หลักสูตรในการอบรม

       ในการจัดกิจกรรมอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาตร์ขั้นต้นเป็นการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ครูเกิดทักษะการเรียนรู้ทางดาราศาสตร์เกิดการเรียนรู้ข้อมูลทางดาราศาสตร์ใหม่ๆ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้งนี้ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติได้เน้นให้มีการจัดอบรมสัมนาออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ

 

กิจกรรมการอบรมภาคบรรยาย

course 01

บรรยายเรื่อง "รู้จัก ลม ฟ้า อากาศ"

โดย ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ (นักวิชาการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ)

ศึกษารูปแบบ ประเภท และลักษณะการเกิดของเมฆแต่ละชนิด รูปแบบการก่อตัว การเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศของโลก การเกิดรุ้งกินน้ำ การเกิดพระอาทิตย์ทรงกลด พระจันทร์ทรงกลด รวมไปถึงกระบวนการเกิดฟ้าร้อง ฟ้าแลบ และฟ้าผ่า

 

course 02

บรรยายเรื่อง "การดูดาวเบื้องต้นและการเตรียมตัวสำหรับดูดาว" 

ศึกษากระบวนการวางแผนสำหรับดูดาวตรวจสอบ ลม ฟ้า อากาศ ฤดูกาลสถานที่สำหรับการสังเกตการณ์ เวลาขึ้น-ตกของวัตถุท้องฟ้าที่น่าสนใจ เช่น กาแลกซี เนบิวลา กระจุกดาว ดาวเคราะห์ ฯลฯ รวมไปถึงวันเวลาการเกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ต่างๆ ตลอดจนการเตรียมอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับวัตถุท้องฟ้าที่จะสังเกตการณ์  โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์การสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูลเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้รับ ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางดาราศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม

 

course 03

 บรรยายเรื่อง "ระบบพิกัดท้องฟ้า"

ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะทรงกลมท้องฟ้า ระบบพิกัดทางดาราศาสตร์ ระบบฐานกล้องโทรทรรศน์ ระบบเวลาทางดาราศาสตร์ ลักษณะการเคลื่อนที่ของทรงกลมท้องฟ้า ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ และดวงอาทิตย์ ระบุตำแหน่งของจุดอีควินอกซ์จุดโซสติส การระบุขอบเขตกลุ่มดาวกลุ่มดาวจักราศี การเกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และนำความรู้ไปเผยแพร่ให้กับนักเรียนต่อได้

 

course 04

บรรยายเรื่อง "หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับกล้องโทรทรรศน์"

ศึกษาประวัติและความเป็นมาเบื้องต้นของกล้องโทรทรรศน์ เข้าใจหลักการทำงานพื้นฐานของกล้องโทรทรรศน์ ทั้งกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง และกล้องโทรทรรศน์แบบผสม รวมไปถึงวิธีการแก้ไขข้อบกพร่องทางทัศนศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากเลนส์และทัศนูปกรณ์ การคำนวนหาระยะโฟกัสของกล้องโทรทรรศน์ การหากำลังขยาย การหามุมมองของภาพ กำลังรวมแสง ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมได้สัมผัสกับวัสดุที่เป็นส่วนประกอบในการสร้างกล้องโทรทรรศน์

 

กิจกรรมอบรมภาคปฏิบัติ

course 05

กิจกรรม "ระบบพิกัดท้องฟ้า"

(การสร้างเครื่องวัดมุมอย่างง่าย)

 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูลการสังเกต การวิเคราะห์การอภิปรายและสรุปผลเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มีความสามารถในการตัดสินใจสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปเผยแพร่ให้กับนักเรียนต่อได้ รวมทั้งได้ประดิษฐ์เครื่องวัดมุมดาวอย่างง่าย

 

กิจกรรม “กิจกรรมประกอบการสอนและสื่อการสอนดาราศาสตร์”

course 06

กิจกรรมที่ 1 : เฟสของดวงจันทร์

 

course 07

กิจกรรมที 2 : การหมุนของทรงกลมท้องฟ้า

 

course 08

กิจกรรมที่ 3 : การสร้างดาวหาง

 

course 09

กิจกรรมที่ 4 : แบบจำลองระบบสุริยะ

 เรียนรู้วิธีการสร้ากล้องโทรทรรศน์อย่างง่าย การนำไปใช้ประโยชน์ในการสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้า รวมไปถึงการเลือกซื้อวัสดุที่เหมาะสมแก่การสร้างกล้องโทรทรรศน์อย่างง่าย และสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาด เรียนรู้และฝึกฝนการใช้งานกล้องโทรทรรศน์จากอุปกรณ์จริง

 

กิจกรรมประกอบการสอนและสื่อการสอนดาราศาสตร์

 แนะนำและสาธิตกิจกรรมประกอบการสอนและสื่อการสอนดาราศาสตร์อย่างง่ายที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน พร้อมทั้งอภิปรายถึงวิธีการนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนในแต่ละเนื้อหาให้เหมาะสม มีทั้งสิ้น 4 กิจกรรม ได้แก่

กิจกรรมที่ 1 ดีถีของดวงจันทร์

กิจกรรมที่ 2 การหมุนของทรงกลมท้องฟ้า

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสร้างดาวหาง  

กิจกรรมที่ 4 แบบจำลองระบบสุริยะ

 

กิจกรรม “การใช้งานอุปกรณ์และสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์

ศึกษาและฝึกปฏิบัติการใช้งานอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ โดยการแบ่งเป็นฐานการเรียนรู้ดังนี้

 

course 10

ฐานที่ 1 แผนที่ดาว

 

course 11

ฐานที่ 2 กล้องสองตา

 

course 12

ฐานที่ 3 การสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์

 

course 13

ฐานที่ 4 กล้องโทรทรรศน์

 

course 14

กิจกรรม "ซอฟต์แวร์ทางดาราศาสตร์"

 ศึกษาและใช้งานโปรแกรม Stellarium ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จำลองท้องฟ้าแบบ3 มิติแสดงกลุ่มดาวเสมือนท้องฟ้าจริงจำลองตำแหน่งดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ดาวเคราะห์ดาวฤกษ์และวัตถุท้องฟ้าต่างๆแสดงปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์เช่นสุริยุปราคาจันทรุปราคาฝนดาวตกโปรแกรม Celestia ซึ่งเป็นโปรแกรมที่แสดงข้อมูลของอวกาศในรูปแบบ3 มิติช่วยให้สามารถเรียนรู้เรื่องต่างๆในอวกาศมีมุมมองคล้ายกับการนั่งยานอวกาศไปนอกโลกและโปรแกรม Mintaka เป็นโปรแกรมที่สามารถแสดงภาพของดาวและวัตถุท้องฟ้าในรูปแบบ3D

 

กิจกรรมอบรมภาคสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ (ภาคกลางคืน)

course 15

course 16

ศึกษาและฝึกปฏิบัติการสังเกตการณ์ท้องฟ้าจริงด้วยตาเปล่า เรียนรู้กลุ่มดาวและการบอกทิศ จากกลุ่มดาว การบอกตำแหน่งดาวเหนือ นิทานเกี่ยวกับดวงดาว การใช้กล้องสองตาเพื่อสังเกตการณ์ วัตถุท้องฟ้าจริง เรียนรู้การปรับโฟกัสให้เหมาะสม การหาวัตถุท้องฟ้าด้วยกล้องสองตา แสดงมุมมอง ของภาพด้วยกล้องสองตาที่หลากหลายขนาด เรียนรู้การใช้กล้องโทรทรรศน์ เพื่อค้นหาและสังเกตการณ์ วัตถุท้องฟ้า