กรอบวิจัยนี้มีเป้าหมายในการศึกษาวัตถุอวกาศใกล้โลก สภาพอวกาศ ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศโลก ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดผลต่อบรรยากาศชั้นบนของโลกเราที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับสภาพบรรยากาศชั้นล่างที่มนุษย์และสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ในทางกลับกัน ผลการกระทำของมนุษย์และสิ่งมีชิตก็ย่อมส่งผลต่อเปลี่ยนแปลงบรรยากาศชั้นผิวดินที่เชื่อมต่อกับบรรยากาศชั้นบนด้วยเช่นกัน  นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะบรรยากาศของโลกที่ส่งผลต่อการสังเกตทางดาราศาสตร์ในประเทศไทย

กรอบวิจัยนี้เน้นที่จะศึกษาวัตถุใกล้โลกในระยะรัศมีน้อยกว่า 0.05 หน่วยดาราศาสตร์ และอุกกาบาตที่มีขนาดใหญ่กว่า 100 เมตร ที่มีศักยภาพในการทำให้เกิดอันตรายต่อโลกของเรา การเปลี่ยนแปลงสภาพอวกาศ เช่นรังสีคอสมิก ลมสุริยะและพายุสุริยะ ที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ฟองพลาสมา แสงเหนือแสงใต้ในบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์หรือบรรยากาศชั้นบนของโลกเรา รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศชั้นล่างที่เป็นผลกระทบมาจากก๊าซเรือนกระจก มลพิษทางอากาศ อนุภาคฝุ่นละออง สารแขวนลอยในอากาศ รวมถึงกลุ่มเมฆ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางอุตุนิยมวิทยา เช่น ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมมรสุมในเขตร้อน เป็นต้น 

ด้วยรูปแบบและลักษณะการเกิดปรากฏารณ์ต่าง ๆ ล้วนมีความสัมพันธ์และเกิดผลกระทบเชื่อมโยงต่อกันไม่ว่าจะด้วยกระบวนการทางฟิสิกส์ เคมีและชีวภาพ โดยเกี่ยวข้องกับสังคม ชีวิตความเป็นอยู่ การกระทำของมนุษย์ เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมโลก  ในภาพรวมของกรอบแนวคิดนี้เรียกว่า “The Global Electric Circuit (GEC)” ที่เปรียบเสมือนความโยงใยของสิ่งต่าง ๆ บนโลกกับอวกาศที่สัมพันธ์กัน

 

research ks 001

 การศึกษาผลกระทบจากอวกาศที่มีต่อชั้นบรรยากาศ [Credit: NOAA]

 

ทีมวิจัย             

1) Dr. Ronald  Macatangay     

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.     

(ผู้ประสานงาน)     

2) ดร.วนิสา สุรพิพิธ

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

3) ดร.ฐิฏาพร สุภาษี

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.  

 

4) Sherin Hassan Bran

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

5) Sittinut Montiard

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

6) Kotchanipa Chainoy

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.     

 

7) Worapop Thongsame

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

8) Jirasak Noisapung

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

9) Sittiporn Doentaku

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

 

ความร่วมมือ

  1. มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  3. มหาวิทยาลัยพะเยา
  4. University of Cambridge (U.K.)
  5. สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.)
  6. Institute of Earth and Environment, Chinese Academy of Sciences (IEE, CAS)
  7. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  8. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  9. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง
  10. Institute of Atmospheric Physics (IAP), Beijing
  11. National Astronomical and Space Administration, USA
  12. National Center for Atmospheric Research, USA
  13. University of California Irvine, USA