โครงสร้างพื้นฐานภายในหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

ska update 1

        สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการก่อสร้างนิทรรศการความรู้ในส่วนจัดแสดงนิทรรศการภายในอาคารอำนวยการของหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา เพื่อให้ความรู้กับประชาชน ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจที่จะเรียนรู้ทางด้านดาราศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์และอวกาศ โดยมีแนวความคิดเกียวกับนิทรรศการภายในหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา แสดงความรู้เกี่ยวกับแสงกับดาราศาสตร์ กล้องโทรทรรศน์และการค้นพบด้วยวิธีการทางดาราศาสตร์ และความรู้พื้นฐานด้านดาราศาสตร์ โดยนำเสนอในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติเมียเดียปฏิสัมพันธ์ สามารถสร้างความตื่นเต้น สร้างแรงบัลดาลใจและความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ต่อผู้เข้าชมนิทรรศการ  ซึ่งมีทั้งหมด 14 โซนกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่

  1. นิทรรศการเรื่องฤดูกาลและการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
  2. นิทรรศการเรื่องการเกิดข้างขึ้น-ข้างแรมของดวงจันทร์
  3. นิทรรศการเรื่องการเกิดเฟสของดวงจันทร์
  4. นิทรรศการเรื่องการเกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง
  5. นิทรรศการหาความลึกของหลุมบนดวงจันทร์
  6. นิทรรศการหลักการรวมสีของแสง
  7. นิทรรศการเรื่องการหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์แก๊ส
  8. นิทรรศการการเปรียบเทียบน้ำหนักบนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
  9. นิทรรศการเรื่องแสงกับภาพถ่ายดาราศาสตร์
  10. นิทรรศการเรื่องชุดอุปกรณ์ตรวจจับอนุภาคคอสมิคเรย์
  11. นิทรรศการเรื่องการสังเกตกลุ่มดาวบนท้องฟ้า
  12. นิทรรศการเรื่องแบบจำลองดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
  13. ชุดนิทรรศการเรื่องชุดเครื่องชั่งน้ำหนักบนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
  14. จุดแสดงอุกกาบาตแคมโปเดลเชลโล
  15. ชุดนิทรรการเรื่องยานสำรวจดาวอังคาร

ท้องฟ้าจำลองหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

ska internal service edu 1

        ท้องฟ้าจำลองหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เมตร ติดตั้งเครื่องฉายดาวระบบฟูลโดมดิจิทัล ความละเอียด 25 ล้านพิกเซล สามารถเข้าชมท้องฟ้าจำลองได้รอบละ 52 ที่นั่ง โดยรอบฉายแต่ละรอบจะใช้เวลา 1 ชั่วโมง ลักษณะของการจัดแสดงนั้นจะเป็นการบรรยายเนื้อหาดาราศาสตร์โดยเจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ และเปิดหนังสารคดีทางด้านดาราศาสตร์ทีทันสมัย ตื่นตาตื่นใจ สร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ดาราศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นอย่างดี


ภูมิทัศน์นอกอาคารหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

ska update 5    
 
ska update 6

ska update 7 ska update 8 


         หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา ทำเลที่ตั้งหอดูดาวนั้นอยู่บนเขารูปช้าง ซึ่งสามารถมองเห็นทัศนยภาพของมองสงขลาได้ชัดเจนมีมุมเปิดกว้างมากกว่า 270 องศา  ทำให้เป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การทำกิจกรรมดูดาว กิจกรรมดาราศาสตร์ และเป็นจุดชมวิวทะเลสอบสงขลา ทะเลสาบอ่าวไทย และเมืองสงขลาเป็นอย่างดี รวมถึงแหล่งโบราณสถานและรูปแบบอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของเมืองสงขลาได้ด้วย ส่งผลให้หอดูดาวแห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการศึกษาอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสงขลา นอกจากนี้ ยังมีสะพานดาวหางที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางดาราศาสตร์ ในเวลากลางคืนจะมีแสงำฟแอลอีดีติดขึ้นบริเวณสะพานนี้ซึ่งมีความสวยงามมากๆ


อาคารหอดูดาวหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

ska update 9 ska update 10
ska update 11 

        อาคารหอดูดาวประกอบด้วยสองส่วนหลักๆ ได้แก่ ส่วนที่เป็นอาคารหลังคาเลื่อน ภายในติดตั้งกล้องโทรทรรศน์จำนวน 6 ตัว เพื่อรองรับการให้บริการข้อมูลดาราศาสตร์ทั้งภาคปฏิบัติการและภาคทฤษฎี และพื้นที่ดังกล่าวสามารถใช้ทำกิจกรรมสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ในช่วงเวลากลางคืนได้เป็นอย่างดี รอบๆอาคารหลังคาเลื่อนนี้จะติดตั้ง เครื่องมือตรวจวัดสภาพอากาศด้วยระบบเลเซอร์ (LiDAR) เพื่อตรวจวัดและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์บรรยากาศและอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพท้องฟ้า สภาพอากาศและความเร็วลม ซึ่งเป็นปัจจับสำคัญของการใช้งานอุปกรณ์ด้านดาราศาสตร์ทุกชิ้น

