หอดูดาวฯ นครราชสีมา

สภาพการปฏิบัติงานและการให้บริการ

การให้บริการภายในพื้นที่หอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมา

การให้บริการภาคกลางวัน

nma serv operate 2 nma serv operate 3
nma serv operate 1


การให้บริการภาคกลางคืน

nma serv operate 4


การให้บริการภายนอกพื้นที่หอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมา

การให้บริการภาคกลางวัน

nma serv operate 5 nma serv operate 6


การให้บริการภาคกลางคืน

nma serv operate 7 nma serv operate 8

บริการงานวิจัย

        เป็นที่ปรึกษาโครงงาน งานวิจัย รวมถึงให้บริการอุปกรณ์ดาราศาสตร์ในการเก็บข้อมูล สร้างเครือข่ายการวิจัยและวิชาการ

nma research 1 nma research 2


ตัวอย่างงานวิจัยที่ได้รับความร่วมมือและใช้อุปกรณ์จากหอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมา

nma research 3 nma research 4

 


การจัดกิจกรรมภายใต้โครงการของหอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมา

        เพื่อสร้างความตระหนักและความตื่นตัวทางวิทยาศาสตร์ กระจายโอกาสในการเข้าถึงดาราศาสตร์สำหรับประชาชนและสถานศึกษาในท้องถิ่นอย่างทั่วถึงและทัดเทียม โดยตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายหลักของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ คือ เยาวชน ครู ประชาชนและนักดาราศาสตร์สมัครเล่น

nma research 5

nma research 6


กลุ่มเป้าหมาย : เยาวชน

กิจกรรมวันเด็ก

        เน้นกิจกรรมที่น้อง ๆ เยาวชน สามารถสนุกคิด สนุกเรียนรู้ดาราศาสตร์ได้ง่าย รูปแบบกิจกรรมเปลี่ยนไปตามเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจในแต่ละปี

nma kid 1 nma kid 2
nma kid 3 nma kid 4


กิจกรรมดาราศาสตร์สัญจร

        ส่งเสริมกระบวนการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์ให้กับเยาวชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ไปยังโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากที่ตั้งของหอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมา รูปแบบกิจกรรม เน้นกิจกรรมฐาน การบรรยายความรู้ดาราศาสตร์ในหลักสูตรการเรียนดาราศาสตร์ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และการสังเกตวัตถุท้องฟ้าในตอนกลางคืน

nma travel 1
nma travel 2 nma travel 3
nma travel 4 nma travel 5

 

กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์

        เพื่อเป็นการระลึกถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ที่ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างแม่นยำเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2411 หอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมา จึงจะได้จัดกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์ขึ้น รูปแบบกิจกรรม กิจกรรมฐานการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ชมท้องฟ้าจำลอง นิทรรศการดาราศาสตร์ 14 ฐานกิจกรรม และสังเกตวัตถุท้องฟ้าในตอนกลางคืน

nma sciweek 2
nma sciweek 1 nma sciweek 3

อบรมเยาวชนคนดูดาวภาคอีสาน

        ส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้น้อง ๆ เยาวชนแลกเปลี่ยนความรู้ดาราศาสตร์กับเพื่อนต่างโรงเรียนผ่านกิจกรรมค่ายเยาวชนฯ โดยเน้นเยาวชนที่กำลังศึกษาระดับมัธยมในโรงเรียนเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอายุระหว่าง 15 - 19 ปี จำนวน 40 คน รูปแบบกิจกรรม กิจกรรมฐานดาราศาสตร์เน้นการทำงานเป็นทีม การบรรยายให้ความรู้เชิงวิชาการ นำเสนอผลงานแบบกลุ่มเน้นความคิดสร้างสรรค์และกิจกรรมสันทนาการ

