้ตรงกับช่วงที่มีปรากฏการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์ อาทิ Super Full moon  กิจกรรมฝนดาวตก เพื่อติดตั้งกล้องโทรทรรศน์และจัดนิทรรศการพร้อมกับบรรยายให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์กับประชาชนทั่วไป ในพื้นที่จังหวัดสงขลา โดยมีการจัดกิจกรรมเปิดฟ้าตามหาดาวในปีงบประมาณ 2562 นี้ จำนวน 3 ครั้ง ในพื้นที่จังหวัดสงขลา มีประชนชนให้ความสนใจและมีความตื่นตัวทางดาราศาสตร์อย่างมาก ผลตอบรับจากการจัดกิจกรรมเปิดฟ้าตามหาดาวนี้ ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดาราศาสตร์และปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์มากขึ้น รวมถึงเข้าใจวัตถุประสงค์การดำเนินงานของหอดูดาวและบริษัท เชฟรอนฯ มากขึ้น และจากกิจกรรมดังกล่าวทำให้ประชาชนเดินทางมาเยี่ยมชมนิทรรศการดาราศาสตร์ และร่วมกิจกรรมของหอดูดาว ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนพรรษา สงขลา มากขึ้น

ska seestar 1 ska seestar 2
ska seestar 3 ska seestar 4

[ 4 ] กิจกรรมชวนน้องดูดาว

       กิจกรรมชวนน้องดูดาว จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมโอกาสทางการเรียนรู้ให้กับนักเรียน นักศึกษา และกลุ่มคนพิการที่ขาดโอกาสในการเรียนรู้ทางด้านดาราศาสตร์ โดยกิจกรรมนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปีงบประมาณ 2562 และจะขึ้นขึ้นต่อเนื่อง  โดยกิจกรรมครั้งที่หนึ่งนั้นหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา ได้จัดกิจกรรมให้กับนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนพระราชดำริ โดยจัดเป็นลักษณะกิจกรรมค่ายดาราศาสตร์เป็นระยะเวลา สองวันหนึ่งคืน และจัดกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาไปพร้อมกัน ให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านสำนักเอาะ ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา  เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนจำนวน 100 คน ของโรงเรียนดังกล่าว สัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ รวมถึงเจ้าหน้าที่ได้นำสื่อการเรียนรู้  นิทรรศการ อุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ ไปจัดแสดงไว้เป็นห้องเรียนวิทยาศาสตร์ เพื่อดึงดูดให้นักเรียนในโรงเรียนมีความอยากเรียนรู้วิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์มากขึ้น

ska seestarkid 1 ska seestarkid 2 ska seestarkid 3
ska seestarkid 4 ska seestarkid 5 ska seestarkid 6
ska seestarkid 6 ska seestarkid 8 ska seestarkid 9

[ 5 ] กิจกรรมดูดาวเพื่อกำหนดวันถือศีลอดเดือนรอมฎอน

       กิจกรรมดูดาวเพื่อกำหนดวันถือศีลอดเดือนรอมฎอนเป็นกิจกรรมค่ายดาราศาสตร์และกิจกรรมให้บริการวิชาการด้านการดูดวงจันทร์เพื่อประกอบศาสนกิจในทางศาสนาอิสลาม โดยกิจกรรมแบ่งออกเป็นสองครั้ง ครั้งที่ 1 เป็นกิจกรรมลักษณะกิจกรรมค่ายดาราศาสตร์เชิงปฏิบัติการ สามวันสองคืน มีนักเรียนจากกลุ่มเครือข่ายภาคใต้ชายแดนจำนวน 100 คน จาก 10  โรงเรียน  โดยเน้นเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับการสังเกตการณ์ดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม ส่วนกิจกรรมครั้งที่สอง เป็นกิจกรรมให้บริการเรื่องการสังเกตการณ์ดวงจันทร์ เพื่อกำหนดวันออกศีลอด กิจกรรมครั้งนี้จะจัดให้บริการกับผู้นำศาสนา นักเรียน และประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ให้ได้ร่วมสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ร่วมกัน เพื่อประกาศวันอารีรายอ ของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม

