บทความดาราศาสตร์

บทความภาพถ่ายดาราศาสตร์

บทความภาพถ่ายดาราศาสตร์

ปรากฏการณ์จันทรุปราคาที่น่าติดตามในปี 2563

ปรากฏการณ์จันทรุปราคาที่น่าติดตามในปี 2563

ในวันที่ 11 มกราคม 2563 ที่ผ่านมาเกิดปรากฏกาณณ์จันทรุปราคาครั้งแรกในรอบปี 2563 ในวันดังกล่าว ผมได้มีโอกาสถ่ายภาพปรากฏการณ์ ซึ่งคืนดังกล่าวสามารถมองเห็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาแบบเงามัวได้ชัดเจนด้วยตาเปล่า อย่างไรก็ตามในช่วงปีนี้เรายังสามารถติดตามถ่ายภาพปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัวได้ ในวันที่ 6 มิถุนายน 2563 เวลาที่ดวงจันทร์ถูกบังมากที่สุด 02.24 น.  และวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 เวลาที่ดวงจันทร์ถูกบังมากที่สุด 16.42 น. 

Read more ...

รวมปรากฏการณ์ที่น่าติดตามถ่ายภาพ ปี 2020

รวมปรากฏการณ์ที่น่าติดตามถ่ายภาพ ปี 2020

ในปี 2020 นี้เรามีหลายปรากฏการณ์ที่น่าติดตาม ซึ่งเริ่มตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา วันที่ 3-4 มกราคม ก็เกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกควอดรานติดส์ ซึ่งมีอัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยถึง 120 ดวงต่อชั่วโมง โดยหลังจากนี้ ก็ยังมีปรกฏกาณณ์ทางดาราศาสตร์อีกมากมายให้เราได้ติดตามถ่ายภาพกันได้ตลอดทั้งปี จะมีอะไรที่น่าติดตามถ่ายภาพกันบ้างนั้น มาดูกันเลยครับ

Read more ...

เตรียมพร้อมถ่ายภาพสุริยุปราคา 26 ธันวาคม 2562

เตรียมพร้อมถ่ายภาพสุริยุปราคา 26 ธันวาคม 2562

คอลัมน์นี้เราจะมาเรียนรู้การเตรียมตัวถ่ายภาพปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วน ส่งท้ายปี 2562 กัน ครับ โดยปรากฏการณ์ครั้งนี้จริงๆ แล้วที่เกิดบนโลกดป็นปรากฏการณ์ “สุริยุปราคาวงแหวน” แนวคราสวงแหวนพาดผ่านประเทศอินเดีย ศรีลังกา สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ส่วนประเทศไทยจะเห็นเป็น “สุริยุปราคาบางส่วน” ดวงจันทร์จะบดบังดวงอาทิตย์บางส่วน ทำให้มองเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่ง สามารถสังเกตได้ทุกภูมิภาคของไทย แต่ละภูมิภาคจะมองเห็นดวงอาทิตย์ถูกบดบังแตกต่างกัน ดวงอาทิตย์จะถูกบดบังมากที่สุดบริเวณภาคใต้ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ประมาณร้อยละ 81 ส่วนภาคเหนือที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ดวงอาทิตย์จะถูกบังเพียงร้อยละ 40 ส่วนกรุงเทพมหานคร ดวงอาทิตย์จะถูกบังประมาณร้อยละ 56 ช่วงเวลาประมาณ 10:19 - 13:57 น. (เวลา ณ กรุงเทพฯ) แต่ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้เทคนิคการเตรียมตัวถ่ายภาพปรากฏการณ์สุริยุปราคา เรามาทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์สุริยุปราคากันก่อนครับ

Read more ...

สิ่งควรรู้ก่อนออกไปสู้ถ่าย Deep Sky Objects (ตอนที่ 2)

สิ่งควรรู้ก่อนออกไปสู้ถ่าย Deep Sky Objects (ตอนที่ 2)

คอลัมน์นี้ต่อจากสองสัปดาห์ก่อน จากที่ทำความรู้จักกับประเภทของวัตถุท้องฟ้าแต่ละประเภทกันแล้ว สิ่งที่เราควรทราบสำหรับการถ่ายภาพ Deep Sky Objects ต่อไปก็คือ การเตรียมการถ่ายภาพวัตถุ ซึ่งประกอบด้วยการเลือกวัตถุที่ต้องการถ่ายภาพ การหามุมรับภาพที่เหมาะสม การตรวจสอบปฏิทินดวงจันทร์ การหาข้อมูลสภาพอากาศบริเวณที่เราจะใช้เป็นจุดถ่ายภาพ และการเรียนรู้กระบวนการประมวลผลภาพถ่าย ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่นักถ่ายภาพ Deep Sky Objects ควรทราบก่อนออกไปถ่ายภาพกันครับ โดยมีรายละเอียดดังนี้

Read more ...