nma esan 3
nma esan 2 nma esan 1

อบรมชุมนุมดาราศาสตร์ในโรงเรียน

        การสร้างเครือข่ายชุมนุมดาราศาสตร์ในโรงเรียนเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อการจัดกิจกรรมชุมนุมดาราศาสตร์ในโรงเรียน รับสมัครคุณครู 1 ท่าน และนักเรียน 3 คน ที่มีใจรักในการเรียนรู้และจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ รูปแบบกิจกรรม การสร้างและดูแลรักษาอุปกรณ์ดาราศาสตร์ แนวทางการจัดกิจกรรมวิชาการ การสังเกตปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ รวมถึงแลกเปลี่ยนแนวทางการจัดกิจกรรมของชุมนุมดาราศาสตร์ในโรงเรียน

nma club 1 nma club 2
nma club 3
nma club 4

กลุ่มเป้าหมาย : ครู

อบรมการทำโครงงานและสื่อดาราศาสตร์

        เผยแพร่ความรู้และเทคนิคการปฏิบัติการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ดาราศาสตร์ให้กับคุณครูที่สังกัดโรงเรียนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รูปแบบกิจกรรม ออกแบบ พัฒนาสื่อการสอนและเพิ่มทักษะการใช้อุปกรณ์ดาราศาสตร์ แลกเปลี่ยนแนวคิดการสอนดาราศาสตร์ระหว่างคุณครูผู้เข้าอบรม

nma media 1
nma media 2 nma media 3

กลุ่มเป้าหมาย: ประชาชน

กิจกรรมดาราศาสตร์เพื่อชุมชน

        กระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ และเปิดโอกาสให้ประชาชนในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียงเข้าร่วมกิจกรรมดาราศาสตร์ได้มากยิ่งขึ้น และประชาสัมพันธ์หอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมาให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น รูปแบบกิจกรรม จัดกิจกรรมในสถานที่ชุมชนที่มีประชาชนพลุกพล่าน สังเกตุวัตถุท้องฟ้า จัดแสดงภาพถ่ายดาราศาสตร์ที่ถ่ายโดยเจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์และใช้อุปกรณ์ของหอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมา ตอบคำถามดาราศาสตร์อย่างง่ายเพื่อรับของที่ระลึก

nma event people 1 nma event people 3
nma event people 2


ครอบครัวดูดาว

กิจกรรมต้อนรับปิดเทอมสำหรับครอบครัว เปิดโอกาสให้ครอบครัวที่มีสมาชิกตั้งแต่ 3- 5 คนและมีเด็กอายุระหว่าง 5-12 ปี อย่างน้อย 1 คน สมัครเข้าร่วมกิจกรรม รับจำกัดปีละ 15 ครอบครัวหรือไม่เกิน 60  คน รูปแบบกิจกรรม เป็นกิจกรรมฐานดาราศาสตร์สำหรับเด็ก เน้นการเล่นสนุกและความร่วมมือในครอบครัว มีทั้งกิจกรรมภาคกลางวันและดูดาวภาคกลางคืน

nma see star 1 nma see star 2
nma see star 3 nma see star 4


สังเกตปรากฏการณ์ดาราศาสตร์

ในแต่ละปีมีปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เกิดขึ้นมากมาย เพื่อให้ประชาชนได้ชมปรากฏการณ์ผ่านอุปกรณ์ดาราศาสตร์ที่ทันสมัย และได้รับความรู้ที่ถูกต้อง รูปแบบกิจกรรม เปิดกล้องสังเกตปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจและสามารถสังเกตได้ในประเทศไทย  มีการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ รวมถึงการแจกใบความรู้และสื่อของทางสถาบันฯ

nma see star 5 nma see star 6

ปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วน มีนาคม พ.ศ. 2559

nma see star 7 nma see star 8

ปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกสุดในรอบปี พฤษภาคม พ.ศ. 2560

