ดาวเทียมเทสส์มีกล้องทั้งหมด 4 ตัว และอุปกรณ์ถ่ายภาพ CCD ทั้งหมด 16 ตัว ในปีแรกนี้ CCD แต่ละตัวบันทึกภาพไปแล้วทั้งหมด 15,347 ภาพ ใช้เวลาเปิดหน้ากล้องภาพละ 30 นาที แบ่งศึกษาท้องฟ้าเป็น 13 ส่วน แต่ละส่วนใช้เวลาถ่ายภาพรวมประมาณ 1 เดือน
| |นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานว่าดาวศุกร์อาจมีภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่
ภาพ “ภูเขาไฟไอดันน์ (Idunn Mons)” บนพื้นผิวดาวศุกร์ ถ่ายโดยกล้องสเปกโทรมิเตอร์ถ่ายภาพความร้อนในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นและอินฟราเรด (VIRTIS) จากยานอวกาศวีนัสเอกซ์เพรส (Venus Express) ขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) พื้นที่สีส้มแดงแสดงให้เห็นหลักฐานว่าอาจมีภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นและพร้อมที่จะระเบิดได้ตลอดเวลา
| |ครั้งแรกในประวัติศาสตร์กับการศึกษา “พัลซาร์” ที่แม่นยำมากที่สุด
การศึกษา “พัลซาร์” ที่แม่นยำมากที่สุดครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 12 ธันวาคม 2562 นาซาเผยผลงานวิจัยล่าสุด สามารถวัดขนาดและมวลของ “พัลซาร์” ได้แม่นยำที่สุด และระบุ “จุดร้อน” ที่เกิดขึ้นบนผิวดาวได้เป็นครั้งแรก อาจเปลี่ยนความเข้าใจที่มีต่อหนึ่งในวัตถุที่ลึกลับที่สุดในเอกภพนี้อย่างสิ้นเชิง
| |พบซากยาน “วิกรม” ของอินเดียบนดวงจันทร์แล้ว
3 ธันวาคม 2562 นาซาเผยแพร่ภาพถ่ายจากยาน “ลูนาร์ รีคอนเนสเซนส์” พบร่องรอยการพุ่งชนของยานวิกรมบนผิวดวงจันทร์ เศษชิ้นส่วนกระจัดกระจายออกไปหลายกิโลเมตร
| |เมื่อนักถ่ายภาพจากทุกมุมโลกมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การผลิตภาพถ่ายทางดาราศาสตร์
ภาพถ่ายดาราศาสตร์ ทุก ๆ ประเภท ที่เผยแพร่อยู่ในโซเชียลเน็ตเวิร์ค เอกสารวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นฝีมือของนักดาราศาสตร์ นักถ่ายภาพดาราศาสตร์มืออาชีพหรือนักดาราศาสตร์สมัครเล่น ถ้าเรามองมันและพิจารณาอย่างลึกซึ้ง เราจะสามารถรับรู้ได้ว่า ภาพเหล่านั้นจะต้องใช้ความวิริยะ อุตสาหะ
| |ดาวเทียมเทสส์อาจช่วยให้เราพบดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบสุริยะ!
นี่คือภาพจินตนาการของดาวเคราะห์ปริศนาพร้อมวงโคจรของดาวเนปจูนรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งนักดาราศาสตร์คาดว่าดาวเทียมสำรวจดาวเคราะห์นอกระบบ (Transiting Exoplanet Survey Satellite : TESS) อาจมีข้อมูลเกี่ยวกับดาวเคราะห์ปริศนาที่ “อาจจะ”เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบสุริยะ
| |แสงเหนือที่นอร์เวย์
ริ้วแสงสีเขียวที่พาดผ่านท้องฟ้าเป็นรูปครึ่งวงกลม ไล่ระดับลงมาเป็นชั้น ๆ สลับซับซ้อน เหนือหมู่เกาะโลฟอเทน (Lofoten) ประเทศนอร์เวย์ กลางดึกของคืนวันที่ 9 มีนาคม 2561 คือภาพแสงเหนือขนาดยักษ์ เกิดจากอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าของลมสุริยะเข้ามากระทบกับชั้นบรรยากาศใกล้ขั้วสนามแม่เหล็กโลก อะตอมดูดซับพลังงานและเรืองแสงออกมา เรียกว่า “แสงออโรรา”
| |พบโมเลกุลน้ำตาล “ไรโบส” ในอุกกาบาตเป็นครั้งแรก อาจเป็นต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตบนโลก
รองศาสตราจารย์ โยชิฮิโระ ฟุรุคาวะ นำทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโทโฮกุ ในประเทศญี่ปุ่น ศึกษาอุกกาบาต “NWA 801” และอุกกาบาต “เมอร์ชิสัน (Murchison)” พบโมเลกุลของน้ำตาล “ไรโบส (Ribose)” ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของ “RNA” ช่วยสนับสนุนสมมติฐานว่า โมเลกุลพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตสามารถเกิดขึ้นได้บนดาวเคราะห์น้อย ตีพิมพ์ลงในวารสาร “National Academy of Sciences” เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562
| |“แอร์โรคอท” ชื่ออย่างเป็นทางการของวัตถุที่อยู่ไกลที่สุดในระบบสุริยะ
2014 MU69 วัตถุในแถบไคเปอร์ที่ไกลที่สุดในระบบสุริยะที่ยานอวกาศนิวฮอไรซันส์เดินทางไปสำรวจ ขณะนี้ได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการแล้วว่า “แอร์โรคอท” (Arrokoth) เป็นภาษาอัลกอนควิน ของอเมริกันพื้นเมืองที่มีความหมายว่า “ท้องฟ้า”
| |ฟองอากาศในห้วงอวกาศจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์
ข้อมูลภาพถ่ายช่วงคลื่นอินฟราเรดจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ เผยภาพกลุ่มแก๊สและเมฆฝุ่นที่ได้รับผลกระทบจากกระแสลมและการแผ่รังสีจากดาวฤกษ์มวลมากอายุน้อย เกิดเป็นพื้นที่ลักษณะคล้าย “ฟองอากาศ”
| |แผนการส่งยานสำรวจลำต่อไปสู่ดวงจันทร์และดาวศุกร์ของแดนภารตะ
หลังจากที่การปล่อยยานลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์ในโครงการจันทรยาน 2 ของอินเดียล้มเหลวเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา อินเดียยังคงพยายามส่งยานลงจอดบนดวงจันทร์ลำต่อไปให้สำเร็จ
| |พบจารึกออโรราแดง! คาดเป็นหลักฐานเกี่ยวกับออโรราที่เก่าที่สุดในโลก
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบโบราณวัตถุที่อาจเป็นบันทึกเกี่ยวกับออโรรา (แสงเหนือ-แสงใต้) ที่เก่าแก่ที่สุด ในรูปของแผ่นจารึกอักษรรูปลิ่ม บริเวณภูมิภาคตะวันออกกลาง
| |