Microwave Holography System and Surface Measurement of TNRT

        ความสามารถของกล้องโทรทรรศน์วิทยุนั้นขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของของจานรับสัญญาณ ซึ่งมี Ruze’s Equation ไว้บอกถึง พลังไฟฟ้าของสายอากาศ (Gain of Antenna) การตรวจสอบความถูกต้องของพื้นผิวจานรับสัญญาณ จะใช้วิธีการสองอย่างประกอบกัน

1 ) วิธีรังวัดด้วยภาพ (Photogrammetry) ซึ่งเป็นวิธีการถ่ายภาพจานจากหลายมุม แล้วนำมาสร้างเป็นโมเดลสามมิติ
2 ) วิธีการทำไมโครเวฟโฮโลกราฟี (Microwave Holography) ซึ่งใช้เครื่องรับสัญญาณจากสองกลุ่มจากดาวเทียมค้างฟ้า (Geostationary Orbit Satellites) การวัดความถูกต้องของพื้นผิว มีรากฐานมาจากการแปลงฟูเรีย (Fourier Transform) รูปแบบการแผ่ (Radiation Pattern) ของจานรับสัญญาณ ซึ่งเมื่อรับสัญญาณจากดาวเทียมค้างฟ้าที่มุมเงย 45 องศา จะสามารถหาความถูกต้อง หรือความคลาดเคลื่อนของพื้นผิว เทียบกับรูปแบบตั้งต้น หรือรูปแบบที่ได้จากวิธีรังวัดด้วยภาพได้

        การตรวจสอบด้วยกระบวนการดังกล่าว เคยถูกใช้สำหรับกล้องโทรทรรศน์วิทยุเยเบส ของสถาบันภูมิศาสตร์ประจำชาติสเปน (IGN: Spanish National Geographic Institute) มาแล้ว โดยได้ผลรายละเอียดภาพ (Spatial Resolution) spatial 40 เซนตริเมตร และค่าความคลาดเคลื่อนพื้นผิว 34 ไมครอน (RMS)
ส่วนจานสะท้อนสัญญาณของกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ ประกอบด้วยชิ้นส่วนระนาบโค้งทั้งหมด 420 ชิ้น ขนาดต่อช่อง 180 ไมครอน ซึ่งคาดหวังให้มีค่าความคลาดเคลื่อนพื้นผิว 150 ไมครอนที่มุมเงย 45 องศา และมีความคลาดเคลื่อน 180 ไมครอนสำหรับมุมเงย 20 และ 70 องศา สำหรับการทดสอบหน้างาน จานสะท้อนหลักจะต้องมีค่าก่อนตั้ง 400 ไมครอน (RMS) และจะมีการทำ Microwave Holography ต่อไป

         สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) ได้ร่วมมือกับสถาบันภูมิศาสตร์ประจำชาติสเปน (Spanish National Geographiic Institute) หรือ IGN ผู้ดูแลหอดูดาวเยเบส (Yebes Observatory) เพื่อที่จะพัฒนาระบบ Holography ให้มีความเที่ยงตรงยิ่งขึ้น โดยระบบมีทั้งหมดสามส่วนด้วยกันได้แก่ Test and Reference Feeds (IGN), RF System (NARIT-IGN), Digital and Software Control (NARIT-IGN).