nma see star 9 nma see star 10

ปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ ธันวาคม พ.ศ. 2561

nma see star 11 nma see star 12

ปรากฏการณ์ดาวเสาร์ใกล้โลกสุดในรอบปี กรกฎาคม พ.ศ. 2562


กลุ่มเป้าหมาย : นักดาราศาสตร์สมัครเล่น

อบรมการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์

        เพื่อให้กลุ่มคนที่สนใจการถ่ายภาพดาราศาสตร์ได้รับความรู้ เทคนิควิธี รวมถึงการใช้อุปกรณ์การถ่ายภาพและอุปกรณ์ดาราศาสตร์ที่ใช้ในการถ่ายภาพ รูปแบบกิจกรรม เปิดรับสมัครประชาชนทั่วไปที่สนใจและรักในการถ่ายภาพเข้าร่วมกิจกรรม มีเจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์บรรยายให้ความรู้ ผู้เข้าร่วมอบรมได้ลงมือปฏิบัติ พร้อมรับคำแนะนำการถ่ายภาพและการใช้งานอุปกรณ์จริงที่ใช้สำหรับการถ่ายภาพดาราศาสตร์

nma astro 1
nma astro 2 nma astro 3

การจัดกิจกรรมและให้ความรู้ดาราศาสตร์นอกสถานที่

        จัดนิทรรศการและบรรยายให้ความรู้นอกสถานที่ตามที่หน่วยงานภายนอกหรือสถานศึกษาร้องขอ โดยจะนำอุปกรณ์และเจ้าหน้าที่ของหอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมาออกไปให้บริการนอกสถานที่

nma educate outdoor 1 nma educate outdoor 2

บริการวิชาการ

บริการดูดาวทุกคืนวันเสาร์ กิจกรรม ​NARIT PUBLIC NIGHT

        เปิดกล้องโทรทรรศน์ให้บริการประชาชนทั่วไปที่สนใจในการดูดาว เข้าใช้บริการได้ทุกคืนวันเสาร์ มีเจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ให้ความรู้เกี่ยวกับวัตถุท้องฟ้าและอำนวยความสะดวกในการดูดาว วัตถุท้องฟ้าที่สามารถสังเกตเห็นจะเปลี่ยนไปตามฤดูกาล

nma public 1


ฐานกิจกรรมดาราศาสตร์

        มุ่งเน้นการศึกษาดาราศาสตร์ผ่านการทำกิจกรรมฐานในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เน้นให้ผู้เรียนรู้ คิดวิเคราะห์แก้ปัญหาด้วยตัวเองและฝึกลงมือปฏิบัติจริง

nma public 2


การสร้างกล้องโทรทรรศน์อย่างง่าย

        เรียนรู้การทำงานและส่วนประกอบของกล้องโทรทรรศน์  โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนรู้คือชุดกล้องโทรทรรศน์ที่ทำจากท่อ PVC เป็นส่วนประกอบหลัก และวัสดุอื่น ๆ ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านศึกษาภัณฑ์

nma public 3 nma public 4
nma public 5 nma public 6

การสังเกตดวงอาทิตย์

        เรียนรู้ปรากฏการณ์และการเปลี่ยนแปลงบนดวงอาทิตย์ สังเกตจุดบน เปลวสุริยะบนดวงอาทิตย์ผ่านกล้องสำหรับสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์โอยเฉพาะ และคำนวณความเร็วการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์

nma public 7 nma public 8

การสร้างแบบจำลองระบบสุริยะ

        เรียนรู้ขนาดและระยะทางของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะตามอัตราส่วนที่ถูกต้องทั้งระยะทางและขนาดเทียบจากของจริง

nma public 9


การศึกษาหลุมดวงจันทร์

        คำนวณหาเส้นผ่านศูนย์กลางของหลุมบนดวงจันทร์โดยใช้คณิตศาสตร์พื้นฐาน

nma public 10 nma public 11

ฐานการบรรยายดาราศาสตร์

        การให้ความรู้ดาราศาสตร์เชิงวิชาการ มุ้งเน้นให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาการบรรยายและสามารถนำไปปรับใช้กับตัวผู้เรียนรู้ได้

    • เรียนรู้การดูดาวเบื้องต้น

เรียนรู้กลุ่มดาวต่าง ๆ ผ่านการใช้แผนที่ดาว กลุ่มดาวที่สามารถบอกทิศทาง การวัดมุมดาว กลุ่มดาวเด่นประจำฤดู รวมถึงการใช้แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน

    • เรื่องนอกโลก

ความรู้เรื่องดาราศาสตร์นอกโลกเกี่ยวกับวัตถุอื่น ๆ บนท้องฟ้าที่น่าสนใจ

    • ดาราศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

        เรื่องดาราศาสตร์ใกล้ตัวที่สามารถเห็นหรือใช้ได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การขึ้นตกของดวงอาทิตย์ - ดวงจันทร์ ปฏิทินมาจากไหน?  ทำไมต้องมี 12 เดือน? ฤดูกาล เป็นต้น

nma public 12

ติดต่อ


หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา

cco icon point

ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
111 ถ.มหาวิทยาลัย ต.สุรนารี
อ.เมือง นครราชสีมา 30000


cco icon phone


โทร.(+66) 044-216254
โทรสาร (+66) 044-216255

cco icon facebook @NARITNMA

 

บุคคลากร

โครงสร้างพื้นฐาน

        โครงสร้างหลักของหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา ได้แก่ อาคารนิทรรศการ อาคารหอดูดาวและอาคารสำนักงาน

nma station

อาคารนิทรรศการ : ภายในอาคารมีการจัดแสดง 14 ฐานนิทรรศการดาราศาสตร์แบบมีปฏิสัมพันธ์ มุ่งเน้นการเรียนรู้นิทรรศการผ่านประสบการณ์ของผู้เข้าชมเอง

 nma station event 1
 nma station event 2 nma station event 3


" บริเวณนิทรรศการดาราศาสตร์ 14 ฐานกิจกรรม "

        ตัวอาคารเชื่อมต่อไปยังส่วนฉายดาว ประกอบด้วยนิทรรศการดาราศาสตร์แบบหมุนเวียน ที่จัดแสดงเรื่องดาราศาสตร์ที่ใกล้ตัวและน่าสนใจ ปัจจุบันจัดแสดงเรื่องระบบสุริยะ ภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ฝีมือคนไทย และ 10 เรื่องปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ ด้านในสุดของอาคารคือส่วนฉายดาว ติดตั้งโดมฉายดาว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เมตร พร้อมเครื่องฉายดาวระบบฟูลโดมดิจิทัล ความละเอียดมากกว่า 12 ล้านพิกเซล

nma station event 4 nma station event 5


" ภาพถ่ายภายในห้องฉายดาว "

อาคารหอดูดาว : เป็นอาคาร 2 ชั้น บริเวณด้านหน้าเป็นลานเปิดโล่งใช้สำหรับตั้งกล้องโทรทรรศน์ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้หรือเป็นลานสำหรับรองรับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่มีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก

        ชั้นที่ 2 ของอาคารติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ความละเอียดสูง จำนวน 5  ตัว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 5 นิ้ว ถึง 14 นิ้ว คลุมด้วยหลังคาแบบเลื่อนเปิด - ปิด ด้านข้างเป็นลานโล่ง สำหรับรองรับผู้เข้าชมที่ขึ้นมาสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าด้านบน ความจุประมาณ 200 คน

        อีกด้านหนึ่งของอาคารหอดูดาวเป็นโดมไฟเบอร์กลาสทรงเปลือกหอย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 18 ฟุต สามารถเปิดออกได้ 180 องศา สังเกตท้องฟ้าได้รอบทิศทาง ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน อันดับสามของประเทศ ถือเป็นกล้องโทรทรรศน์คุณภาพสูงทันสมัยที่สุดอีกแห่งในไทยที่ใช้สำหรับบริการประชาชนเป็นหลัก สามารถสังเกตวัตถุท้องฟ้าที่น่าสนใจได้หลากหลาย อาทิ ดาวพฤหัสบดี (ดาวเคราะห์ใหญ่อันดับหนึ่งในระบบสุริยะ) ดาวเสาร์ (ดาวเคราะห์ที่มีวงแหวนใหญ่และสวยงามที่สุดในระบบสุริยะ) กาแล็กซี่แอนโครเมดา (กาแล็กซี่อื่นที่ใกล้กาแล็กซี่ทางช้างเผือกมากที่สุด) เนบิลานายพราน (เนบิวลาสว่างใหญ่) เป็นต้น

nma station event 8
nma station event 6 nma station event 5


" หอดูดาวและกล้องโทรทรรศน์ 0.7 เมตร "

