เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้สถาบันฯ มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานใหม่ โดยพิจารณาปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานจากเดิม โรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการทุกโรงเรียนจะต้องเดินทางเข้าร่วมกิจกรรมอบรมและรับมอบกล้องโทรทรรศน์จาก อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สำนักงานใหญ่) ที่จังหวัดเชียงใหม่

          ในเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ยังคงไม่คลี่คลาย ประกอบกับโรงเรียนก็ไม่ค่อยมีความสะดวกในการเดินทางเข้าร่วมกิจกรรม ณ จ.เชียงใหม่เท่าที่ควร สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ จึงพิจารณาเปลี่ยนการจัดกิจกรรมจากเดิม เป็นการจัดกิจกรรมอบรมการใช้งานกล้องโทรทรรศน์และรับมอบกล้องโทรทรรศน์ ณ หอดูดาวภูมิภาค และอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร แทน ทั้งนี้ หอดูดาวในส่วนภูมิภาคของสถาบันฯ คลอบคลุมพื้นที่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมีรายละเอียดสถานที่จัดกิจกรรมรับมอบกล้องโทรทรรศน์ ดังต่อไปนี้

  1. อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สำนักงานใหญ่)
  2. หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา
  3. หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา
  4. หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

 

          และมีการปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการเข้าร่วมกิจกรรมใหม่ โดยแบ่งออกเป็นการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นกลุ่มย่อยทั้งหมด 4 รอบ ดังนี้

รอบที่ 1 : วันเสาร์ ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2563

รอบที่ 2 : วันเสาร์ ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2563

รอบที่ 3 : วันเสาร์ ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2563

รอบที่ 4 : วันเสาร์ ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2563

 

อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สำนักงานใหญ่)

เลขที่ 260 ม.4 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

DobsonianTelescopeForSchool 2563 venue 02

   อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร “Princess Sirindhon AstroPark” หรือเรียกสั้นๆ ว่า AstroPark ตั้งอยู่ที่เลขที่ 260 ม. 4 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ภายใน AstroPark ประกอบไปด้วยโครงสร้างพื้นฐานมากมาย ไม่ว่าจะเป็น อาคารสำนักงานใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งบัญชาการหลักของเหล่าปราชญ์ดาราศาสตร์ของเมืองไทย อาคารท้องฟ้าจะลองและนิทรรศการ เป็นอาคารรูปทรงกูบช้าง ถูกออกแบบและสร้างเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และบริการประชาชน รวมถึงเยาวชน ภายในอาคารมีท้องฟ้าจำลองที่รองรับรบฉายภาพในระบบ 8K ใหม่และทันสมัยที่สุดในไทย รวมถึงพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการทางดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นนิทรรศการในรูปแบบปฏิสัมพันธ์ (Interctive Exhibition) อาคารหอดูดาว ซึ่งจะเป็นแหล่งให้บริการจัดกิจกรรมสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าให้กับประชาชน และอาคารปฏิบัติการและเมกะทรอนิกส์ ซึ่งเป็นอาคารที่ผลิตชิ้นงานและอุปกรณ์สำหรับสังเกตการณ์ทางดาราศสาตร์ชั้นสูงหลากหลายรูปแบบ

DobsonianTelescopeForSchool 2563 venue 04 DobsonianTelescopeForSchool 2563 venue 05

          อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร นอกจากจะเป็นสำนักงานใหญ่ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติแล้ว ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านดาราศาสตร์ที่ครบวงจรที่สุดในประเทศไทย เปิดให้บริการตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2563 เป็นต้นมา มีพื้นที่ที่เปิดให้บริการประชาชนมากมาย อาทิเช่น นิทรรศการดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นนิทรรศการในรูปบบ Interactive การให้บริการท้องฟ้าจำลองใสรูปแบบ Digital Full Dome ซึ่งใหม่และทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และที่เป็นไอไลท์สำคัญของอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ก็คือตัวอาคารหอดูดาว ที่จะคอยให้บริการประชาชนในการสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าตลอดช่วงฤดูหนาว และปรากฏการณ์ดาราศาสตร์สำคัญๆ

 

DobsonianTelescopeForSchool 2563 venue 06

 

          และเช่นเดียวกันกับหอดูดาวในส่วนภูมิภาคทุกแห่งของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ มีการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหน้ากล้อง 0.7 เมตร เพื่อสังเกตการณ์และเก็บข้อมูลงานวิจัยทางดาราศาสตร์ได้อีกด้วย และในอนาคตกล้องโทรทรรศน์เหล่านี้ก็พร้อมที่จะพัฒนาเข้าสู่ระบบกล้องโทรทรรศน์ควบคุมระยะไกลอัตโนมัติ “Remote Robotic Telescope” อีกด้วย

 

 

หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา

เลขที่ 111 ถ.มหาวิทยาลัย ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000

DobsonianTelescopeForSchool 2563 venue 07

          หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา “The Regional Observatory for the Public Nakhon Ratchasrima” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “หอดูดาวฯ โคราช” ตั้งอยู่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา เป็นหอดูดาวส่วนภูมิภาค      แห่งแรกของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และเป็น 1 ใน 5 หอดูดาว ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแห่งการเรียนรู้ดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ไว้สำหรับให้บริการประชาชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 มีพื้นที่ให้บริการประชาชนหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นนิทรรศการดาราศาสตร์ ท้องฟ้าจำลองในรูปแบบ Digital Full Dome รวมถึงการให้บริการสังเกตการณ์ท้องฟ้าจริงผ่านกล้องโทรทรรศน์หลากหลายรูปแบบที่ติดตั้งไว้คอยให้บริการประชนชนในบริเวณอาคารหอดูดาวอีกด้วย

