ข่าวประชาสัมพันธ์

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยคนไทยมีลุ้นชมดาวหางนีโอไวส์ ประมาณวันที่ 18-23 กรกฎาคม 2563 เนื่องจากโคจรออกห่างดวงอาทิตย์มากขึ้นและกำลังเข้าใกล้โลก  อีกทั้งยังสว่างมากพอที่จะสังเกตได้ด้วยตาเปล่า ปรากฏในช่วงค่ำ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกถึงประมาณสามทุ่ม หากฟ้าใสไร้เมฆ ลุ้นชมด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคทั่วไทย

 

pr20200720 2 01

pr20200720 2 02

 

นายศุภฤกษ์  คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาดาวหางนีโอไวส์ หรือ C/2020 F3 (NEOWISE) ได้รับความสนใจจากนักดาราศาสตร์และผู้คนบนโลก เนื่องจากปรากฏสว่างเหนือน่านฟ้าหลายประเทศ ต่างพากันติดตามและบันทึกภาพดาวหางดังกล่าวเผยแพร่ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก 

ดาวหางนีโอไวส์ หรือ C/2020 F3 (NEOWISE) เป็นดาวหางคาบยาว จากข้อมูลล่าสุดพบว่าโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบใช้เวลาประมาณ 6,767  ปี ค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศไวส์ (Wide-field Infrared Survey Explorer : WISE) ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์ในช่วงคลื่นอินฟราเรด ในโครงการสำรวจประชากรดาวเคราะห์น้อยและวัตถุใกล้โลก ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563 เคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ที่ระยะห่าง 43 ล้านกิโลเมตร และจะเคลื่อนที่เข้าใกล้โลกที่สุด ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 ที่ระยะห่าง 103 ล้านกิโลเมตร

 

pr20200720 2 03

pr20200720 2 04

 

นายศุภฤกษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับประเทศไทย ในช่วงครึ่งแรกของเดือนกรกฎาคม 2563 ดาวหางนีโอไวส์ จะปรากฏในช่วงรุ่งเช้า ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ตำแหน่งใกล้ขอบฟ้ามาก และยังเพิ่งโคจรผ่านจุดที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด จึงถูกแสงอาทิตย์กลบ สังเกตได้ค่อนข้างยาก แต่ในช่วงครึ่งหลัง ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป จะดาวหางนีโอไวส์จะเปลี่ยนมาปรากฏในช่วงหัวค่ำ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และความสว่างจะลดลงเรื่อยๆ แต่ยังคงสว่างในระดับที่ยังสามารถสังเกตการณ์ได้ด้วยตาเปล่า จึงเป็นโอกาสดีที่คนไทยจะได้ยลโฉมและบันทึกภาพความสวยงามของดาวหางดวงนี้

ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการสังเกตการณ์ดาวหางนีโอไวส์ที่ดีสุด คือช่วงวันที่ 18-22 กรกฎาคม 2563 เนื่องจากดาวหางเคลื่อนที่ห่างจากดวงอาทิตย์พอสมควรแล้ว และคาดว่าจะมีค่าอันดับความสว่างปรากฏประมาณ 5 แม้เป็นช่วงแสงสนธยาก็มีโอกาสที่จะมองเห็นดาวหางดวงนี้ได้ด้วยตาเปล่า หากท้องฟ้าบริเวณขอบฟ้าใสเคลียร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ 21 กรกฎาคม เป็นคืนเดือนมืดไร้แสงจันทร์รบกวน เป็นโอกาสเหมาะที่จะเฝ้าสังเกตการณ์ดาวหางนีโอไวส์ด้วยตาเปล่า ส่วนวันที่ 23 กรกฎาคม แม้เป็นช่วงที่ดาวหางเข้าใกล้โลกที่สุด แต่จากข้อมูลพบว่าดาวหางจะมีค่าค่าความสว่างลดลง รวมทั้งในคืนดังกล่าวตรงกับคืนดวงจันทร์ขึ้น 2 ค่ำ อาจมีแสงจันทร์รบกวนเล็กน้อย ทั้งนี้ ประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูฝนที่มีเมฆมาก บริเวณใกล้ขอบฟ้ามีเมฆปกคลุมค่อนข้างหนา จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการสังเกตการณ์ดาวหางดังกล่าว  และหลังจากนั้นความสว่างจะลดลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถสังเกตเห็นได้  นายศุภฤกษ์กล่าว

