“ซิจ” Zij  ตารางดาราศาสตร์อิสลามยุคกลาง

 “ซิจ (Zij)” เป็นคำในภาษาอาหรับ เขียนด้วยอักษรอาหรับว่า زيج  คือ  ตารางบันทึกผลการสังเกตการณ์การเคลื่อนที่และตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้าโดยนักดาราศาสตร์ในอดีต เพื่อใช้คำนวณหาตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ที่มองเห็นด้วยตาเปล่า กลุ่มดาวต่าง ๆ  รวมไปถึงการคำนวณหาระยะเวลาของช่วงกลางวันและกลางคืน และใช้ในการคำนวณหาทิศทาง โดยต้นแบบและวิธีการของซิจ ได้รับอิทธิพลจากตารางของปโตเลมี (Ptolemy’s Handy Tables) ที่ถูกแปลเป็นภาษาอาหรับในคริสต์ศตวรรษที่ 9  ซิจแต่ละตารางจะมีรูปแบบเฉพาะและความโดดเด่นที่ต่างกัน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 13 ส่วน ดังนี้

  1. การคำนวณวันเดือนปีและการแปลงปฏิทิน (Chronology and calendar conversion)
  2. ตรีโกณมิติ (Trigonometry)
  3. ดาราศาสตร์ทรงกลม (Spherical Astronomy)
  4. ค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ (Mean Motions of Sun, Moon, and Planets)
  5. สมการการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ (Equations of Sun, Moon, and Planets)
  6. เดคลิเนชันของดวงจันทร์และดาวเคราะห์ (Latitudes of Moon and Planets)
  7. ตำแหน่งของดาวเคราะห์ (Planetary Stations)
  8. แพรัลแลกซ์ของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ (Parallax of the Sun and Moon)
  9. สุริยุปราคาและจันทรุปราคา (Eclipses of the Moon and the Sun)
  10. ทัศนวิสัยในการมองเห็นดวงจันทร์และดาวเคราะห์ (Visibility of the Moon and Planets)
  11. ภูมิศาสตร์ (ตำแหน่งละติจูดและลองจิจูดของผู้สังเกต) (Geography)
  12. พิกัดตำแหน่งของดาวฤกษ์ฉากหลัง (Coordinates of the Fixed Stars)
  13. การคำนวณทางโหราศาสตร์ (Mathematical Astrology)

 

as20200625 1 01

ที่มา: https://www.christies.com

 

as20200625 1 02

ภาพที่ 1 ตัวอย่างซิจที่ใช้ในการคำนวณสุริยุปราคา จากหนังสือซุลลาม

 

“ซิจ” ถูกบันทึกโดยใช้ตัวเลขอับญัด (Arabic abjad; alphanumeric) ซึ่งเป็นระบบตัวเลขที่ใช้อักษรอาหรับ มีเครื่องหมายแทนระบบตัวเลขที่ใช้ระบบฐานหกสิบ (Sexagesimal system)  คือ แบ่งหน่วยเวลาเป็นมาตรา 60 ดังที่เราใช้กันมาในเรื่องเวลา ชั่วโมง นาที และวินาที และใช้แบ่งวงกลมเป็นองศา พิลิปดา  อักษรอาหรับในซิจมีค่า ดังที่แสดงไว้ในตารางดังต่อไปนี้

อักษรอาหรับ

คำอ่าน

ตัวเลข

อักษรอาหรับ

คำอ่าน

ตัวเลข

ا

อลิฟ

1

س

ซีน

60

ب

บาอ์

2

ع

อัยน์

70

ج

ญีม

3

ف

ฟา

80

د

ดาล

4

ص

ศอด

90

ه

ฮาอ์

5

ق

กอฟ

100

و

วาว

6

ر

รออ์

200

ز

ษาล

7

ش

ชีน

300

ح

หาอ์

8

ت

ตาอ์

400

ط

ฏออ์

9

ث

ษาอ์

500

ى

ยา

10

خ

คออ์

600

ك

กาฟ

20

ذ

ซาล

700

ل

ลาม

30

ض

ฎอด

800

م

มีม

40

ظ

ซอฮ์

900

ن

นูน

50

غ

ฆอยน์

1000

 ตารางที่ 1: ตารางเทียบค่าตัวเลขกับอักษรอาหรับที่ใช้ในตัวเลขอับญัด

 

ชื่อกลุ่มดาวจักรราศีในภาษาอาหรับ

ชื่อกลุ่มดาวจักรราศีในภาษาไทย

พยัญชนะอาหรับ

ค่าตัวเลข

   حمل

กลุ่มดาวแกะ

.