สิ่งควรรู้ก่อนออกไปสู้ถ่าย Deep Sky Objects (ตอนที่ 1)

สิ่งควรรู้ก่อนออกไปสู้ถ่าย Deep Sky Objects (ตอนที่ 1)

ในการถ่ายภาพประเภทวัตถุท้องฟ้าในห้วงอวกาศลึก หรือที่เรียกกันว่า Deep Sky Objects นั้น สิ่งสำคัญนอกจากเทคนิคและทักษะการตั้งกล้องให้ติดตามวัตถุได้อย่างแม่นยำ การถ่ายภาพให้ได้จำนวนภาพมากๆ เพื่อให้ได้ Signal-to-Noise หรือให้ได้ค่าแสงมากกว่าสัญญาณรบกวนแล้ว เราก็ควรทราบลักษณะของวัตถุดังกล่าวด้วยว่าเป็นวัตถุประเภทไหน มีองค์ประกอบหลักเป็นอะไร สามารถเห็นรายละเอียดได้ดีในช่วงความยาวคลื่นไหน และควรให้เวลาในการถ่ายภาพแต่ละประเภทยาวนานเท่าไหร่ สิ่งเหล่านี้เราควรทำความรู้จักก่อนออกไปถ่ายภาพจริง

Read more ...

2 ชั่วโมงกับการถ่ายดาว ในช่วงเริ่มต้นฤดูหนาวในเดือนพฤศจิกายน

2 ชั่วโมงกับการถ่ายดาว ในช่วงเริ่มต้นฤดูหนาวในเดือนพฤศจิกายน

ในต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ ก็ถือเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูหนาวของประเทศไทยกันแล้ว และยังเป็นช่วงปลายฝนต้นหนาวที่มีสภาพท้องฟ้าที่ใสเคลียร์เหมาะแก่การถ่ายภาพดวงดาว คอลัมน์นี้จึงอยากชวนผู้ที่หลงไหลการถ่ายภาพดวงดาว ออกไปถ่ายภาพในช่วงนี้กันดูครับ

Read more ...

แชร์ภาพกลุ่มดาวนายพรานและ Barnard's Loop จากนักดาราศาสตร์สมัครเล่น

แชร์ภาพกลุ่มดาวนายพรานและ Barnard's Loop จากนักดาราศาสตร์สมัครเล่น

ในช่วงเริ่มต้นฤดูหนาวนี้ เราจะเริ่มสังเกตเห็นกลุ่มดาวนายพรานได้ทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลา 22.30 น. เป็นต้นไป และในเดือนถัดๆไปเราก็จะเริ่มเห็นกลุ่มดาวนายพรานโผล่จากขอบฟ้าเร็วขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งช่วงต้นฤดูหนาวสภาพอากาศและทัศนวิสัยของท้องฟ้าก็เหมาะแก่การถ่ายภาพทั้งกลุ่มดาว วัตถุท้องฟ้าในห้วงอวกาศลึก หรือแม้แต่ทางช้างเผือกกันอีกด้วยครับ

Read more ...

คืน 21-22 ตุลาคม นี้ ชวนถ่ายภาพฝนดาวตกโอไรโอนิดส์

คืน 21-22 ตุลาคม นี้ ชวนถ่ายภาพฝนดาวตกโอไรโอนิดส์

ในคืนวันที่ 21 ตุลาคมนี้ จะมีปรากฏการณ์ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง สังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 23.00 น. เป็นต้นไปจนถึงเวลา 01.00 น. มีศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณแขนของกลุ่มดาวนายพรานทางทิศตะวันออก โดยคืนดังกล่าวช่วงหลังตี 1 ไปแล้วจะมีแสงดวงจันทร์รบกวน อย่างไรก็ตามช่วงเวลา 2 ชั่วโมงดังกล่าว ก็อาจพอลุ้นได้ดาวตกกันบ้างครับ

Read more ...