 

pr20200720 2 05

 

ตามที่นักดาราศาสตร์ได้คำนวณค่าอันดับความสว่างปรากฏของดาวหางนีโอไวส์ ขณะนี้ได้ผ่านช่วงสว่างมากที่สุดไปแล้ว  แต่จากการสังเกตการณ์จริงพบว่าความสว่างไม่ได้ลดลงดังเช่นที่คำนวณไว้  จึงส่งผลดีต่อผู้สังเกตบนโลกที่จะยังคงมองเห็นดาวหางปรากฏสว่าง นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 13 กรกฏาคม 2563 ที่ผ่านมา Planetary Science Institute's Input/Oput facility  ยังพบว่า ดาวหางนีโอไวส์ปรากฏหางฝุ่นและหางไอออนแยกออกจากกันอย่างชัดเจน  สำหรับหางไอออนนั้นพบว่าเป็นหางโซเดียม จะสามารถสังเกตเห็นเฉพาะดาวหางที่สว่างมากๆ เท่านั้น ดังเช่น ดาวหางเฮล-บอปป์ (Hale–Bopp) และ ดาวหางไอซอน (ISON) และจากการศึกษาในย่านรังสีอินฟราเรดพบว่านิวเคลียสของดาวหาง มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 กิโลเมตร มีขนาดใกล้เคียงกับดาวหางสว่างในอดีตอย่าง ดาวหางเฮียกูตาเกะ (Hyakutake) และดาวหางคาบสั้นอื่นๆ อีกหลายดวง 

สำหรับชาวไทยที่สนใจชมและถ่ายภาพดาวหางดวงนี้ สามารถติดตามได้ในช่วงวันและเวลาดังกล่าว นอกจากนี้ วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม 2563 ยังเป็นวันที่ดาวเสาร์โคจรมาใกล้โลกที่สุดในรอบปี สดร. จัดกิจกรรมสังเกตการณ์วงแหวนดาวเสาร์ในคืนใกล้โลกที่สุดในรอบปี 4 จุดสังเกตการณ์ ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ หอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และสงขลาตั้งแต่เวลา 18.00-22.00 น. จึงเป็นโอกาสดีที่จะได้ร่วมลุ้นชมดาวหางนีโอไวส์ ในวันดังกล่าวด้วย ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.facebook.com/NARITPage นายศุภฤกษ์ กล่าวปิดท้าย

 

 

งานประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

โทร. 053-121268-9 ต่อ 210-211 , 081-8854353 โทรสาร 053-121250

E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.    Website : www.narit.or.th

Facebook : www.facebook.com/NARITpage

Twitter : @NARIT_Thailand,  Instagram : @narit_thailand

Call Center กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทร. 1313

 

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผย 21 กรกฎาคม 2563 "ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี”  ปรากฏสว่างทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ นานตลอดคืนถึงรุ่งเช้า หากฟ้าใสไร้ฝนสังเกตได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคทั่วไทย เตรียมตั้งกล้องโทรทรรศน์ ส่องวงแหวนของดาวเสาร์ ณ 4 จุดสังเกตการณ์หลักที่ เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และสงขลา ตั้งแต่เวลา 18.00-22.00 น. เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย

Read more ...

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  จัดสังเกตการณ์ “ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี” คืน 14 กรกฎาคม 2563 ณ จุดสังเกตการณ์หลัก 4 แห่ง  เชียงใหม่ โคราช ฉะเชิงเทรา สงขลา ในรูปแบบ New Normal เผยเชียงใหม่ฟ้าใสเห็นดาวพฤหัสบดีส่องสว่างตั้งแต่หัวค่ำ พร้อมวัตถุท้องฟ้าอีกหลายชนิด หากพลาดครั้งนี้ เตรียมพร้อมรอชมดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี  21 กรกฎาคม 2563

Read more ...

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนชม ดาวศุกร์สว่างที่สุดครั้งสุดท้ายในรอบปี เช้ามืด 8 กรกฎาคม 2563 ปรากฏสว่างสวยงามทางทิศตะวันออก หากฟ้าสดใสไร้เมฆฝน สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทั่วประเทศ

Read more ...