0

ثور    

กลุ่มดาววัว

ا

1

جوزاء

กลุ่มดาวคนคู่

ب

2

سرطان

กลุ่มดาวปู

ج

3

أسد  

กลุ่มดาวสิงโต

د

4

سنبلة    

กลุ่มดาวหญิงสาว

ه

5

   ميزان

กลุ่มดาวคันชั่ง

و

6

عقرب

กลุ่มดาวแมงป๋อง

ز

7

قوس

กลุ่มดาวคนยิงธนู

ح

8

جدي

กลุ่มดาวแพะทะเล

ط

9

دلو

กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ

ى

10

حوت

กลุ่มดาวปลา

ىا

11

ตารางที่ 2: ตารางเทียบกลุ่มดาวจักรราศีกับอักษรอาหรับ

 

วัน

อักษรอาหรับ

วันอาทิตย์

ا

วันจันทร์

ب

วันอังคาร

ج

วันพุธ

د

วันพฤหัสบดี

ه

วันศุกร์

و

วันเสาร์

ز

ตารางที่ 3: ตารางเทียบวันกับอักษรอาหรับ

 

อักษรอาหรับในซิจจะไม่มีจุด นอกจากบางตัวอักษรเพื่อให้เกิดความแตกต่างกัน เช่น “นูน”(ن) จะมีจุด เพื่อให้แตกต่างกับ “บาอ์”  (ب)  และเขียนแค่หัวของตัวอักษร “ญีม” (ج) เพื่อให้แตกต่างกับ อักษร “หาอ์” (ح)

 

as20200625 1 03

ภาพที่ 2 : ตัวอย่างซิจที่ใช้ในการเปลี่ยนวันที่ตามกลุ่มดาวจักรราศี 

 

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 - 19  มีซิจที่ถูกบันทึกและรวบรวมในช่วงยุคทองของอิสลามจำนวนมากกว่า 225 ตาราง  แต่ในจำนวนนี้เกินครึ่งได้หายไป เหลือเพียงบางตารางที่มีอยู่ถึงปัจจุบัน เช่น Zij-I Ilkhani of Nasir al-Din al-Tusi,  Zij Sindhind, Zij al-Khawarizmi,  Zij Ibn al-Banna

 

as20200625 1 04

ภาพที่ 3 : Zij-I Ilkhani of Nasir al-Din al-Tusi

ที่มา: https://bid.shapiroauctions.com

 

แต่ซิจที่ถือว่ามีอิทธิพลในโลกอิสลามยุคหลัง คือ “ซิจซุลตอนี” (Zij Sultani of Ulugh Beg)   ซึ่งในประเทศไทยและแถบคาบสมุทรมลายูยังมีการนำ ซิจซุลตอนีมาใช้คำนวณปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับดวงจันทร์ เช่น คำนวณหาตำแหน่งดวงจันทร์ และความน่าจะเป็นที่จะเห็นจันทร์เสี้ยว โดยคำนวณหาเวลาการเกิด conjunction (ดวงจันทร์ปรากฏใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในช่วงจันทร์ดับ) ขนาดและอายุของจันทร์ คำนวณการเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคา เป็นต้น ซึ่งตารางเหล่านี้ถูกบันทึกในหนังสือดาราศาสตร์สมัยก่อน ที่ยังมีการเรียนการสอนในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม เช่น หนังสือซุลลาม นัยจิรัย และหนังสือบากูเราะห์ อาดิลละห์ ลิมะรีฟะห์ตุล อาฮิลละห์  โดยซิจในหนังสือทั้งสองเล่มยังเป็นซิจตามรูปแบบซิจซุลตอนี

 

เรียบเรียง : สุกัญญา มัจฉา - เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร.

 

อ้างอิง :

[1] https://link.springer.com/referenceworkentry/10.1007%2F978-1-4614-6141-8_202

[2] https://media.neliti.com/media/publications/56966-ID-kitab-sullam-an-nayyirain-dalam-tinjauan.pdf

[3] https://www.researchgate.net/publication/291116898_Astronomical_handbooks_and_tables_from_the_Islamic_world_750-1900_An_interim_repo

[4] https://bid.shapiroauctions.com/lots/view/1-1W030Y/nasir-al-din-al-tusi-d-ah-6721274-ad-zij-i-ilkhani