(ข้อมูลต้นฉบับจาก http://www.thaiphysoc.org/article/293/)
รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ปี ค.ศ. 2020 ครึ่งหนึ่งเป็นของโรเจอร์ เพนโรส (Roger Penrose) สำหรับการทำนายการเกิดขึ้นของหลุมดำโดยใช้ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป และอีกครึ่งหนึ่งเป็นของ ไรน์ฮาร์ด เกนเซล (Reinhard Genzel) และ แอนเดรีย เกซ (Andrea Ghez) สำหรับการศึกษาและติดตามการโคจรของดาว S2 รอบใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราเพื่อพิสูจน์ว่า วัตถุที่ใจกลางกาแล็กซีนั้นมีมวลมหาศาลอยู่ภายในบริเวณเล็กๆ ซึ่งจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากหลุมดำมวลยิ่งยวด (supermassive black hole)
รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ 2020
การศึกษาชั้นบรรยากาศของโลกยุคโบราณ อาจช่วยให้ค้นหาเบาะแสของสิ่งมีชีวิตนอกโลก
ย้อนกลับไปเมื่อ 3,000 ล้านปีก่อน หากมีมนุษย์ต่างดาวที่อยู่ไกลโพ้นหันกล้องโทรทรรศน์มาศึกษา “โลก” จะพบว่าโลกเป็นเพียงดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงหนึ่ง ที่อาจจะไม่เอื้อให้เกิดสิ่งมีชีวิต ดังนั้น หากเราสามารถอธิบายได้ว่าในอดีตโลกมีสภาพแวดล้อมอย่างไร และวิวัฒนาการให้เกิดสภาพแวดล้อมปัจจุบันนี้ได้อย่างไร อาจกลายเป็นแนวทางใหม่ในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่มีสภาพเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิต
| |“ดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์” อาจไม่ได้เงียบสงบเหมือนดวงอาทิตย์เสมอไป
ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ในระบบสุริยะที่เราอาศัยอยู่ ปัจจุบันพื้นผิวดวงอาทิตย์ค่อนข้างเงียบสงบเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ดวงอื่น แม้ว่าจะเกิดจุดบนดวงอาทิตย์ (Sunspots) ที่บรรยากาศชั้นโฟโตสเฟียร์ ซึ่งจุดบนดวงอาทิตย์คือบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณโดยรอบเป็นบริเวณที่เส้นสนามแม่เหล็กพุ่งตัดพื้นผิวดวงอาทิตย์และขวางการพาความร้อนจากภายในดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดเป็นพื้นที่ที่ความเข้มแสงต่ำกว่าบริเวณรอบข้าง และการลุกจ้า (Solar Flare) คือการระเบิดขนาดใหญ่ในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์เป็นครั้งคราว แต่พลังงานที่ปลดปล่อยออกมามีเพียงแค่ 0.3 เปอร์เซ็นของอัตราพลังงานทั้งหมดที่ดวงอาทิตย์แผ่ออกมา
| |“ดาวแคระขาว” แหล่งผลิตคาร์บอนขนาดใหญ่ในเอกภพ
การติดตามต้นกำเนิดของธาตุและองค์ประกอบต่าง ๆ ในกาแล็กซีทางช้างเผือกเป็นเรื่องที่ท้าทาย อย่างที่นักดาราศาสตร์เคยทราบกันว่าปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ใจกลางดาวฤกษ์ผลิตธาตุหนักจากการหลอมไฮโดรเจน สร้างธาตุวัตถุดิบที่จำเป็นต่อการสร้างดาวเคราะห์ มหาสมุทร หรือแม้กระทั่งสิ่งมีชีวิต ล่าสุดมีการวิจัยใหม่เผยว่าดาวแคระขาวอาจจะเป็นแหล่งผลิตธาตุคาร์บอนซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของสิ่งมีชีวิต
| |ดาวหางนีโอไวส์ ยังคงเฝ้าติดตามได้ต่อไป ด้วยกล้องส่องทางไกลหรือกล้องสองตา ในช่วงเดือนสิงหาคม
สำหรับช่วงนี้ถึงแม้ดาวหางนีโอไวส์ C/2020 F3 (NEOWISE) จะผ่านช่วงที่โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 และเข้าใกล้โลกที่สุดวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 ไปแล้ว แต่สำหรับประเทศไทยในเดือนสิงหาคม ก็ยังคงสามารถเฝ้าติดตามสังเกตดาวหางผ่านกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ได้
| |สหรัฐฯ ปล่อยยานในภารกิจ Mars2020 ขึ้นสู่อวกาศสำเร็จแล้ว