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เชิญชวนผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ ประจำปี 2563 หัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ชิงโล่เกียรติยศ พร้อมเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 160,000 บาท หวังให้คนไทยสนใจดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ผ่านกิจกรรมถ่ายภาพ

Read more ...

narit logo s

เงื่อนไขในการส่งภาพเข้าร่วมการประกวด

ภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ ประจำปี 2563 หัวข้อมหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์

1.ผู้มีสิทธิ์ส่งภาพเข้าประกวด

          เยาวชน และประชาชนทั่วไปไม่จำกัดเพศและอายุ

 

2.เงื่อนไขประเภทภาพถ่าย

2.1  ประเภท Deep Sky Objects เช่น กาแล็กซี, เนบิวลาและกระจุกดาว

2.2 ประเภทปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ เช่น ปรากฏการณ์สุริยุปราคา จันทรุปราคา ฝนดาวตก การบังกันของวัตถุในระบบสุริยะ การเกิดคอนจังชันของวัตถุในระบบสุริยะแต่ไม่รวมถึงปรากฏการณ์การขึ้น - ตกของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ การเกิดเฟสของดวงจันทร์ เป็นต้น ทั้งนี้ต้องไม่รวมถึงปรากฏการณ์ทางอุตุนิยมวิทยา เช่น ฟ้าฝ่า เมฆสี หรือการเกิดรุ้ง (หมายเหตุ : สามารถส่งภาพปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ถ่ายจากต่างประเทศได้)

2.3  ประเภทวัตถุในระบบสุริยะ เช่น ดาวเคราะห์ ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์

2.4 ประเภทวิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์ เช่น ภาพถ่ายที่ประกอบด้วยวัตถุบนพื้นโลกกับวัตถุบนท้องฟ้าที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ แต่ไม่รวมถึงปรากฏการณ์ทางอุตุนิยมวิทยา เช่น ฟ้าฝ่า เมฆสี หรือการเกิดรุ้ง

2.5 ประเภทปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก เช่น ปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ ฟ้าผ่า การเกิดรุ้งกินน้ำ ดวงอาทิตย์ทรงกลด หรือดวงจันทร์ทรงกลด

 

3.กติกาการส่งภาพถ่ายเข้าร่วมการประกวด

3.1  ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดเป็นไฟล์ภาพดิจิตอลความละเอียดสูง โดยสามารถส่งภาพถ่ายที่เก็บไว้ในอดีตเข้าประกวดได้

3.2   สามารถส่งภาพได้ไม่จำกัดจำนวน ไม่จำกัดประเภท โดยมีสิทธิ์ได้รับเฉพาะรางวัลสูงสุดของแต่ละประเภทเท่านั้น

3.3  ผู้ส่งภาพเข้าประกวดจะต้องระบุ ชื่อ - นามสกุลจริง (ไทย - อังกฤษ) ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์อย่างครบถ้วนในแบบฟอร์มที่กำหนดให้

3.4  ผู้ที่ส่งภาพเข้าประกวดจะต้องเป็นผู้ถ่ายภาพนั้นๆ ด้วยตนเอง ห้ามนำภาพของผู้อื่นมาส่งหรือส่งในนามผู้อื่นโดยเด็ดขาด

3.5  ผู้ส่งภาพเข้าประกวดจะต้องตั้งชื่อภาพถ่าย ระบุสถานที่ถ่ายภาพ เขียนคำอธิบายเทคนิคการถ่ายภาพและเทคนิค ที่ใช้ประมวลภาพถ่าย (Image Processing) ให้ครบถ้วน

3.6  ผู้ส่งภาพเข้าร่วมการประกวดจะต้องอาศัยอยู่และมีที่อยู่ในประเทศไทยที่สามารถติดต่อได้

 

4.วิธีการส่งภาพถ่ายเข้าร่วมการประกวด

4.1  ผู้ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดให้ส่งไฟล์ภาพพร้อมกรอกรายละเอียดภาพมายัง  button click 02 ตามลิงค์ที่สถาบันฯ กำหนดให้ครบถ้วนทุกภาพ

