ข่าวทั้งหมด ข่าวดาราศาสตร์

        ประเทศไทย ตั้งอยู่ในบริเวณละติจูดที่ 5 ถึง 20 องศาเหนือ ท้องฟ้าที่ทำการสังเกตการณ์โดยกล้องโทรทรรศน์ต่างๆ ในประเทศไทยนั้น จะเป็นท้องฟ้าในซีกฟ้าเหนือ (Northern Hemisphere) ทั้งหมด และท้องฟ้าในซีกโลกใต้ (Southern Hemisphere) บางส่วนเท่านั้น อีกทั้งยังมีข้อจำกัดในการศึกษาใจกลางของแกแล็คซีทางช้างเผือก ซึ่งอยู่ในซีกฟ้าใต้ และมีวัตถุท้องฟ้าที่น่าสนใจจำนวนมากรวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการศึกษาใจกลางทางช้างเผือกนี้ จะเป็นช่วงเวลาประมาณเดือนมิถุนายน ถึง เดือนสิงหาคมทุกปีซึ่งตรงกับฤดูฝนในประเทศไทย ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว สดร. จึงได้ทำการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดกลางเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6 - 0.7 เมตร ที่มีกล้องถ่ายภาพ (CCD) คุณภาพสูง สามารถควบคุมระยะไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไว้ ณ สถานที่ต่างๆ รวม 4 แห่ง เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยทางดาราศาสตร์ของนักวิจัย รวมถึงการให้บริการแก่โรงเรียนต่างๆ ในประเทศไทยที่ต้องการทำการศึกษา หรือสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้า ซึ่งการที่มีเครือข่ายดังกล่าว จะทำให้นักดาราศาสตร์ไทยสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของวัตถุท้องฟ้าได้ตลอดเวลา ทั้งซีกฟ้าเหนือ และซีกฟ้าใต้

trt 001

trt 002

trt 003

trt 004

trt 005

trt 006

trt 007

 

| Category: หอดูดาว | Hits: 38910

        ประเทศไทย ตั้งอยู่ในบริเวณละติจูดที่ 5 ถึง 20 องศาเหนือ ท้องฟ้าที่ทำการสังเกตการณ์โดยกล้องโทรทรรศน์ต่างๆ ในประเทศไทยนั้น จะเป็นท้องฟ้าในซีกฟ้าเหนือ (Northern Hemisphere) ทั้งหมด และท้องฟ้าในซีกโลกใต้ (Southern Hemisphere) บางส่วนเท่านั้น อีกทั้งยังมีข้อจำกัดในการศึกษาใจกลางของแกแล็คซีทางช้างเผือก ซึ่งอยู่ในซีกฟ้าใต้ และมีวัตถุท้องฟ้าที่น่าสนใจจำนวนมากรวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการศึกษาใจกลางทางช้างเผือกนี้ จะเป็นช่วงเวลาประมาณเดือนมิถุนายน ถึง เดือนสิงหาคมทุกปีซึ่งตรงกับฤดูฝนในประเทศไทย ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว สดร. จึงได้ทำการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดกลางเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6 - 0.7 เมตร ที่มีกล้องถ่ายภาพ (CCD) คุณภาพสูง สามารถควบคุมระยะไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไว้ ณ สถานที่ต่างๆ รวม 4 แห่ง เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยทางดาราศาสตร์ของนักวิจัย รวมถึงการให้บริการแก่โรงเรียนต่างๆ ในประเทศไทยที่ต้องการทำการศึกษา หรือสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้า ซึ่งการที่มีเครือข่ายดังกล่าว จะทำให้นักดาราศาสตร์ไทยสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของวัตถุท้องฟ้าได้ตลอดเวลา ทั้งซีกฟ้าเหนือ และซีกฟ้าใต้

trt 01

สดร. มีการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6 - 0.7 เมตร ณ หอดูดาวในประเทศต่างๆ ประกอบด้วย

  • หอดูดาว Cerro Tololo Inter-American Observatory (CTIO) สาธารณรัฐชิลี
  • หอดูดาว Gao Mei Gu มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • หอดูดาว Sierra Remote มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
  • หอดูดาว SpringBrook นิวเซาว์เวลล์ (NWS) ออสเตรเลีย
  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ภายใต้โครงการเฝ้าติดตามวัตถุที่อาจมีภัยคุกคามต่อโลก บริเวณสถานีรายงานดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ทางไกลอัตโนมัติของประเทศไทย
trt 02 

1. หอดูดาว Cerro Tololo Inter-American Observatory (CTIO) สาธารณรัฐชิลี

  สดร.ได้ร่วมมือกับ University of North Carolina ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6 เมตร ภายใต้โครงการ PROMPT (Panchromatic Robotic Optical Monitoring and Polarimetry Telescopes) ซึ่งประกอบด้วย กล้องโทรทรรศน์ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล โดยสถานที่ที่ติดตั้ง คือ หอดูดาว Cerro Tololo Inter-American Observatory (CTIO) สาธารณรัฐชิลี (ซีกฟ้าใต้) ซึ่งการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ฯ ดังกล่าว ทำให้จำนวนคืนที่สังเกตการณ์ได้ในแถบนี้มีมากกว่า 300 คืนต่อปีนอกจากนี้ ยังมีข้อดีอีกประการหนึ่ง คือ สามารถใช้กล้องสนับสนุนการเรียนการสอนหรือใช้สังเกตการณ์วัตถุ