ska romdon 1 ska romdon 4
ska romdon 2 ska romdon 5
ska romdon 3 ska romdon 6

[ 6 ] กิจกรรมค่ายเยาวชนคนดูดาวเท้าติดทะเล

        กิจกรรมค่ายเยาวชนคนดูดาวเท้าติดทะเล จัดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงบัลดาลใจในการเรียนดาราศาสตร์ โดยจัดกิจกรรมต่อเนื่อง สามวันสองคืน มีผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 1,500 คน จากทั่วประเทศ โดยนักเรียนผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมค่ายทั้งสิ้น จำนวน 100 คน จะได้สัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ดาราศาสตร์ที่หลากหลาย อาทิการดูดาวด้วยตาเปล่า การศึกษากลุ่มดาวบนท้องฟ้า และสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางต่าง ๆ หลายขนาด การดูหนังสารคดีดาราศาสตร์ภายในท้องฟ้าจำลอง การใช้งานกล้องโทรทรรศน์  และได้สัมผัสวัฒนธรรมของจังหวัดสงขลา รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดสงขลา

ska seesea 1 ska seesea 4
ska seesea 2 ska seesea 5
ska seesea 3 ska seesea 6

[ 7 ] กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์

        กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์ จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้กลุ้มนักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจกิจกรรมและองค์ความรู้ด้านดาราศาสตร์ เข้ามามีส่วนร่วมใช้โครงสร้างพื้นฐานของหอดูดาเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา ทั้งนี้ทางหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ฯ สงขลา ได้ทำการจัดแสดงนิทรรศการดาราศาสตร์ และจัดฐานการเรียนรู้ โดยใช้อาสาสมัครที่ผ่านการกิจกรรมอบรมผู้ช่วยวิทยากรเป็นผู้ช่วยในการจัดแสดงเนื้อหาวิชาการ ภายในพื้นที่หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ฯ สงขลา มากกว่า 10 ฐานการเรียนรู้ และมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนทั้งสิ้น 6,606 คน

ska sciweek 1 ska sciweek 4
ska sciweek 2 ska sciweek 5
ska sciweek 3 ska sciweek 6

[ 8 ] กิจกรรม NARIT Public Night

        กิจกรรม NARIT Public Night เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจด้านดาราศาสตร์เข้ามาทำกิจกรรมดูดาวภายในพื้นที่หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ฯ สงขลา ทุกคืนวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 18:00 น. – 22:00 น. กิจกรรม NARIT Public Night เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา หอดูดาว โดยมุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมได้สังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าประเภทต่างๆ ผ่านกล้องโทรทรรศน์ของหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ฯ สงขลา จัดกิจกรรมทั้งสิ้น 8 ครั้ง ผู้เข้าร่วมกิจกรรม NARIT Public Night ทั้งสิ้น 2,275 คน และมีนักดาราศาสตร์สมัครเล่นเดินทางมาใช้เครื่องมือทางดาราศาสตร์เพื่อบันทึกภาพวัตถุท้องฟ้าทั้งหมด 25 คน ทั้งนี้เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์จะทำหน้าที่บรรยายให้ข้อมูลของวัตถุแต่ละประเภท รวมถึงการให้บริการกล้องโทรทรรศน์เพื่อบันทึกภาพวัตถุท้องฟ้าด้วย

ska publicnight 3
ska publicnight 2  ska publicnight 1
ska publicnight 4

 


[ 9 ] กิจกรรมอบรมโครงงานวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ระดับอุดมศึกษา

        การจัดอบรมโครงงานวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ระดับอุดมศึกษา มีแผนการจัดกิจกรรมขึ้นระหว่างวันที่ 23 -25 สิงหาคม 2562 ณ โรงแรมบีพีสมิหลา บีช (สถานที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 32 คน การจัดอบรมโครงงานวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ระดับอุดมศึกษา เป็นโครงการที่มุ่งเน้นสอนทักษะการใช้เครื่องมือในการสังเกตการณ์ดาราศาสตร์และสอนการทำงานวิจัยทางด้านดาราศาสตร์

ska trainschool 1 ska trainschool 3
ska trainschool 2 ska trainschool 4

[ 10 ] กิจกรรมค่ายดาราศาสตร์สำหรับชมรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน

        มีแผนการจัดกิจกรรมขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2562  ณ สวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 30 คน จาก 10 ชุมนุมดาราศาสตร์ของโรงเรียน พร้อมกับครูผู้ดูแลกิจกรรมชุมนุมละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน

ska clubchool 1

 

| Category: หอดูดาวฯ สงขลา | Hits: 4140

[ 1 ] กล้องโทรทรรศน์ดอปโซเนียน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 นิ้ว กล้องโทรทรรศน์พื้นฐานที่ใช้ในการจัด กิจกรรมให้กับเด็กและนักเรียนที่มาเยี่ยมชมหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

cco camera education 1

กล้องโทรทรรศน์ดอปโซเนียนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 นิ้ว


 [ 2 ] กล้องโทรทรรศน์หักเหแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง  4 นิ้ว และ 5 นิ้ว กล้องโทรทรรศน์สำหรับใช้ในการอมรมโครงการต่างๆ ในหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

cco camera education 2

กล้องโทรทรรศน์หักเหแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง  4 นิ้ว


[ 3 ] ชุดประกอบกล้องโทรทรรศน์ เพื่อเรียนรู้การประกอบกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง

cco camera education 3

ชุดประกอบกล้องโทรทรรศน์

| Category: หอดูดาวฯ สงขลา | Hits: 7290

[ 1 ] กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 นิ้ว เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่มีความทันสมัย   มีระบบค้นหาและติดตามการเคลื่อนที่ของดาวแบบอัตโนมัติพร้อมกล้องติดตามวัตถุท้องฟ้า (Guider Scope) ที่ช่วยให้การถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้ามีความคมชัดมากขึ้น
 cco camera 1

Celestron EdgeHD 1400 , EdgeHD 9.25
Optical System : Advanced Coma-Free Telescope
Telescope Aperture : 14 inch (365 mm.) , 9.25 inch (234.95 mm)
Focal Length : 3910 mm. , 2350 mm.
Focal Ratio : F/11 , F/10
Mounting System : Equatorial Mount (CGE PRO , CGE)


[ 2 ] กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงคุณภาพสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 มิลลิเมตร โดดเด่นด้วยเลนส์แบบ Apochromatic คุณภาพสูง สามารถเห็นขอบหลุมบนดวงจันทร์ รายละเอียดบนแถบเมฆ และพายุสีแดงบนดาวพฤหัสบดี รวมถึงหุบเหว  และปากปล่องภูเขาไฟบนดาวอังคารได้อย่างชัดเจน

cco camera 2

Takahashi  TOA-150 
Optical System : Refractor - Apochromatic
Telescope Aperture : 6 inch (150 mm.)
Focal Length : 1100 mm.
Focal Ratio : F/7.33
Mounting System : Equatorial Mount (EM-400)


[ 3 ] กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงคุณภาพสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 130 มิลลิเมตร  โดดเด่นด้วยเลนส์แบบ Apochromatic คุณภาพสูง เปิดให้ประชาชนหรือผู้ที่สนใจ นำกล้องถ่ายรูปมาต่อกับกล้องโทรทรรศน์ เพื่อถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าในทุกคืนวันเสาร์ด้วย

cco camera 3

Takahashi  TOA-130
Optical System : Refractor - Apochromatic
Telescope Aperture : 5.11 inch (130 mm.)
Focal Length : 1000 mm.
Focal Ratio : F/7.7
Mounting System : Equatorial Mount (EM-200)


[ 4 ] กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 106 มิลลิเมตร เหมาะสำหรับดูวัตถุท้องฟ้าที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เช่น  ดวงจันทร์ เนบิลาในกลุ่มดาวนายพราน กระจุกดาวลูกไก่ และอื่นๆ
 cco camera 4

Takahashi  FSQ-106
Optical System : Refractor - Apochromatic
Telescope Aperture : 4.2 inch (106 mm.)
Focal Length : 530 mm.
Focal Ratio : F/5
Mounting System : Equatorial Mount (EM-200)


 

[ 5 ] กล้องสองตาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 125 มิลลิเมตร เป็นกล้องสองตาขนาดใหญ่ เหมาะกับการสังเกตดาวเคราะห์  กระจุกดาวเปิด (Open Cluster) และดวงจันทร์ ผู้เข้าชมจะเห็นภาพที่เป็นมิติมากกว่ากล้องโทรทรรศน์ทั่วไป

cco camera 5

Vixen BT126ss-A
Optical System : Refractor - Apochromatic
Telescope Aperture : 4.9 inch (126 mm.)
Focal Length : 625 mm.
Focal Ratio : F/5
Mounting System : Equatorial Mount (Sirius) (astrotech)