อาคารสำนักงาน : เป็นสถานที่ปฏิบัติงานของบุคลากรภายในหอดูดาวภูมิภาค

กล้องโทรทรรศน์

กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เมตร

เป็นกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ และเป็นกล้องหลักของหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา ติดตั้งบนฐานแบบ German Equatorial สามารถควบคุมการทำงานได้จากคอมพิวเตอร์ และการควบคุม ผ่านระบบโครงข่ายอินเตอร์เน็ท บนตัวกล้องติดตั้ง CCD Camera ความละเอียดสูงขนาด 9.3 ล้านพิกเซล พร้อมฟิลเตอร์สี LRGB และฟิลเตอร์ชนิด narrow band filter เพื่อใช้เก็บข้อมูลงานวิจัย และบันทึกภาพถ่ายของวัตถุท้องฟ้าหรือปรากฏการณ์ทาง ดาราศาสตร์สำคัญ ๆ ได้ มีช่องสำหรับใส่เลนส์ใกล้ตาแยกต่างหาก โดยไม่ต้องถอด CCD Camera ออก ทำให้มีความ สะดวกในการใช้งาน ทั้งการสังเกตด้วยตาเปล่า และการถ่ายภาพผ่าน CCD Camera รองรับการทำงานวิจัย ทั้งระดับเบื้องต้น และระดับสูง

คุณลักษณะเฉพาะ

Optical System Corrected Dall - Kirkham Astrograph Telescope
Aperture 20 inch (0.5 meter)
Focal Length 3.454 meter
Focal Ratio f/6.8
Resolving Power 0.228 arcseconds
Mounting System High Precision German Equatorial Mount with Computer control
More equipment CCD Photometry, CCD Spectrograph, High power eyepieces and more.
   

กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 นิ้ว

หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ฯ นครราชสีมา มีกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 นิ้ว จำนวน 2 ตัว เพื่อใช้บริการ และจัดกิจกรรมทางดาราศาสตร์ ผลิตด้วยเทคโนโลยีทันสมัย มีระบบค้นหา และติดตามการเคลื่อนที่ ของดาวอัตโนมัติ สามารถสั่งงานจากรีโมทควบคุมเพื่อให้กล้องปรับไปยังตำแหน่งดาวที่ต้องการได้ ด้วยระบบรับแสง แบบ Advanced Coma-Free ช่วยให้ภาพคมชัดตั้งแต่กลางภาพถึงขอบภาพ สามารถใช้ในการศึกษา และถ่ายภาพการเกิดพายุบนดาวเสาร์ และดาวพฤหัสบดี ศึกษาหลุมบนดาวอังคาร การเก็บข้อมูลงานวิจัยของวัตถุจำพวก Deep-Sky ได้

คุณลักษณะเฉพาะ

Optical System Advanced Coma-Free Telescope
Aperture 14 inch (0.36 meter)
Focal Length 2.845 meter
Focal Ratio f/8.0
Resolving Power 0.325 arcseconds
Mounting System High Precision German Equatorial Mount
More equipment CCD Photometry, CCD Spectrograph, High power eyepieces and more.

กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง 150 มม.

กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงคุณภาพสูงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 มม. มีระบบรับแสงแบบ Apochromatic ซึ่งให้ภาพที่คมชัด สามารถศึกษารายละเอียดของหลุมบนดวงจันทร์ การเกิดอุปราคาบนดาวพฤหัสบดี รองรับงานวิจัย ในระดับพื้นฐาน สามารถติดตั้ง CCD Camera เพื่อเก็บข้อมูลงานวิจัยได้

คุณลักษณะเฉพาะ

Optical System Triplet Ortho Apochromatic Refractor Telescope
Aperture 6 inch (0.15 meter)
Focal Length 1.100 meter
Focal Ratio f/7.33
Resolving Power 0.76 arcseconds
Mounting System High Precision German Equatorial Mount
More equipment Width Angle and High Resolusion eyepieces for Observer on Plannet and Moon

กล้องสองตาขนาดใหญ่ 125 มม.