ท้องฟ้าในซีกฟ้าใต้ได้ในเวลากลางวันขอประเทศไทย เนื่องจาก ในเวลาช่วงเวลาดังกล่าวเป็นเวลากลางคืนที่หอดูดาว CTIO พอดี โดยสดร.เริ่มใช้กล้องโทรทรรศน์ฯ ดังกล่าวมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 เป็นต้นมา

    สำหรับผลการใช้งานของกล้อง PROMPT 8 ณ หอดูดาว CTIO สาธารณรัฐชิลี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (ตุลาคม 2559 – กันยายน 2560) รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 400.43 ชั่วโมง และเดือนที่มีผลการใช้งานสูงที่สุด คือ เดือนมิถุนายน 2560 มีปริมาณการใช้งานถึง 68.35 ชั่วโมง รายละเอียดตามกราฟแสดงสถิติการใช้งานข้างล่างนี้

trt 03  trt 04  trt 05 

กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6 เมตร ภายใต้โครงการ PROMPT ณ Cerro Tololo ประเทศชิลี

trt 06 

2. หอดูดาว Gao Mei Gu สาธารณรัฐประชาชนจีน

สดร. ลงนามความเข้าใจด้านความร่วมมือกับหอดูดาวยูนนานสาธารณ
รัฐประชาชนจีน ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ควบคุมระยะไกล ณ หอดูดาว Gao Mei Gu เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ“เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558” และเป็นการเพิ่มจำนวนกล้องโทรทรรศน์แบบควบคุมระยะไกลในซีกฟ้าเหนืออีกทั้งยังเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับสาธารณรัฐประชาชนจีน อีกประการหนึ่งด้วย โดยมีข้อตกลงในการใช้งานกล้องโทรทรรศน์ร่วมกัน คือ แบ่งเวลาการใช้งานกล้องครั้งละ 2 สัปดาห์ ซึ่งสดร.ได้เริ่มใช้กล้องโทรทรรศน์ฯ ดังกล่าวมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558

สำหรับผลการใช้งานของกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6 เมตร ณ หอดูดาว Gao Mei Gu สาธารณรัฐประชาชนจีน ในปีงบประ
มาณ พ.ศ. 2560 (ตุลาคม 2559 – กันยายน 2560) รวมทั้งสิ้น 1,130 ชั่วโมง ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2559 มีการทดสอบระบบเป็นเวลา 4 วัน และในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ถึงต้นเดือนมิถุนายน 2560 เป็นช่วงฤดูฝนของสาธารณรัฐประชาชนจีน จึงทำให้มีการขอใช้งานกล้องน้อยที่สุดเพียง 70 ชั่วโมง รายละเอียดตามกราฟแสดงสถิติการใช้งานข้างล่างนี้

trt 07 trt 08 trt 09


กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6 เมตร ณ หอดูดาว Gao Mei Gu สาธารณรัฐประชาชนจีน

trt 10 

3. หอดูดาว Sierra Remote สหรัฐอเมริกา

สดร.ได้ดำเนินการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร ณ หอดูดาว Sierra Remote Observatories (SRO) รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งตั้งอยู่ภายในเขตป่าสน บนภูเขาสูง อยู่ห่างไกลจากตัวเมือง ไม่มีแสงรบกวนจากภายนอก จึงทำให้สภาพท้องฟ้าและอากาศเหมาะสมต่อการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ ตลอดทั้งปี กล้องโทรทรรศน์ฯ ตัวนี้ ทำหน้าที่ในการติดตามวัตถุต่างๆ ในซีกฟ้าเหนือ ซึ่งสามารถรองรับการทำงานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังรองรับการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์เพื่อความสวยงามได้อีกด้วย

นอกจากการติดตั้งกล้องฯ 0.7 เมตรแล้ว สดร. ได้ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มอรรถประโยชน์ในการใช้งาน คือ

  • ติดตั้ง CCD เกรดวิทยาศาสตร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานจากนักวิจัย รวมไปถึง Filters ที่รองรับการใช้งานในช่วงความยาวคลื่นต่างๆ ที่นักวิจัยได้ให้ความสนใจ
  • ติดตั้ง CCD ขนาด 4k พร้อม Filter ที่สามารถรองรับการถ่ายภาพเพื่อความสวยงาม และสามารถติดตามเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จุดเด่นของกล้องโทรทรรศน์ฯ ที่ติดตั้ง ณ หอดูดาว SRO คือ นักวิจัยหรือผู้ที่ใช้งาน สามารถเข้าไปกรอกข้อมูลความต้องการบนหน้าเว็ปไซด์ของระบบ AstroNet โดยไม่ต้องอยู่ควบคุมตลอดเวลา นอกจากนี้ นักวิจัย ยังสามารถติดตามวัตถุบนท้องฟ้าได้ในเวลากลางวันของประเทศไทย เนื่องจาก เวลาของประเทศไทย กับ หอดูดาว Sierra Remote Observatories (SRO) รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่างกันประมาณ 14 ชั่วโมง ทำให้นักวิจัยสามารถลงรายละเอียดการติดตามวัตถุได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งสดร.ได้เริ่มใช้กล้องโทรทรรศน์ฯ ดังกล่าวมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558