[ 6 ] กล้องดูดวงอาทิตย์ เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ออกแบบสำหรับการศึกษาดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ มีความปลอดภัยต่อผู้สังเกต  สามารถมองเห็นเปลวสุริยะ (Prominence) ได้อย่างชัดเจน กล้องโทรทรรศน์ทั่วไปที่ใช้แผ่นกรองแสงดวงอาทิตย์แบบธรรมดา (Solar Filter)  จะเห็นเพียงจุดสีดำเท่านั้น

cco camera 6

Coronado 90 mm.
Optical System : Refractor - Apochromatic
Telescope Aperture : 3.5 inch (90 mm.)
Focal Length : 792 mm.
Focal Ratio : F/8.8
Filter : Hydrogen - Alpha
Mounting System : Equatorial Mount (Sirius,astrotech)

| Category: หอดูดาวฯ สงขลา | Hits: 7245

ท้องฟ้าจำลองหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

ska internal service edu 1

       ท้องฟ้าจำลองหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เมตร ติดตั้งเครื่องฉายดาวระบบฟูลโดมดิจิทัล ความละเอียด 25 ล้านพิกเซล สามารถเข้าชมท้องฟ้าจำลองได้รอบละ 52 ที่นั่ง โดยรอบฉายแต่ละรอบจะใช้เวลา 1 ชั่วโมง ลักษณะของการจัดแสดงนั้นจะเป็นการบรรยายเนื้อหาดาราศาสตร์โดยเจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ และเปิดหนังสารคดีทางด้านดาราศาสตร์ทีทันสมัย ตื่นตาตื่นใจ สร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ดาราศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นอย่างดี

 

| Category: หอดูดาวฯ สงขลา | Hits: 2567

ska update 1

        สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการก่อสร้างนิทรรศการความรู้ในส่วนจัดแสดงนิทรรศการภายในอาคารอำนวยการของหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา เพื่อให้ความรู้กับประชาชน ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจที่จะเรียนรู้ทางด้านดาราศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์และอวกาศ โดยมีแนวความคิดเกียวกับนิทรรศการภายในหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา แสดงความรู้เกี่ยวกับแสงกับดาราศาสตร์ กล้องโทรทรรศน์และการค้นพบด้วยวิธีการทางดาราศาสตร์ และความรู้พื้นฐานด้านดาราศาสตร์ โดยนำเสนอในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติเมียเดียปฏิสัมพันธ์ สามารถสร้างความตื่นเต้น สร้างแรงบัลดาลใจและความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ต่อผู้เข้าชมนิทรรศการ  ซึ่งมีทั้งหมด 14 โซนกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่

  1. นิทรรศการเรื่องฤดูกาลและการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
  2. นิทรรศการเรื่องการเกิดข้างขึ้น-ข้างแรมของดวงจันทร์
  3. นิทรรศการเรื่องการเกิดเฟสของดวงจันทร์
  4. นิทรรศการเรื่องการเกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง
  5. นิทรรศการหาความลึกของหลุมบนดวงจันทร์
  6. นิทรรศการหลักการรวมสีของแสง
  7. นิทรรศการเรื่องการหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์แก๊ส
  8. นิทรรศการการเปรียบเทียบน้ำหนักบนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
  9. นิทรรศการเรื่องแสงกับภาพถ่ายดาราศาสตร์
  10. นิทรรศการเรื่องชุดอุปกรณ์ตรวจจับอนุภาคคอสมิคเรย์
  11. นิทรรศการเรื่องการสังเกตกลุ่มดาวบนท้องฟ้า
  12. นิทรรศการเรื่องแบบจำลองดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
  13. ชุดนิทรรศการเรื่องชุดเครื่องชั่งน้ำหนักบนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
  14. จุดแสดงอุกกาบาตแคมโปเดลเชลโล
  15. ชุดนิทรรการเรื่องยานสำรวจดาวอังคาร
| Category: หอดูดาวฯ สงขลา | Hits: 4588


หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา สงขลา

cco icon point

79/4 หมู่ที่ 4 ตำบลเขารูปช้าง
อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
90000

cco icon phone


โทรศัพท์. (+66) 074-300868

cco icon facebook @NARITSKA

 

| Category: หอดูดาวฯ สงขลา | Hits: 7025

ska update 1

        สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการก่อสร้างนิทรรศการความรู้ในส่วนจัดแสดงนิทรรศการภายในอาคารอำนวยการของหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา เพื่อให้ความรู้กับประชาชน ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจที่จะเรียนรู้ทางด้านดาราศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์และอวกาศ โดยมีแนวความคิดเกียวกับนิทรรศการภายในหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา แสดงความรู้เกี่ยวกับแสงกับดาราศาสตร์ กล้องโทรทรรศน์และการค้นพบด้วยวิธีการทางดาราศาสตร์ และความรู้พื้นฐานด้านดาราศาสตร์ โดยนำเสนอในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติเมียเดียปฏิสัมพันธ์ สามารถสร้างความตื่นเต้น สร้างแรงบัลดาลใจและความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ต่อผู้เข้าชมนิทรรศการ  ซึ่งมีทั้งหมด 14 โซนกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่

  1. นิทรรศการเรื่องฤดูกาลและการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
  2. นิทรรศการเรื่องการเกิดข้างขึ้น-ข้างแรมของดวงจันทร์
  3. นิทรรศการเรื่องการเกิดเฟสของดวงจันทร์
  4. นิทรรศการเรื่องการเกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง
  5. นิทรรศการหาความลึกของหลุมบนดวงจันทร์
  6. นิทรรศการหลักการรวมสีของแสง
  7. นิทรรศการเรื่องการหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์แก๊ส
  8. นิทรรศการการเปรียบเทียบน้ำหนักบนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
  9. นิทรรศการเรื่องแสงกับภาพถ่ายดาราศาสตร์
  10. นิทรรศการเรื่องชุดอุปกรณ์ตรวจจับอนุภาคคอสมิคเรย์
  11. นิทรรศการเรื่องการสังเกตกลุ่มดาวบนท้องฟ้า
  12. นิทรรศการเรื่องแบบจำลองดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
  13. ชุดนิทรรศการเรื่องชุดเครื่องชั่งน้ำหนักบนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
  14. จุดแสดงอุกกาบาตแคมโปเดลเชลโล
  15. ชุดนิทรรการเรื่องยานสำรวจดาวอังคาร

ท้องฟ้าจำลองหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

ska internal service edu 1

        ท้องฟ้าจำลองหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เมตร ติดตั้งเครื่องฉายดาวระบบฟูลโดมดิจิทัล ความละเอียด 25 ล้านพิกเซล สามารถเข้าชมท้องฟ้าจำลองได้รอบละ 52 ที่นั่ง โดยรอบฉายแต่ละรอบจะใช้เวลา 1 ชั่วโมง ลักษณะของการจัดแสดงนั้นจะเป็นการบรรยายเนื้อหาดาราศาสตร์โดยเจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ และเปิดหนังสารคดีทางด้านดาราศาสตร์ทีทันสมัย ตื่นตาตื่นใจ สร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ดาราศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นอย่างดี


ภูมิทัศน์นอกอาคารหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

ska update 5    
 
ska update 6

ska update 7 ska update 8 


         หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา ทำเลที่ตั้งหอดูดาวนั้นอยู่บนเขารูปช้าง ซึ่งสามารถมองเห็นทัศนยภาพของมองสงขลาได้ชัดเจนมีมุมเปิดกว้างมากกว่า 270 องศา  ทำให้เป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การทำกิจกรรมดูดาว กิจกรรมดาราศาสตร์ และเป็นจุดชมวิวทะเลสอบสงขลา ทะเลสาบอ่าวไทย และเมืองสงขลาเป็นอย่างดี รวมถึงแหล่งโบราณสถานและรูปแบบอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของเมืองสงขลาได้ด้วย ส่งผลให้หอดูดาวแห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการศึกษาอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสงขลา นอกจากนี้ ยังมีสะพานดาวหางที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางดาราศาสตร์ ในเวลากลางคืนจะมีแสงำฟแอลอีดีติดขึ้นบริเวณสะพานนี้ซึ่งมีความสวยงามมากๆ


อาคารหอดูดาวหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

ska update 9 ska update 10
ska update 11 

        อาคารหอดูดาวประกอบด้วยสองส่วนหลักๆ ได้แก่ ส่วนที่เป็นอาคารหลังคาเลื่อน ภายในติดตั้งกล้องโทรทรรศน์จำนวน 6 ตัว เพื่อรองรับการให้บริการข้อมูลดาราศาสตร์ทั้งภาคปฏิบัติการและภาคทฤษฎี และพื้นที่ดังกล่าวสามารถใช้ทำกิจกรรมสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ในช่วงเวลากลางคืนได้เป็นอย่างดี รอบๆอาคารหลังคาเลื่อนนี้จะติดตั้ง เครื่องมือตรวจวัดสภาพอากาศด้วยระบบเลเซอร์ (LiDAR) เพื่อตรวจวัดและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์บรรยากาศและอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพท้องฟ้า สภาพอากาศและความเร็วลม ซึ่งเป็นปัจจับสำคัญของการใช้งานอุปกรณ์ด้านดาราศาสตร์ทุกชิ้น

ska update 12

        ส่วนที่ โดมไฟเบอร์กลาสทรงคล้ายเปลือกหอยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 18 ฟุต เปิดออกได้ 360 องศา สังเกตท้องฟ้าได้รอบทิศทาง ภายในติดตั้งกล้องโทรทรรศน์สะท้องแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร สามารถควบคุมการทำงานได้จากคอมพิวเตอร์ ผ่านระบบโครงข่ายอินเตอร์เน็ท บนตัวกล้องติตั้ง CCD Camera ความละเอียดสูง พร้อมฟิลเตอร์สี LRGB และ narrow band filter ,กล้องถ่ายภาพดาวเคราะห์, สเปกโตรกราฟ เพื่อใช้เก็บข้อมูลวิจัยและบันทึกภาพถ่ายของวัตถุท้องฟ้าหรือกฎการณืสำคัญๆ ทางดาราศาสตร์ได้ มีช่องแยกสำหรับใส่เลนส์ตาต่างหาก เพื่อความสะดวกในการใช้งานทั้งสังเกตการณ์ด้วยตาเปล่าและการถ่ายภาพผ่าน ตั้ง CCD Camera รองรับงานวิจัยทั้งระดับเบื้องต้นและระดับสูงได้

ska update 13 ska update 14
ska update 15

กล้องโทรทรรศน์และอุปกรณ์อื่นๆ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

  1. กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 14นิ้ว เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่มีความทันสมัย มีระบบค้นหาและติดตามการเคลื่อนที่ของดาวแบบอัตโนมัติพร้อมกล้องติดตามวัตถุท้องฟ้า (Guider Scope) ที่ช่วยให้การถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้ามีความคมชัดมากขึ้น
  2. กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้ว เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่มีความทันสมัยมีระบบค้นหาและติดตามวัตถุท้องฟ้าแบบอัตโนมัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงคุณภาพสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 มิลลิเมตร โดดเด่นด้วยเลนส์แบบ Apochromatic คุณภาพสูง สามารถเห็นขอบหลุมบนดวงจันทร์ รายละเอียดบนแถบเมฆและพายุสีแดงบนดาวพฤหัสบดี รวมถึงหุบเหวและปากปล่องภูเขาไฟบนดาวอังคารได้อย่างชัดเจน
  4. กล้องสองตาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๒๕ มิลลิเมตร เป็นกล้องสองตาขนาดใหญ่ เหมาะแก่การสังเกตดาวเคราะห์ กระจุกดาวเปิด (Open Cluster) และดวงจันทร์ สามารถเห็นมิติลึกตื้นของหลุมบนดวงจันทร์ แตกต่างจากการสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ด้วยตาข้างเดียว
  5. กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 106 และ 130 มิลลิเมตร ติดตั้งเลนส์รวมแสงคุณภาพสูงบนฐานตามดาวแบบ German Equatorial สามารถติดตามการเคลื่อนที่ของดาวแบบอัตโนมัติได้ตลอดคืน เหมาะสำหรับการสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เช่น ดวงจันทร์ เนบิวลาในกลุ่มดาวนายพราน กระจุกดาวลูกไก่หรือกระจุกดาวเปิดอื่นๆ
  6. กล้องดูดวงอาทิตย์ เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ออกแบบสำหรับการศึกษาดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ มีความปลอดภัยต่อผู้สังเกตการณ์ สามารถมองเห็นเปลวสุริยะ (Prominence) ได้อย่างชัดเจน กล้องโทรทรรศน์ทั่วไปที่ใช้แผ่นกรองแสงดวงอาทิตย์แบบธรรมดา (Solar Filter) จะเห็นเปลวสุริยะเป็นเพียงจุดสีดำเท่านั้น สำหรับการสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เช่น ดวงจันทร์ เนบิวลาในกลุ่มดาวนายพราน กระจุกดาวลูกไก่หรือกระจุกดาวเปิดอื่นๆ
  7. กล้องดูดวงอาทิตย์ เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ออกแบบสำหรับการศึกษาดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ มีความปลอดภัยต่อผู้สังเกตการณ์ สามารถมองเห็นเปลวสุริยะ (Prominence) ได้อย่างชัดเจน กล้องโทรทรรศน์ทั่วไปที่ใช้แผ่นกรองแสงดวงอาทิตย์แบบธรรมดา (Solar Filter) จะเห็นเปลวสุริยะเป็นเพียงจุดสีดำเท่านั้น

