โครงการวิจัย Pulsar Astronomy with TNRT

        กล้องโทรทรรศน์วิทยุเเห่งชาติ ขนาดจานรับสัญญาณ 40 เมตร เป็นกล้องฯ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการทำงานหลายด้าน ลักษณะเด่นของกล้องนี้คือ ช่วงความถี่รับสัญญาณที่กว้างจนถึงช่วงความถี่สูงมากระดับ Ultra High Frequency (UHF) 115 GHz ทำการสังเกตการณ์แบบเป็นจังหวะ (Observingcadence) วิทยาศาสตร์ที่กล้องฯ แบบจานเดียวให้ความสำคัญ คือการศึกษาโดเมนเวลาของวัตถุต่าง ๆ เช่นการศึกษา Dispersion Measure Rotation Measure และ Timing ของพัลซาร์ ฟลักซ์และโพลาไรเซชันของเมเซอร์ เมฆโมเลกุล (Molecular cloud) และการเปลี่ยนแปลงของนิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์ (Active Galactic Nuclei) ภาพด้านล่างแสดงให้เห็นว่า ตำเเหน่งละติจูดที่ใกล้เส้นศูนย์สูตรนำมาซึ่งโอกาสอันดี ในการตามหาวัตถุต่าง ๆ และสามารถทำการสังเกตแบบทั่วท้องฟ้า ที่ทำให้เห็น Galactic Plane ได้ด้วย ตัวอย่างวิทยาศาสตร์ที่กล้องโทรทรรศน์วิทยุสามารถทำการสังเกตการณ์ได้ เมื่อทำงานร่วมกับกล้องฯ ตัวอื่นบนโลกด้วยเทคนิค VLBI (Very Long Baseline Interferometry) เช่น การตามรอยการเปลี่ยนแปลงของบริเวณกำเนิดดาว (Star Forming Region) W49

        พัฒนาการของระบบอาเรย์ถูกคาดการณ์ว่าจะมีการรวมระบบ Thai VLBI Network (TVN) เข้ากับเครือข่าย VLBI เพื่อนบ้าน เช่น East Asian VLBI Network (EAVN) LBA European VLBI Network (EVN) การเลียนแบบการครอบคลุมระบบ UV ด้วย KaVA Array (KVN+VERA) ผลที่ได้คือการเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวของความละเอียด และความหนาเเน่นของ UV ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน

41pulsars fig1 UV