4.2  ผู้ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดให้ส่งไฟล์ภาพ .JPEG ที่มีคุณสมบัติที่สามารถนำไปอัดขยายภาพเพิ่มได้ ไม่จำกัด Pixel

           

5.รางวัลการประกวดภาพถ่ายรวมทั้งสิ้น 160,000 บาท ประกอบด้วย

5.1  ประเภท Deep Sky Objects

ลำดับที่  1      รางวัลชนะเลิศพร้อมโล่เกียรติยศ                                            เงินรางวัล   15,000    บาท

     จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ลำดับที่  2      รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1  พร้อมเกียรติบัตร                              เงินรางวัล   10,000   บาท
ลำดับที่  3      รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2  พร้อมเกียรติบัตร                             เงินรางวัล   5,000     บาท
ลำดับที่  4      รางวัลชมเชย  พร้อมเกียรติบัตร                                            เงินรางวัล   2,000     บาท

 

5.2  ประเภทปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์

ลำดับที่  1      รางวัลชนะเลิศพร้อมโล่เกียรติยศ                                            เงินรางวัล   15,000    บาท

    จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ลำดับที่  2      รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1  พร้อมเกียรติบัตร                              เงินรางวัล   10,000   บาท
ลำดับที่  3      รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2  พร้อมเกียรติบัตร                             เงินรางวัล   5,000     บาท
ลำดับที่  4      รางวัลชมเชย  พร้อมเกียรติบัตร                                            เงินรางวัล   2,000     บาท

 

5.3  ประเภทวัตถุในระบบสุริยะ

ลำดับที่  1      รางวัลชนะเลิศพร้อมโล่เกียรติยศ                                            เงินรางวัล   15,000    บาท

    จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ลำดับที่  2      รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1  พร้อมเกียรติบัตร                              เงินรางวัล   10,000   บาท
ลำดับที่  3      รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2  พร้อมเกียรติบัตร                             เงินรางวัล   5,000     บาท
ลำดับที่  4      รางวัลชมเชย  พร้อมเกียรติบัตร                                            เงินรางวัล   2,000     บาท

 

5.4  ประเภทวิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์

ลำดับที่  1      รางวัลชนะเลิศพร้อมโล่เกียรติยศ                                            เงินรางวัล   15,000    บาท

    จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ลำดับที่  2      รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1  พร้อมเกียรติบัตร                              เงินรางวัล   10,000   บาท
ลำดับที่  3      รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2  พร้อมเกียรติบัตร                             เงินรางวัล   5,000     บาท
ลำดับที่  4      รางวัลชมเชย  พร้อมเกียรติบัตร                                            เงินรางวัล   2,000     บาท

 

5.5  ประเภทปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก

ลำดับที่  1      รางวัลชนะเลิศพร้อมโล่เกียรติยศ                                            เงินรางวัล   15,000    บาท

    จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ลำดับที่  2      รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1  พร้อมเกียรติบัตร                              เงินรางวัล   10,000   บาท
ลำดับที่  3      รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2  พร้อมเกียรติบัตร                             เงินรางวัล   5,000     บาท
ลำดับที่  4      รางวัลชมเชย  พร้อมเกียรติบัตร                                            เงินรางวัล   2,000     บาท

         

6.ระยะเวลาการส่งภาพเข้าประกวด

6.1  สถาบันฯ จะเปิดรับภาพถ่ายเข้าร่วมประกวด ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563

6.2  ประกาศผลภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลแต่ละประเภทในเดือนกันยายน 2563 ทางเว็บไซต์สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) www.narit.or.th สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทรศัพท์.  0-5312-1268  โทรสาร. 0-5312-1250 หรือ www.narit.or.th

astrophotography contest 2020 banner2

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เผยภาพปรากฏการณ์สุริยุปราคาเหนือฟ้าเมืองไทย ช่วงบ่ายวันที่ 21 มิถุนายน 2563 จาก เชียงใหม่ ฉะเชิงเทรา โคราช และสงขลา ภาคเหนือของไทยดวงอาทิตย์ถูกบังเยอะสุดกว่าร้อยละ 60 มีชาวไทยให้ความสนใจติดตามปรากฏการณ์กันทั่วประเทศ  โซเชียลมีเดียทุกช่องทางคึกคัก แชร์ภาพกันสนั่น สดร. จัดถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กสถาบันฯ มีผู้ติดตามหลายล้านคน

Read more ...

