ยานวอยเอเจอร์ทั้งสองลำเดินทางเข้าสู่สสารระหว่างดาวฤกษ์แล้ว
18 มกราคม 2017
ในขณะนี้ยานอวกาศวอยเอเจอร์ทั้งสองลำเดินทางเข้าสู่สสารระหว่างดาวฤกษ์ (interstellar medium )แล้วโดยสสารระหว่างดาวฤกษ์นั้นมีองค์ประกอบหลักเป็นแก๊สซึ่งมีความหนาแน่นต่ำมาก เพียง 1อะตอมต่อลูกบาศก์เซนติเมตรเท่านั้น
ความหนาแน่นที่ต่ำนี้เองทำให้การศึกษาสสารระหว่างดาวฤกษ์เป็นเรื่องยากมาก
ล่าสุดในเดือนมกราคม 2017 นักดาราศาสตร์สามารถทำการศึกษาจนพบว่ายานวอยเอเจอร์ทั้งสองลำเดินทางเข้าสู่พื้นที่ระหว่างดาวฤกษ์แล้วโดยยานวอยเอเจอร์ 1 เดินทางออกจากระบบสุริยะตั้งแต่ปี 2012 แล้ว ส่วนยานวอยเอเจอร์ 2 ในปัจจุบันยังอยู่ในเฮลิโอพอส (heliopause) ซึ่งเป็นบริเวณที่ลมสุริยะหมดอิทธิพลพอดีเนื่องจากปะทะกับลมดาวฤกษ์ที่มาจากดาวฤกษ์อื่นๆในกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา
ที่น่าเหลือเชื่อคือ ยานวอยเอเจอร์ 1 และ2 ถูกส่งออกสู่อวกาศกลางปี 1977 แต่ทั้งสองยังทำงานอยู่จนทุกวันนี้
นักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลที่โคจรอยู่รอบโลกยังมองไปยังดาวฤกษ์สี่ดวงที่อยู่เบื้องหลังยานอวกาศทั้งสองลำนี้ดังแสดงในภาพ จากนั้นทำการวัดว่าสสารรอบๆยานทั้งสองลำนี้ดูดกลืนแสงจากดาวฤกษ์ไปแค่ไหนทำให้นักดาราศาสตร์สามารถวิเคราะห์ได้ว่าสสารบริเวณยานทั้งสองลำมีสภาพเป็นอย่างไร และตรวจจับความหนาแน่นได้ด้วยการวัดปริมาณอะตอมคาร์บอน เพราะปริมาณคาร์บอนบ่งบอกถึงอัตราการชนของโมเลกุลแก๊สเล็กๆที่เกิดขึ้นซึ่งสัมพันธ์กับความหนาแน่นนั่นเอง
นักดาราศาสตร์พบว่าสสารรอบๆยานอวกาศทั้งสองลำมีความแตกต่างกันในแง่องค์ประกอบซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันว่าสสารระหว่างดาวฤกษ์มีการเกาะกันเป็นกลุ่มก้อน
นักดาราศาสตร์คาดหวังว่ายานอวกาศทั้งสองลำจะทำงานได้อีก 5 หรือ 10ปีนับจากนี้
ปลายทางของยานอวกาศทั้งสองลำคือ อีก 40,000 ปี ยานวอยเอเจอร์ 1 จะเดินทางไปยังดาวฤกษ์ Gliese 445 (ที่ระยะห่าง 1.6 ปีแสง) ส่วนยานวอยเอเจอร์ 2 จะไปใกล้ดาวฤกษ์ Ross 248 (ที่ระยะห่าง1.7ปีแสง)
อ้างอิง
http://www.skyandtelescope.com/astronomy-news/voyagers-flying-through-galactic-clouds-1101201623/