กล้องสองตาขนาด 125 มม. เป็นกล้องสองตาขนาดใหญ่ ซึ่งผู้สังเกตจะสามารถเห็นความลึกตื้นของหลุม ดวงจันทร์ได้อย่างชัดเจน สามารถเห็นความเป็นมิติ ลึก-ตื้น สูง-ต่ำ ของหลุมบนดวงจันทร์ได้ และยังสามารถศึกษาวัตถุ ท้องฟ้าจำพวก Deep-Sky อื่น ๆ ได้ ซึ่งมิติภาพที่ได้แตกต่างนี้จากกล้องโทรทรรศน์โดยทั่วไปเนื่องจากภาพที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์นั้นจะดูเรียบแบนเกินไป

คุณลักษณะเฉพาะ

Optical System Achromatic Refractor
Aperture 4.9 inch
Focal Length 760 millimeter
Focal Ratio f/6.08
Resolving Power 0.93 arcseconds
Mounting System German Equatorial Mount
More equipment Width Angle and High Resolusion eyepieces for Observer on Plannet and Moon

กล้องดูดวงอาทิตย์

เป็นกล้องที่ออกแบบสำหรับศึกษาดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ จึงมีความปลอดภัยต่อสายตาของผู้สังเกต โดยหอดูดาวมีกล้องดูดวงอาทิตย์ใน 2 ช่วงคลื่นคือ ช่วงคลื่นไฮโดรเจน-อัลฟา (656.28 นาโนเมตร) และช่วงคลื่น แคลเซียมเคลายน์ (393.4 นาโนเมตร) ซึ่งผู้สังเกตจะเห็นเปลวสุริยะ และพื้นผิวดวงอาทิตย์ได้อย่างชัดเจน เหมาะกับการเฝ้าสังเกต และทำนายการเกิดลมสุริยะ/พายุสุริยะ

คุณลักษณะเฉพาะ

1) กล้องดูดวงอาทิตย์ช่วงความยาวคลื่น H-alpha

Optical System Achromatic Refractor
Aperture 3.5 inch
Focal Length 800 millimeter
Focal Ratio f/8.8
Filter Hydrogen - alpha
Banpass Less than 0.7 Angstroms
More equipment Width Angle and High Resolusion eyepieces for Observe on Sun Prominence, Sunspot, and more
   

2) กล้องดูดวงอาทิตย์ช่วงความยาวคลื่น Cal-K

Optical System Achromatic Refractor
Aperture 2.4 inch
Focal Length 500 millimeter
Focal Ratio f/8.3
Filter Calcium K line
Banpass Less than 2.4 Angstroms
More equipment Width Angle and High Resolusion eyepieces for Observe on Sun Prominence, Sunspot, and more
   
 

กล้องโทรทรรศน์

กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เมตร

เป็นกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ และเป็นกล้องหลักของหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา ติดตั้งบนฐานแบบ German Equatorial สามารถควบคุมการทำงานได้จากคอมพิวเตอร์ และการควบคุม ผ่านระบบโครงข่ายอินเตอร์เน็ท บนตัวกล้องติดตั้ง CCD Camera ความละเอียดสูงขนาด 9.3 ล้านพิกเซล พร้อมฟิลเตอร์สี LRGB และฟิลเตอร์ชนิด narrow band filter เพื่อใช้เก็บข้อมูลงานวิจัย และบันทึกภาพถ่ายของวัตถุท้องฟ้าหรือปรากฏการณ์ทาง ดาราศาสตร์สำคัญ ๆ ได้ มีช่องสำหรับใส่เลนส์ใกล้ตาแยกต่างหาก โดยไม่ต้องถอด CCD Camera ออก ทำให้มีความ สะดวกในการใช้งาน ทั้งการสังเกตด้วยตาเปล่า และการถ่ายภาพผ่าน CCD Camera รองรับการทำงานวิจัย ทั้งระดับเบื้องต้น และระดับสูง

คุณลักษณะเฉพาะ

Optical System Corrected Dall - Kirkham Astrograph Telescope
Aperture 20 inch (0.5 meter)
Focal Length 3.454 meter
Focal Ratio f/6.8
Resolving Power 0.228 arcseconds
Mounting System High Precision German Equatorial Mount with Computer control
More equipment CCD Photometry, CCD Spectrograph, High power eyepieces and more.
   

กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 นิ้ว

หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ฯ นครราชสีมา มีกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 นิ้ว จำนวน 2 ตัว เพื่อใช้บริการ และจัดกิจกรรมทางดาราศาสตร์ ผลิตด้วยเทคโนโลยีทันสมัย มีระบบค้นหา และติดตามการเคลื่อนที่ ของดาวอัตโนมัติ สามารถสั่งงานจากรีโมทควบคุมเพื่อให้กล้องปรับไปยังตำแหน่งดาวที่ต้องการได้ ด้วยระบบรับแสง แบบ Advanced Coma-Free ช่วยให้ภาพคมชัดตั้งแต่กลางภาพถึงขอบภาพ สามารถใช้ในการศึกษา และถ่ายภาพการเกิดพายุบนดาวเสาร์ และดาวพฤหัสบดี ศึกษาหลุมบนดาวอังคาร การเก็บข้อมูลงานวิจัยของวัตถุจำพวก Deep-Sky ได้

คุณลักษณะเฉพาะ

Optical System Advanced Coma-Free Telescope
Aperture 14 inch (0.36 meter)
Focal Length 2.845 meter
Focal Ratio f/8.0
Resolving Power 0.325 arcseconds
Mounting System High Precision German Equatorial Mount
More equipment CCD Photometry, CCD Spectrograph, High power eyepieces and more.

กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง 150 มม.

กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงคุณภาพสูงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 มม. มีระบบรับแสงแบบ Apochromatic ซึ่งให้ภาพที่คมชัด สามารถศึกษารายละเอียดของหลุมบนดวงจันทร์ การเกิดอุปราคาบนดาวพฤหัสบดี รองรับงานวิจัย ในระดับพื้นฐาน สามารถติดตั้ง CCD Camera เพื่อเก็บข้อมูลงานวิจัยได้

คุณลักษณะเฉพาะ

Optical System Triplet Ortho Apochromatic Refractor Telescope
Aperture 6 inch (0.15 meter)
Focal Length 1.100 meter
Focal Ratio f/7.33
Resolving Power 0.76 arcseconds
Mounting System High Precision German Equatorial Mount
More equipment Width Angle and High Resolusion eyepieces for Observer on Plannet and Moon

กล้องสองตาขนาดใหญ่ 125 มม.

กล้องสองตาขนาด 125 มม. เป็นกล้องสองตาขนาดใหญ่ ซึ่งผู้สังเกตจะสามารถเห็นความลึกตื้นของหลุม ดวงจันทร์ได้อย่างชัดเจน สามารถเห็นความเป็นมิติ ลึก-ตื้น สูง-ต่ำ ของหลุมบนดวงจันทร์ได้ และยังสามารถศึกษาวัตถุ ท้องฟ้าจำพวก Deep-Sky อื่น ๆ ได้ ซึ่งมิติภาพที่ได้แตกต่างนี้จากกล้องโทรทรรศน์โดยทั่วไปเนื่องจากภาพที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์นั้นจะดูเรียบแบนเกินไป

คุณลักษณะเฉพาะ

Optical System Achromatic Refractor
Aperture 4.9 inch
Focal Length 760 millimeter
Focal Ratio f/6.08
Resolving Power 0.93 arcseconds
Mounting System German Equatorial Mount
More equipment Width Angle and High Resolusion eyepieces for Observer on Plannet and Moon

กล้องดูดวงอาทิตย์

เป็นกล้องที่ออกแบบสำหรับศึกษาดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ จึงมีความปลอดภัยต่อสายตาของผู้สังเกต โดยหอดูดาวมีกล้องดูดวงอาทิตย์ใน 2 ช่วงคลื่นคือ ช่วงคลื่นไฮโดรเจน-อัลฟา (656.28 นาโนเมตร) และช่วงคลื่น แคลเซียมเคลายน์ (393.4 นาโนเมตร) ซึ่งผู้สังเกตจะเห็นเปลวสุริยะ และพื้นผิวดวงอาทิตย์ได้อย่างชัดเจน เหมาะกับการเฝ้าสังเกต และทำนายการเกิดลมสุริยะ/พายุสุริยะ