ska update 12

        ส่วนที่ โดมไฟเบอร์กลาสทรงคล้ายเปลือกหอยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 18 ฟุต เปิดออกได้ 360 องศา สังเกตท้องฟ้าได้รอบทิศทาง ภายในติดตั้งกล้องโทรทรรศน์สะท้องแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร สามารถควบคุมการทำงานได้จากคอมพิวเตอร์ ผ่านระบบโครงข่ายอินเตอร์เน็ท บนตัวกล้องติตั้ง CCD Camera ความละเอียดสูง พร้อมฟิลเตอร์สี LRGB และ narrow band filter ,กล้องถ่ายภาพดาวเคราะห์, สเปกโตรกราฟ เพื่อใช้เก็บข้อมูลวิจัยและบันทึกภาพถ่ายของวัตถุท้องฟ้าหรือกฎการณืสำคัญๆ ทางดาราศาสตร์ได้ มีช่องแยกสำหรับใส่เลนส์ตาต่างหาก เพื่อความสะดวกในการใช้งานทั้งสังเกตการณ์ด้วยตาเปล่าและการถ่ายภาพผ่าน ตั้ง CCD Camera รองรับงานวิจัยทั้งระดับเบื้องต้นและระดับสูงได้

ska update 13 ska update 14
ska update 15

กล้องโทรทรรศน์และอุปกรณ์อื่นๆ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

  1. กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 14นิ้ว เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่มีความทันสมัย มีระบบค้นหาและติดตามการเคลื่อนที่ของดาวแบบอัตโนมัติพร้อมกล้องติดตามวัตถุท้องฟ้า (Guider Scope) ที่ช่วยให้การถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้ามีความคมชัดมากขึ้น
  2. กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้ว เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่มีความทันสมัยมีระบบค้นหาและติดตามวัตถุท้องฟ้าแบบอัตโนมัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงคุณภาพสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 มิลลิเมตร โดดเด่นด้วยเลนส์แบบ Apochromatic คุณภาพสูง สามารถเห็นขอบหลุมบนดวงจันทร์ รายละเอียดบนแถบเมฆและพายุสีแดงบนดาวพฤหัสบดี รวมถึงหุบเหวและปากปล่องภูเขาไฟบนดาวอังคารได้อย่างชัดเจน
  4. กล้องสองตาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๒๕ มิลลิเมตร เป็นกล้องสองตาขนาดใหญ่ เหมาะแก่การสังเกตดาวเคราะห์ กระจุกดาวเปิด (Open Cluster) และดวงจันทร์ สามารถเห็นมิติลึกตื้นของหลุมบนดวงจันทร์ แตกต่างจากการสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ด้วยตาข้างเดียว
  5. กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 106 และ 130 มิลลิเมตร ติดตั้งเลนส์รวมแสงคุณภาพสูงบนฐานตามดาวแบบ German Equatorial สามารถติดตามการเคลื่อนที่ของดาวแบบอัตโนมัติได้ตลอดคืน เหมาะสำหรับการสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เช่น ดวงจันทร์ เนบิวลาในกลุ่มดาวนายพราน กระจุกดาวลูกไก่หรือกระจุกดาวเปิดอื่นๆ
  6. กล้องดูดวงอาทิตย์ เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ออกแบบสำหรับการศึกษาดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ มีความปลอดภัยต่อผู้สังเกตการณ์ สามารถมองเห็นเปลวสุริยะ (Prominence) ได้อย่างชัดเจน กล้องโทรทรรศน์ทั่วไปที่ใช้แผ่นกรองแสงดวงอาทิตย์แบบธรรมดา (Solar Filter) จะเห็นเปลวสุริยะเป็นเพียงจุดสีดำเท่านั้น สำหรับการสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เช่น ดวงจันทร์ เนบิวลาในกลุ่มดาวนายพราน กระจุกดาวลูกไก่หรือกระจุกดาวเปิดอื่นๆ
  7. กล้องดูดวงอาทิตย์ เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ออกแบบสำหรับการศึกษาดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ มีความปลอดภัยต่อผู้สังเกตการณ์ สามารถมองเห็นเปลวสุริยะ (Prominence) ได้อย่างชัดเจน กล้องโทรทรรศน์ทั่วไปที่ใช้แผ่นกรองแสงดวงอาทิตย์แบบธรรมดา (Solar Filter) จะเห็นเปลวสุริยะเป็นเพียงจุดสีดำเท่านั้น

Public Night หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

        กิจกรรม Public Night  เป็นกิจกรรมที่เน้นการให้บริการข้อมูลดาราศาสตร์แก่บุคคลที่มีความสนใจด้านดาราศาสตร์ กิจกรรมจะจัดขึ้นทุกวันเสาร์ หอดูดาวจะเปิดทำการตั้งแต่เวลา 08:30 – 22:00 น. เพื่อตั้งกล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางต่างๆ และมีกิจกรรมการบรรยายให้ความรู้ดาราศาสตร์เบื้องต้นแก่คนฟัง พร้อมกับมีเกมส์ทางดาราศาสตร์ให้กลุ่มผู้สนใจร่วมสนุกกับกิจกรรมทางดาราศาสตร์ได้