 

DobsonianTelescopeForSchool 2563 venue 08 DobsonianTelescopeForSchool 2563 venue 09

 

          นอกจาการให้บริการประชาชนเพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ทางดาราศาสตร์ และจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์แล้ว หอดูดาวในส่วนภูมิภาคของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติทุกแห่ง ยังมีความพร้อมในการเก็บข้อมูลวิจัยทางด้านดาราศาสตร์อีกด้วย โดยมีการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร ซึ่งสามารถควบคุมการทำงานผ่านระบบออนไลน์ได้อีกด้วย

 

หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา

เลขที่ 999 หมู่ 3 ต.วังเย็น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา 24190

DobsonianTelescopeForSchool 2563 venue 10

          หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา “The Regional Observatory for the Public Chacheongsao” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “หอดูดาวฯ ฉะเชิงเทรา”    ตั้งอยู่ในเขตนอกเขตตัวเมือง ที่ อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งไม่ห่างไกลจากกรุงเทพมหานครมากนัก     (ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ประมาณ 2 ชั่วโมง) เป็นหอดูดาวส่วนภูมิภาคแห่งที่สองของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และเป็น 1 ใน 5 หอดูดาว ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแห่งการเรียนรู้ดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ไว้สำหรับให้บริการประชาชนในเขตพื้นที่ภาคตะตะวันออก และภาคกลาง เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 มีพื้นที่ให้บริการประชาชนหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นนิทรรศการดาราศาสตร์ ท้องฟ้าจำลองในรูปแบบ Digital Full Dome รวมถึงการให้บริการสังเกตการณ์ท้องฟ้าจริงผ่านกล้องโทรทรรศน์หลากหลายรูปแบบที่ติดตั้งไว้คอยให้บริการประชนชนในบริเวณอาคารหอดูดาวอีกด้วย

 

DobsonianTelescopeForSchool 2563 venue 11 DobsonianTelescopeForSchool 2563 venue 12

 

          เช่นเดียวกับหอดูดาวในส่วนภูมิภาคอื่น ๆ ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หอดูดาวฯ ฉะเชิงเทรา ก็ยังมีการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร ซึ่งรอบรับการเก็บข้อมูลงานวิจัยทางดาราศาสตร์ได้ด้วยเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังพร้อมที่จะพัฒนาเข้าเป็นระบบกล้องโทรทรรศน์อัตโนมัติควบคุมระยะไกลในอนาคตได้อีกด้วย

 

หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

เลขที่ 79/4 หมู่ 4 ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา 90000

DobsonianTelescopeForSchool 2563 venue 13

          หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา “The Regional Observatory for the Public Songkhla” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “หอดูดาวฯ สงขลา” หอดูดาวส่วนภูมิภาคน้องใหม่ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ตั้งอยู่บริเวณเขารูปช้าง ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากใจกลางเมืองสงขลามากนัก และเป็น 1 ใน 5 หอดูดาว ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแห่งการเรียนรู้ดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ไว้สำหรับให้บริการประชาชนในเขตพื้นที่ภาคใต้ เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 มีพื้นที่ให้บริการประชาชนหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นนิทรรศการดาราศาสตร์ ท้องฟ้าจำลองในรูปแบบ Digital Full Dome รวมถึงการให้บริการสังเกตการณ์ท้องฟ้าจริงผ่านกล้องโทรทรรศน์หลากหลายรูปแบบที่ติดตั้งไว้คอยให้บริการประชนชนในบริเวณอาคารหอดูดาวอีกด้วย

 

DobsonianTelescopeForSchool 2563 venue 14 DobsonianTelescopeForSchool 2563 venue 15

 

          ด้วยทัศนียภาพที่สวยงามของหอดูดาวฯ สงขลา ซึ่งสามารถมองเห็นทิวทัศได้ทั้งฝั่งทะเลอ่าวไทย และทะเลสาบสงขลา ด้วยทัศนียภาพนี้ ทำให้หอดูดาวฯ สงขลา ได้รับสมยานามว่า “หอดูดาวสองเล”   และเป็นที่หมายปองของเหล่านักท่องเที่ยวที่จะต้องเดินทางมาเยี่ยมชมความสวยงามของทัศนียภาพ พร้อมทั้งร่วมกิจกรรมทางดาราศาสตร์ที่จัดขึ้นตลอดทั้งปี อีกทั้งหอดูดาวตั้งอยู่ในภาคใต้ ซึ่งมีสภาพภูมิอากาศแตกต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย ทำให้ช่วงเวลาของการจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์เหมาะสมสำหรับกิจกรรมสังเกตการณ์ตลอดช่วงฤดูฝนของประเทศไทย (ราวเดือนพฤษภาคม – เดือนกันยายน)

 

DobsonianTelescopeForSchool 2563 venue 16

 

          นอกจากจะให้บริการประชาชนทั้งนิทรรศการดาราศาสตร์ ท้องฟ้าจำลองในรูปแบบ Digital Full Dome แล้ว ที่หอดูดาวฯ สงขลา ก็ยังมีการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร เพื่อรองรับการเก็บข้อมูลงานวิจัยทางดาราศาสตร์อีกด้วย และยังพร้อมที่จะพัฒนาเข้าสู่ระบบควบคุมการทำงานกล้องโทรทรรศน์ระยะไกลอัตโนมัติ หรือ Remote Robotic Telecope ในอนาคตได้อีกด้วย