สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นที่จังหวัดต่างๆ ของไทย ครั้งแรกของปี 2563 ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม เริ่มจากใต้สุดของประเทศไทยจากนั้นจะไล่ขึ้นเหนือมาเรื่อยๆ สำหรับกรุงเทพมหานคร ตรงกับวันที่ 26 เมษายน 2563 เวลาประมาณ 12:16 น. หากยืนกลางแดดในวันดังกล่าว เงาของร่างกายจะตกอยู่ใต้เท้าพอดี ไม่เฉียงไปด้านใดด้านหนึ่ง และอาจไม่ใช่วันที่ร้อนที่สุดขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นร่วมด้วย
ข่าวประชาสัมพันธ์
คืน 22 เมษายนนี้ ชวนชม “ฝนดาวตกไลริดส์”
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนชมฝนดาวตกไลริดส์ คืน 22 - รุ่งเช้า 23 เมษายน 2563 เวลา 23:30 น. เป็นต้นไป ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไร้แสงจันทร์รบกวน หากฟ้าใสและอยู่ในบริเวณที่มืดสนิท สามารถสังเกตการณ์ด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ
สดร. ใช้กล้องโทรทรรศน์แห่งชาติ จับภาพขณะ “ดาวหางแอตลาส” แตกตัว
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ใช้กล้องโทรทรรศน์ 2.4 เมตร ของหอดูดาวแห่งชาติ ณ ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ร่วมติดตาม เก็บข้อมูล และบันทึกภาพ “ดาวหางแอตลาส” ขณะนิวเคลียสกำลังแตกตัว ส่งผลให้ความสว่างปรากฏลดลงจนไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า เผยอาจพลาดชมแน่นอนแล้ว
15-16 เมษายนนี้ ชวนตื่นเช้าชม "ดาวเคียงเดือน" รับปีใหม่ไทย
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนชมดาวเคียงเดือน 15 - 16 เมษายน 2563 ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ และ ดาวอังคาร เคียงดวงจันทร์ ปรากฏเรียงกันทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ช่วงเช้ามืด หากฟ้าใสสังเกตได้ด้วยตาเปล่าทั่วไทย
“ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” คืน 8 เมษายน 2563
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยภาพดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี หรือ ซูเปอร์ฟูลมูน คืน 8 เมษายน 2563 สังเกตได้ชัดเจนด้วยตาเปล่า ชาวไทยให้ความสนใจโพสภาพดวงจันทร์ผ่านโซเชียลมีเดียกันอย่างคึกคัก
สดร. เผย 8 เมษายนนี้ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี”
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผย 8 เมษายน ชวนจับตา “ซูเปอร์ฟูลมูน” ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี มีขนาดใหญ่และสว่างกว่าปกติเล็กน้อย
ภาพล่าสุด "ดาวหาง C/2019 Y4 (ATLAS)" เพิ่มความสว่างมากขึ้นลุ้นชมด้วยตาเปล่าเมษายนนี้
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เผยภาพ “ดาวหาง C/2019 Y4 (ATLAS)” (ซีสองศูนย์หนึ่งเก้าวายสี่ แอตลาส) สว่างเพิ่มมากขึ้น ลุ้นชมด้วยตาเปล่าในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้
สดร. ชวนชม “ดาวศุกร์เคียงกระจุกดาวลูกไก่” หัวค่ำ 3 - 4 เมษายนนี้ ใกล้สุดในรอบ 8 ปี
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ชวนชม “ดาวศุกร์สว่างสุกใสเคียงกระจุกดาวลูกไก่” ปรากฏใกล้กันที่สุดในรอบ 8 ปี ช่วงวันที่ 3 - 4 เมษายน 2563 สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
สดร. ชวนจับตา "ดาวหาง C/2019 Y4 (ATLAS)" อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในเดือน เม.ย. นี้
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ชวนจับตา “ดาวหาง C/2019 Y4 (ATLAS)” (ซีสองศูนย์หนึ่งเก้าวายสี่ แอตลาส) อาจสว่างจนมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในเดือนเมษายน 2563
สดร. ชวนชมดาวเคียงเดือน พร้อมดาวเคราะห์ชุมนุม เช้ามืด 18 - 20 มี.ค. นี้
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ชวนชม “ดาวเคียงเดือน” และ “ดาวเคราะห์ชุมนุม” วันที่ 18 - 20 มี.ค. 63 ช่วงเช้ามืดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทุกพื้นที่ทั่วประเทศหากท้องฟ้าใสเคลียร์
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการประชุมกาแล็กซี ฟอรัม เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2020 ประเทศไทย
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดการประชุมกาแล็กซี ฟอรัม เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2020 ประเทศไทย (Galaxy Forum Southeast Asia 2020) จัดโดยศูนย์ฝึกอบรมดาราศาสตร์นานาชาติภายใต้ยูเนสโก ดำเนินงานภายใต้สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสมาคมหอสังเกตการณ์ ดวงจันทร์นานาชาติ สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 3 มีนาคม 2563 ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร จังหวัดเชียงใหม่
สดร. เดินหน้าวิจัยคุณภาพอากาศ หาเหตุต้นตอฝุ่นพิษ PM 2.5 พร้อมจัดตั้งภาคีความร่วมมือวิจัยวิทยาศาสตร์บรรยากาศแห่งประเทศไทย สนองนโยบายรัฐ หวังแก้ปัญหาได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยกลุ่มวิจัยวิทยาศาสตร์บรรยากาศ นำ “แบบจำลองพยากรณ์คุณภาพอากาศ” และ “ไลดาร์” เครื่องมือวิจัยและอุปกรณ์เก็บข้อมูลการสังเกตการณ์ชั้นบรรยากาศ วิเคราะห์สาเหตุมลพิษทางอากาศในไทย พร้อมเดินหน้าจัดตั้งภาคีความร่วมมือวิจัยวิทยาศาสตร์บรรยากาศแห่งประเทศไทย ระดมคณาจารย์ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญจาก 8 หน่วยงานภาครัฐ 20 มหาวิทยาลัย ร่วมวิจัยวิทยาศาสตร์บรรยากาศและคุณภาพอากาศของไทย โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) หวังตอบโจทย์การแก้ปัญหาเร่งด่วนของรัฐบาลได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