ภาพถ่าย Micro Full Moon ของปี 2562

ภาพถ่าย Micro Full Moon ของปี 2562

ในคอลัมน์นี้ก็อนุญาตแชร์ภาพถ่ายดวงจันทร์ในช่วงเต็มดวงไกลโลกมากที่สุดในรอบปี โดยเรามักเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “Micro Full Moon” ซึ่งภาพข้างต้นนั้น ก็เป็นภาพถ่ายที่ได้วางแผนการถ่ายภาพไว้ตั้งแต่ต้นปีแล้ว ซึ่งกว่าจะได้ภาพดวงจันทร์ในช่วง Super Full Moon เปรียบเทียบกับ Micro Full Moon ก็ต้องรอกันอีก 8 เดือน กันเลยทีเดียว

Read more ...

เทคนิคการหาทิศด้วยภาพถ่ายดาวเทียมจาก Google Maps

เทคนิคการหาทิศด้วยภาพถ่ายดาวเทียมจาก Google Maps

คอลัมน์นี้ขอแชร์เทคนิคการหาทิศเหนือด้วยการใช้แอพพลิเคชั่น Google Maps เพื่อใช้ดูภาพถ่ายดาวเทียมในการอ้างอิงตำแหน่งทิศเหนือ โดยเทคนิคนี้เกิดจากการที่พวกเราเดินทางไปถ่ายปรากฏการณ์สุริยุปราคา ที่ประเทศชิลี ซึ่งเป็นประเทศทางซีกโลกใต้ และยังเป็นการตั้งกล้องเพื่อถ่ายภาพปรากฏการณ์บนขาตั้งกล้องแบบตามดาว ในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งวิธีที่นักดาราศาสตร์นิยมใช้กันในการหาทิศเหนือหรือใต้ ในเวลากลางวันอาจเริ่มจากการใช้เข็มทิศแล้วตั้งกล้องตามดาวแล้วปรับชดเชยด้วยวิธีการทำ Star Drift Alignment โดยเป็นการตั้งเมาส์ของฐานตามดาว ให้ตรงกับขั้วฟ้าเหนือให้มากที่สุด เพื่อใช้สำหรับการถ่ายภาพดาวที่ใช้ระยะเวลาบันทึกภาพนาน ซึ่งวิธีการนี้ค่อนข้างจะใช้เวลานานพอสมควร

Read more ...

เทรนด์ถ่ายภาพดาราศาสตร์ปีนี้กับหน้าปี มาดูกันว่าจะมีอะไรน่าถ่ายตามไปดูกัน

เทรนด์ถ่ายภาพดาราศาสตร์ปีนี้กับหน้าปี มาดูกันว่าจะมีอะไรน่าถ่ายตามไปดูกัน

สำหรับภาพถ่ายที่ชนะการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ทั้ง 5 ประเภท ในปีนี้ก็ล้วนแต่เป็นภาพที่มีความสวยงามและยังสามารถสื่อสารหลักการทางดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย โดยผลการให้คะแนนในแต่ละภาพนั้น กรรมการได้พิจารณาทั้งด้านความสวยงาม องค์ประกอบภาพ การสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ ความถูกต้องของข้อมูลประกอบการถ่ายภาพ รวมทั้งคุณภาพของไฟล์ และความยากง่ายของภาพถ่ายแต่ละประเภท ซึ่งกว่าจะคัดเลือกภาพถ่ายออกมาได้นี่เรียกว่าทั้งซูม ทั้งอธิบายหลักการแนวคิด และให้ความเห็นกันอย่างดุเดือด เพื่อให้ได้ภาพที่ตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของโครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์มากที่สุด

Read more ...

ภาพถ่ายกาแล็กซีจากซีกฟ้าใต้

ภาพถ่ายกาแล็กซีจากซีกฟ้าใต้

ในคอลัมน์นี้ขอเสนอภาพถ่ายจากซีกฟ้าใต้ ประเทศชิลี โดยสถานที่ในการออกไปเก็บภาพครั้งนี้เป็นจุดแวะพักรถระหว่างเส้นทางไปหอดูดาว Cerro Tololo เมือง La Serena ประเทศชิลี บริเวณหอดูดาวเป็นทะเลทรายที่มีความแห้งแล้งเกือบตลอดทั้งปี ซึ่งท้องฟ้าที่นี่มีความมืดสนิทและทัศนวิสัยที่ใสเคลียร์มาก สามารถสังเกตการณ์ท้องฟ้าได้มากกว่า 300 คืนขึ้นไป สมกับเป็นสถานที่ตั้งหอดูดาวระดับโลก หากใครที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเพื่อการถ่ายภาพทางช้างเผือก หรือวัตถุท้องฟ้า กลุ่มดาว แล้วหล่ะก็การไปเยือนประเทศทางซีกฟ้าใต้สักครั้งก็ถือเป็นอีกเป้าหมายหนึ่งของนักถ่ายภาพ

Read more ...

Page 2 of 5