สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผย 17 เมษายน 2564 มีปรากฏการณ์ “ดวงจันทร์บังดาวอังคาร” เวลาประมาณ 20:12-21:28 น. ช่วงเวลาดังกล่าว หากมองจากโลก ดาวอังคารจะค่อย ๆ ลับหายไปหลังดวงจันทร์ และกลับมาปรากฏอีกครั้ง เป็นปรากฏการณ์ที่หาชมได้ยาก เกิดขึ้นไม่บ่อยนักในประเทศไทย สังเกตได้ด้วยตาเปล่า แนะชมผ่านกล้องโทรทรรศน์จะเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น
ข่าวประชาสัมพันธ์
พลิกโฉมประเทศไทย สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ด้านเทคโนโลยีอวกาศ 12 หน่วยงาน ผนึกกำลังจัดตั้ง "ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย"
6 หน่วยงานวิทยาศาสตร์ชั้นนำ จับมือ 6 สถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงนามบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา วิจัย และพัฒนานวัตกรรม เกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศไทย สร้าง “ดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ฝีมือคนไทย” หวังใช้เทคโนโลยีอวกาศ พัฒนาคน พัฒนาชาติ เปลี่ยนประเทศจาก “ผู้ซื้อ” เป็น “ผู้สร้าง” พร้อมดึงเอกชน หนุนสตารท์อัพ ยกระดับอุตสาหกรรมไทย สร้างแรงบันดาลใจให้คนในชาติ
สดร. จับมือ อพวช. เนรมิตนิทรรศการโซนใหม่ในอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร พร้อมเปิดตัวในมหกรรมดาราศาสตร์สุดยิ่งใหญ่แห่งปี 27 มี.ค. นี้
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) ร่วมกับ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แถลงข่าวเปิดตัวนิทรรศการชุดใหม่ “Astronomy Insight” และ “จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. เชียงใหม่” ภายในอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ พร้อมให้บริการตั้งแต่ 27 มีนาคมนี้ และชวนเที่ยวงานมหกรรมดาราศาสตร์ประจำปี 2564 NARIT AstroFest 2021 จัดเต็มหลากหลายกิจกรรมดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ สำหรับทุกเพศทุกวัย ลุ้นรับกล้องโทรทรรศน์และรางวัลพิเศษมากมายภายในงาน พร้อมเตรียมมาตรการคัดกรองและเฝ้าระวัง โควิด 19 เต็มรูปแบบ
ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมค่ายโครงการค่ายดาราศาสตร์สำหรับชมรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน ประจำปี 2564
ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมค่ายโครงการค่ายดาราศาสตร์สำหรับชมรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน (ฉะเชิงเทรา)
สดร. เผยข้อมูลคาดการณ์ค่าฝุ่น PM2.5 ล่วงหน้า จากเทคโนโลยีไลดาร์
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยกราฟแสดงค่าฝุ่น PM2.5 จากเทคโนโลยีไลดาร์ (LiDAR) บ่งชี้ค่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กในแต่ละช่วงเวลา นำข้อมูลมาประยุกต์กับแบบจำลองคุณภาพอากาศ สามารถคาดการณ์อัตราการเกิดฝุ่นล่วงหน้าได้ 3 วัน แม่นยำถึง 80%
สดร. จัดอบรมสร้าง “เครื่องฟอกอากาศ DIY” สู้ PM 2.5
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีดาราศาสตร์ขั้นสูง ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคม จัดฝึกอบรม “ประดิษฐ์เครื่องฟอกอากาศ DIY” สู้ PM 2.5 ควบคุมผ่านมือถือ (Line Bot API) ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2564 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2564 ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ มีผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 50 คน
ประกาศรับสมัครค่ายดาราศาสตร์สำหรับชุมนุมดาราศาสตร์ในโรงเรียน ปีที่ 4
หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ของเยาวชนไทย โดยเฉพาะการทำกิจกรรมประเภทชุมนุมดาราศาสตร์ในโรงเรียนระดับชั้นมัธยม ที่เป็นแหล่งเรียนรู้และช่วยในการเผยแพร่ความรู้ ความสนใจในระดับโรงเรียนและท้องถิ่น จึงได้จัดค่ายดาราศาสตร์สำหรับชุมนุมดาราศาสตร์ในโรงเรียนขึ้น ณ โรงแรมคุ้มไทรงาม แอนด์ รีสอร์ท อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา ระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 2 พฤษภาคม 2564
ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมค่ายโครงการค่ายดาราศาสตร์สำหรับชมรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน (ฉะเชิงเทรา)
ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมค่ายโครงการค่ายดาราศาสตร์สำหรับชมรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน (ฉะเชิงเทรา)
เสียงแห่งความเพียรพยายามของยานเพอร์เซเวียแรนส์ระหว่างการเดินทางสู่ดาวอังคาร
ไมโครโฟน EDL (Entry, Descent, and Landing) บนยานเพอร์เซเวียแรนส์ (Perseverance) ของ NASA ได้บันทึกเสียงของตัวมันเองขณะที่กำลังเดินทางไปยังดาวอังคาร ซึ่งถือว่าเป็นยานสำรวจลำแรกที่บันทึกเสียงการทำงานอันละเอียดอ่อนของอุปกรณ์ภายในตัวยานขณะเดินทางในอวกาศได้ ข้อมูลไฟล์เสียงความยาว 1 นาทีนี้ ถูกรวบรวมไว้เมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา ระหว่างการตรวจสอบระบบกล้องและไมโครโฟนของยาน
ภาพดาวพฤหัสบดีเคียงดาวเสาร์ ใกล้ที่สุดในรอบ 397 ปี หัวค่ำ 21 ธ.ค. 63
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยภาพ “ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวเสาร์ ใกล้กันที่สุดในรอบ 397 ปี” ปรากฏบนท้องฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ หัวค่ำวันที่ 21 ธันวาคม 2563 ตั้งแต่อาทิตย์ตกถึงประมาณ 19:30 น. มองผ่านกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายไม่เกิน 200 เท่า เห็นชัดพร้อมกันทั้งสองดวงและดวงจันทร์บริวาร เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก หลังจากนี้ยังติดตามชมได้จนถึงวันที่ 23 ธันวาคม ก่อนจะห่างออกจากกันเรื่อยๆ และจะกลับมาปรากฏใกล้กันเช่นนี้ในอีก 60 ปีข้างหน้า
21 ธันวาคมนี้ “วันเหมายัน” กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผย 21 ธันวาคม 2563 เป็น “วันเหมายัน”(เห-มา-ยัน) กลางคืนยาวที่สุดในรอบปี ประเทศทางซีกโลกเหนือย่างเข้าสู่ฤดูหนาว และประเทศทางซีกโลกใต้นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน วันดังกล่าวช่วงหัวค่ำยังเกิดปรากฏการสำคัญ “ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวเสาร์” ใกล้ที่สุดในรอบ 397 ปีอีกด้วย