Public Night หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

        กิจกรรม Public Night  เป็นกิจกรรมที่เน้นการให้บริการข้อมูลดาราศาสตร์แก่บุคคลที่มีความสนใจด้านดาราศาสตร์ กิจกรรมจะจัดขึ้นทุกวันเสาร์ หอดูดาวจะเปิดทำการตั้งแต่เวลา 08:30 – 22:00 น. เพื่อตั้งกล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางต่างๆ และมีกิจกรรมการบรรยายให้ความรู้ดาราศาสตร์เบื้องต้นแก่คนฟัง พร้อมกับมีเกมส์ทางดาราศาสตร์ให้กลุ่มผู้สนใจร่วมสนุกกับกิจกรรมทางดาราศาสตร์ได้

| Category: หอดูดาวฯ สงขลา | Hits: 6569

Picture1

หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา
Regional Observatory for Public, Songkhla
หอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชนเต็มรูปแบบ แห่งที่ ๓ ของประเทศไทย
ศูนย์การเรียนรู้ดาราศาสตร์สำหรับประชาชนและสถานศึกษา
สนับสนุนการบริการวิชาการดาราศาสตร์แก่ชุมชน สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน
ในสถาบันการศึกษา  และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวิชาการที่สำคัญ

        หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา สงขลา เป็นหอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชนเต็มรูปแบบ แห่งที่ 3 ของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ละติจูด  7 0 9’ 29’’ N 1000  36' 39'' E บริเวณตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา บนพื้นที่ประมาณ 25 ไร่  เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 นับเป็นศูนย์เรียนรู้ดาราศาสตร์ที่สำคัญของภาคใต้ สนับสนุนวิชาการดาราศาสตร์แก่ชุมชน บริการวิชาการทางดาราศาสตร์และงานวิจัยดาราศาสตร์สำหรับนักเรียน นักศึกษา และสถาบันการศึกษาในภาคใต้ และยังเป็นศูนย์เรียนรู้ดาราศาสตร์มุสลิมอย่างครบวงจร

        ภายในเนื้อที่ 25 ไร่  นั้นสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ได้ดำเนินการจัดสร้างอาคารไว้สำหรับให้บริการวิชาการดาราศาสตร์ไว้ 3 อาคาร ได้แก่ อาคารอำนวยการ อาคารฉายดาว  อาคารหอดูดาว   และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ อาทิ จุดชมวิวที่มีมุมเปิดกว้างมากกว่า 270 องศา ให้สามารถมองทัศนียภาพของเมืองสงขลาได้ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร และ ลานดูดาวที่จัดแสดงสัญลักษณ์รูปกลุ่มดาวแมงป่อง เป็นต้น

nma 01

ชื่อ : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา ( Regional Observatory for Public, Songkhla )
ที่ตั้ง : 79/4 หมู่ที่ 4 ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 90000
พิกัดหอดูดาว : ตั้งอยู่ที่ละติจูด  7 0 9’ 29’’ N 1000  36' 39'' E
พื้นที่ : 25 ไร่
เปิดดำเนินการ : วันที่ 25 กรกฎาคม 2562 สมเด็กพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด

| Category: หอดูดาวฯ สงขลา | Hits: 44878