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  เผย 21 มิถุนายน 2563 นอกจากจะเกิดปรากฏการณ์ “สุริยุปราคาบางส่วน” แล้ว ยังเป็นวัน “ครีษมายัน” เวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี ถือเป็นวันเปลี่ยนฤดูกาลเข้าสู่ฤดูร้อนของ ประเทศทางซีกโลกเหนือ และเปลี่ยนสู่ฤดูหนาวของประเทศในซีกโลกใต้

Read more ...

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม ชวนดู “สุริยุปราคาบางส่วน” วันที่ 21 มิถุนายน ที่จะถึงนี้ ตั้งแต่เวลา 13.00 - 16.10 น.ภาคเหนือเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่งมากที่สุด ย้ำเตือนคนไทยไม่ควรมองดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่า  ต้องใช้อุปกรณ์กรองแสง และให้ระมัดระวังการถ่ายภาพดวงอาทิตย์จากเลนส์กล้องดิจิทัล  “ย้ำ” อันตรายถึงขั้นตาบอดได้ พร้อมชวนร่วมชมปรากฏการณ์นี้ผ่านเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

Read more ...

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์     วิจัย และนวัตกรรม (อว.) พร้อมเปิดให้บริการอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ หอดูดาว เฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา และฉะเชิงเทรา นำร่องให้บริการทุกศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ เริ่ม 19 มิถุนายน นี้ ปรับรูปแบบการบริการเป็นแบบ New Normal และดำเนินการตามมาตรการด้านสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด 

Read more ...

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนชาวไทยชม “สุริยุปราคาบางส่วนเหนือฟ้าเมืองไทย” 21 มิถุนายน 2563 เวลาประมาณ 13:00 - 16:10 น. ภาคเหนือเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่งมากที่สุด แนะชมผ่านอุปกรณ์กรองแสง ห้ามดูด้วยตาเปล่า หรือแว่นกันแดดโดยเด็ดขาด เตรียมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์จากหอดูดาวภูมิภาคทางเพจเฟซบุ๊ก

Read more ...

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผยภาพปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัว เช้ามืด 6 มิถุนายน 2563 ขณะดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวของโลก บันทึกภาพเมื่อเวลา 02.29 น. ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดในช่วงเวลา 00.46-04.04 น. สังเกตด้วยตาเปล่าได้ไม่ชัดเจนนัก เนื่องจากดวงจันทร์โคจรเข้าไปในเงามัวของโลกบางส่วน ไม่ได้ผ่านเข้าไปในบริเวณเงามืด ดวงจันทร์จึง ไม่เว้าแหว่ง ยังคงมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงแต่มีความสว่างในส่วนที่อยู่ในเงามัวลดลงเท่านั้น

Read more ...

สดร. นำร่องเปิดพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์และลานกิจกรรม ให้ประชาชนเข้าใช้บริการ เริ่ม 1 มิถุนายนนี้ ภาพเงาขณะดวงอาทิตย์ตั้งฉาก จ. เชียงใหม่ 14 พ.ค. 63 14 พ.ค. นี้ ถึงเวลาดวงอาทิตย์ตั้งฉาก จ.เชียงใหม่ เผยโฉม “ดาวศุกร์สว่างที่สุดครั้งแรกในรอบปี” คืน 28 เม.ย. 63 สดร. เผยภาพวินาทีไร้เงาช่วงดวงอาทิตย์ตั้งฉาก 26 เม.ย. 63 ชวนจับตา "ดาวศุกร์สว่างที่สุดในรอบปี" 28 เม.ย. และ 8 ก.ค. 63 สดร. ชวน DIY “แผนที่ดาว” ใช้เองอย่างง่ายได้ที่บ้าน 26 เมษายนนี้ ชาวกรุงเทพฯ เตรียมไร้เงา ครั้งแรกของปี 2563 คืน 22 เมษายนนี้ ชวนชม “ฝนดาวตกไลริดส์” สดร. ใช้กล้องโทรทรรศน์แห่งชาติ จับภาพขณะ “ดาวหางแอตลาส” แตกตัว
Page 11 of 22