สำหรับการใช้งานกล้องฯ 0.7 เมตร ณ หอดูดาว SRO หลังจากการที่มีติดตั้งและทดสอบแล้ว สดร.ได้แบ่งการใช้งานกล้องให้กับกลุ่มนักวิจัย และกลุ่มงานวิศวกรรมของสดร. โดยแบ่งให้นักวิจัย ใช้ในการติดตามวัตถุต่างๆ ในซีกฟ้าเหนือ ผ่านการรีโมทควบคุมการทำงานของกล้องระยะไกลจากประเทศไทย เป็นระยะเวลา 1 ปี หลังจากนั้น จึงให้กลุ่มงานวิศวกรรม ใช้ในการพัฒนาระบบ AstroNet ให้ครบทุกฟังก์ชั้นการใช้งาน เพื่อเตรียมรองรับการใช้งานของนักวิจัยในลำดับต่อไป

trt 11 trt 12 trt 13

กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร ณ หอดูดาว Sierra Remote Observatories (SRO)

รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

trt 06 

4. หอดูดาว SpringBrook เครือรัฐออสเตรเลีย

โครงการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ CDK700 และ CDK17 ณ หอดูดาว SpringBrook, Coonabarabran, NSW, Australia นั้น เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ควบคุมระยะไกลของประเทศไทย (Thai Robotic Telescope Network, TRT” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ที่จะติดตั้งกล้องโทรทรรศน์แบบ CDK700 ตามพื้นที่ต่างๆ ที่มีท้องฟ้าเหมาะสมสำหรับการติดตามวัตถุบนท้องฟ้า และพัฒนาให้กล้องทำงานในโหมดควบคุมระยะไกล (remote mode) และโหมดหุ่นยนต์ (robotic mode) เพื่อให้เครือข่าย TRT สามารถสนับสนุนงานวิจัยและงานบริการวิชาการให้กับสดร.

หอดูดาว SpringBrook, Coonabarabran, NSW, Australia เป็นหอดูดาวที่ดำเนินการโดยเอกชน ที่มีทำเลที่ตั้งดีที่สุดแห่งหนึ่งในซีกฟ้าใต้ อยู่ติดกับหอดูดาว Siding Spring ซึ่งเป็นหอดูดาวแห่งชาติเครือรัฐออสเตรเลีย ดังนั้นจึงสามารถมั่นใจได้ว่า หอดูดาวดังกล่าว เป็นหอดูดาวที่มีสภาพท้องฟ้าเหมาะสม และจะไม่ถูกรบกวนทางแสงจากชุมชน เนื่องจากมีการจัดการโดยรัฐบาลเพื่อปกป้องผลกระทบต่อหอดูดาวแห่งชาติ โดยได้เริ่มดำเนิน โครงการตั้งแต่ปี 2559 และได้ดำเนินการติดตั้งกล้องพร้อมทดสอบเป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2560

trt 14 trt 16 trt 17

กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร ณ หอดูดาว SpringBrook, Coonabarabran, NSW, Australia

trt 18
trt 19
 
 

5. หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ภายใต้โครงการเฝ้าติดตามวัตถุที่อาจมีภัยคุกคามต่อโลก

“หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ” ตั้งอยู่บริเวณสถานีรายงานดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร ภายใต้ “โครงการเฝ้าระวังวัตถุใกล้โลกและวัตถุอวกาศ” ดำเนินการร่วมกันระหว่าง 3 หน่วยงานภาครัฐ คือ (1) สดร. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สนับสนุนกล้องโทรทรรศน์อุปกรณ์เก็บข้อมูล โดม และกิจกรรมพัฒนาบุคลากร (2) กองทัพอากาศ สนับสนุนสถานที่ก่อสร้างหอดูดาวฯ ในพื้นที่ของกองทัพอากาศดอยอินทนนท์ และ (3) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สนับสนุนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยโครงการดังอยู่ในระหว่างการลงทะเบียนกับ Minor Planet Centers ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) และได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NASA) และศูนย์เฝ้าระวังภัยอวกาศประเทศญี่ปุ่น (Japan Spaceguard Assocasiaiton) มีวัตถุประสงค์หลักในการเฝ้าติดตามและศึกษาวงโคจรของวัตถุใกล้โลกและวัตถุอวกาศ เก็บรวบรวมและสร้างฐานข้อมูล เพื่อนำไปศึกษาวิจัยและต่อยอดองค์ความรู้ เป็นศูนย์ข้อมูลการเตือนภัย รวมทั้งสร้างความตระหนัก ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภัยคุกคามจากวัตถุใกล้โลกและวัตถุอวกาศให้กับสาธารณชน

| Category: หอดูดาว | Hits: 2846