ภาพดวงดาวระยิบระยับสวยงามตระการตา จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) เป็นความสวยงามที่ซ่อนอยู่ในห้วงอวกาศอันมืดมิด ดาวฤกษ์เหล่านี้รวมตัวกันอย่างหนาแน่นและส่องสว่างมานานหลายพันล้านปี

as20210318 3 01

 

          M 107 (Messier 107) หรือ NGC 6171 เป็นกระจุกดาวทรงกลม (Globular Cluster) ประกอบด้วยดาวฤกษ์นับแสนดวง ห่างจากระบบสุริยะประมาณ 20,000 ปีแสง ในกลุ่มดาวคนแบกงู (Ophiuchus) มีค่าอันดับความสว่างปรากฏประมาณ 7.9 มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 65 ปีแสง แม้จะมีขนาดปรากฏบนท้องฟ้าใหญ่ถึง 0.22 องศา (ประมาณ 1 ใน 3 ของดวงจันทร์เต็มดวง) แต่ก็ไม่สว่างพอที่จะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สามารถสังเกตได้ผ่านกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก  นับเป็นหนึ่งในกระจุกดาวที่เก่าแก่ที่สุดในกาแล็กซีทางช้างเผือก

          M107 ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2325 โดย ปีแอร์  เมอร์เชน (Pierre Mechain) นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ต่อมา เฮเลน ซอว์เยอร์ ฮ็อก (Helen Sawyer Hogg) นักดาราศาสตร์ชาวแคนาดา ได้เพิ่ม M107 ในแคตตาล็อกดาราศาสตร์ของ ชาร์ล เมซีเย  (Charles Messie) โดยอาศัยหลักฐานของ ปีแอร์ เมอร์เชน (Pierre Mechain) ในปี พ.ศ. 2490

 

เรียบเรียง : น.ส.กัญณภัทร  สุดสวาสดิ์ - นักศึกษาฝึกงาน หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา

 

อ้างอิง : https://www.nasa.gov/image-feature/starry-starry-night

 

| Category: ข่าวดาราศาสตร์ | Hits: 2103