สหรัฐฯ เป็นประเทศที่ 3 ที่ปล่อยยานสำรวจดาวอังคารขึ้นสู่อวกาศสำเร็จ โดยยานของสหรัฐฯ ครั้งนี้ประกอบด้วยรถสำรวจเพอร์เซเวียแรนส์ และเฮลิคอปเตอร์หุ่นยนต์อินเจนูอิตี
| |“คำถามสู่สรวงสวรรค์” จากจีนขึ้นสู่อวกาศเพื่อมุ่งสู่ดาวอังคารแล้ว
ประเทศจีนได้ส่งยานสำรวจดาวอังคาร ที่มีทั้งยานโคจรรอบตัวดาว ยานลงจอดพร้อมรถสำรวจ ขึ้นสู่อวกาศแล้ว
| |นักวิจัย สดร. ร่วมทีมไขปริศนาต้นกำเนิดดาวฤกษ์มวลมาก ด้วยเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุแทรกสอดระยะไกล KaVA
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) ร่วมกับเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุแทรกสอดระยะไกล KaVA ของประเทศเกาหลีและประเทศญี่ปุ่น เฝ้าสังเกตการณ์ลำแก๊สพวยพุ่งจากบริเวณเกิดกระจุกดาวมวลมาก G25.82-0.17 พบว่าการกำเนิดของดาวฤกษ์มวลมากเกิดใหม่ในบริเวณดังกล่าวมีลักษณะเดียวกับดาวฤกษ์มวลน้อยคล้ายดวงอาทิตย์ งานวิจัยดังกล่าว ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Astrophysical Journal ฉบับที่ 896 เลขที่ 127 ในวันที่ 20 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา นับเป็นก้าวแรกในความร่วมมือระหว่าง สดร. กับเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุแทรกสอดระยะไกลภูมิภาคเอเชียตะวันออก (East Asian VLBI Network : EAVN) ซึ่งกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เมตรของไทยจะเข้าร่วมเครือข่ายในอนาคตอันใกล้
| |ดาวฤกษ์ “S2” เป็นไปตามคำทำนายของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์
นักดาราศาสตร์เปรียบเทียบวงโคจรของดาวฤกษ์ S2 ที่โคจรอยู่ใกล้หลุมดำมวลยวดยิ่ง “ซาจิทาเรียส เอ สตาร์ (Sagittarius A*)” จากการสังเกตการณ์จริง กับการทำนายด้วยทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป พบผลลัพธ์ที่ได้ตรงกันอย่างแม่นยำ
| |ความหวังสู่ดาวอังคารของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ขึ้นสู่อวกาศสำเร็จแล้ว
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ปล่อยยานอวกาศโฮปขึ้นสู่อวกาศจากฐานปล่อยจรวดในญี่ปุ่นได้เป็นผลสำเร็จ
ภายใต้ภารกิจเอมิเรตมิชชั่นทูมาร์ส ความพยายามครั้งแรกของชาติในภูมิภาคตะวันออกกลางที่จะมียานเดินทางระหว่างดาวเคราะห์ และกำลังมุ่งหน้าสู่ดาวอังคารในอีก 7 เดือนข้างหน้า
| |นาซาตรวจวัดลมรอบดาวแคระน้ำตาลเป็นครั้งแรก
ดาวแคระน้ำตาล (Brown Dwarf) เป็นดาวที่มีขนาดและมวลใหญ่กว่าดาวพฤหัสบดีแต่ไม่มากพอที่จะเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันที่ใจกลางดาว จึงเป็นวัตถุที่ก้ำกึ่งระหว่างดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ การศึกษาครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์ใช้เทคนิคใหม่เพื่อวัดอัตราเร็วลมในชั้นบรรยากาศของดาวแคระน้ำตาล อาจช่วยให้นักดาราศาสตร์ไขปริศนาเกี่ยวกับบรรยากาศของดาวเคราะห์แก๊สขนาดใหญ่นอกระบบสุริยะและดาวแคระน้ำตาลดวงอื่นได้
| |นักวิทยาศาสตร์นำข้อมูลภาพถ่ายจากยานกาลิเลโอมาประมวลผลใหม่ เพื่อรวบรวมข้อมูลให้กับยานยูโรปาคลิปเปอร์ในอนาคต
ยูโรปา (Europa) เป็นหนึ่งในดวงจันทร์ใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัสบดีค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี พื้นผิวดวงจันทร์ยูโรปามีลักษณะภูมิประเทศหลายรูปแบบทั้งสันเขา ที่ราบ และรอยแยก กระจัดกระจายอยู่ทั่วทั้งพื้นผิวดาว โดยภาพถ่ายทั้งสามที่แสดงในรูปด้านบนเป็นภาพถ่ายพื้นที่ที่อยู่ในลองจิจูดเดียวกัน ถ่ายโดยยานกาลิเลโอขององค์การนาซาเมื่อปี พ.ศ. 2541 แม้ว่าข้อมูลจะมีอายุมากกว่า 20 ปี ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์นำข้อมูลกลับมาประมวลผลใหม่อีกครั้ง ทำให้เห็นรายละเอียดของพื้นผิวดวงจันทร์ยูโรปามากยิ่งขึ้น
| |