คุณลักษณะเฉพาะ

1) กล้องดูดวงอาทิตย์ช่วงความยาวคลื่น H-alpha

Optical System Achromatic Refractor
Aperture 3.5 inch
Focal Length 800 millimeter
Focal Ratio f/8.8
Filter Hydrogen - alpha
Banpass Less than 0.7 Angstroms
More equipment Width Angle and High Resolusion eyepieces for Observe on Sun Prominence, Sunspot, and more
   

2) กล้องดูดวงอาทิตย์ช่วงความยาวคลื่น Cal-K

Optical System Achromatic Refractor
Aperture 2.4 inch
Focal Length 500 millimeter
Focal Ratio f/8.3
Filter Calcium K line
Banpass Less than 2.4 Angstroms
More equipment Width Angle and High Resolusion eyepieces for Observe on Sun Prominence, Sunspot, and more
   
 

หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา

nma home

      หอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมา เป็น 1 ใน 5 แห่งหอดูดาวสำหรับประชาชน แหล่งเรียนรู้ดาราศาสตร์เต็มรูปแบบส่วนภูมิภาคแห่งแรกในประเทศไทยของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้บริการวิชาการด้านดาราศาสตร์แก่ประชาชนในท้องถิ่นและใกล้เคียง สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา และค้นคว้าวิจัยระดับพื้นฐาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวิชาการที่สำคัญของภูมิภาค


ระบบการทำงานภายในหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา

        การให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน เป้าหมายเพื่อให้ความรู้ สร้างความตระหนักและความเข้าใจดาราศาสตร์สู่ประชาชนในส่วนภูมิภาค รูปแบบกิจกรรมมีทั้งการจัดกิจกรรมดูดาวสังเกตวัตถุท้องฟ้า การบรรยายเชิงวิชาการ การจัดกิจกรรมฐานดาราศาสตร์ รวมถึงให้คำปรึกษาและให้บริการอุปกรณ์ในการทำโครงงานหรือการวิจัยทางดาราศาสตร์


วัน เวลา เปิดทำการ
เปิดให้บริการ
วันอังคาร – วันอาทิตย์
08:30 – 16:30 น.


วันเสาร์ที่มีกิจกรรมภาคกลางคืน
เปิดกล้องดูดาวตั้งแต่เวลา
18:00 – 22:00 น.

หยุดทุกวันจันทร์ 

การให้บริการเข้าชมท้องฟ้าจำลอง นิทรรศการดาราศาสตร์และเปิดกล้องดูดาว


รอบการเปิดท้องฟ้าจำลอง

วันอังคาร - วันอาทิตย์

รอบที่ 1 11:00 – 12:00 น.
รอบที่ 2 15:00 – 16:00 น.


รอบพิเศษเฉพาะ
วันเสาร์


รอบ 17:00 – 18:00 น.


   วันเสาร์ที่มีกิจกรรมภาคกลางคืน    

( เปิดกล้องดูดาว )

  เปิดกล้องเวลา 18:00 – 22:00 น.  

 


เปิดรอบจอง เป็นหมู่คณะ สำหรับโรงเรียน

สมาคม ชมรมที่ต้องการเข้าชมแบบเป็นหมู่
คณะสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ในวันและ
เวลาราชการ

รอบเช้า 09:00 – 11:00 น.
รอบบ่าย 13:00 – 15:00 น.
   รอบพิเศษ 18:00 – 21:00 น.   

 

        การให้บริการท้องฟ้าจำลอง มีทั้งรอบฉายภาพยนตร์ดาราศาสตร์และรอบบรรยายสดโดยเจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา รอบบรรยายสดอรรถรสในการรับชมจะแตกต่างกันออกไปตามเอกลักษณ์ ลูกเล่นของเจ้าหน้าที่ผู้บรรยายแต่ละท่าน และถือเป็นจุดดึงดูดความสนใจผู้เข้าชมของที่นี่

nma station event 9  nma station event 10