ท้องฟ้าในเดือนมกราคม
ท้องฟ้าในเดือนมกราคม 2560
สวัสดีปีใหม่ 2560 ขอให้ทุกท่านมีความสุข มีสุขภาพแข็งแรง และดูดาวอย่างมีความสุขตลอดทั้งปี พ.ศ. 2560 ครับ วันหยุดยาวนี้ทุกท่านคงได้เดินทางไปพักผ่อนยังสถานที่ต่าง ไม่ว่าจะกลับไปเยี่ยมคุณพ่อ คุณแม่และญาติๆ ทางบ้านหลายท่านก็ถือโอกาสนี้กลับบ้านไปงานร่วมญาติ บางท่านก็ถือโอกาสวันหยุดยาวเดินทางไปเที่ยวพักผ่อนยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ขอให้เที่ยวอย่างมีสติ
เช้าวันใหม่ ณ จุดชมวิวบนดอยสุเทพ 1
สำหรับเดือนนี้ก็เป็นเดือนสุดท้ายของปีแล้วจะมีเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์ใดบางที่น่าสนใจสามารถติดตามกันได้ในบทความนี้ และปีหน้าจะมาปรากฏการณ์อะไรบ้างที่หน้าชวนติดตามก็ขอให้ติดตามกันต่อไปนะครับ
กลุ่มดาวในช่วงเดือนมกราคม
กลุ่มดาวแมงป่องเวลาเช้ามืด
การดูดาวในช่วงเดือนมกราคม กลุ่มดาวที่น่าสนใจในช่วงหัวค่ำ เมื่อผู้สังเกตหันหน้าไปทางทิศตะวันออก กลุ่มดาวที่ปรากฏอยู่นั้นสามารถมองเห็นได้ชัดเจนและเป็นกลุ่มดาวประจำฤดูหนาวที่ปรากฏอยู่ใกล้ ๆ บริเวณขอบฟ้า คือ กลุ่มดาวปู กลุ่มดาวหมาเล็ก กลุ่มดาวม้าเขาเดียว กลุ่มดาวคนคู่ กลุ่มดาวนายพราน และกลุ่มดาวกระต่ายป่า และหากเงยมองไปที่บริเวณกลางฟ้าจะมองเห็นกลุ่มดาววัว กลุ่มดาวแกะ กลุ่มดาวสารถี และกลุ่มดาวเพอร์ซิอัส ที่บริเวณขอบฟ้าด้านทิศตะวันตกจะมองเห็นผู้สังเกตดาวสว่าง 4 ดวง ที่เรียงตัวกันคล้ายกับรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขณะใหญ่หรือที่เรียกว่า “สี่เหลี่ยมใหญ่” ซึ่งรูปสี่เหลี่ยมนี้ประกอบด้วย 2 กลุ่มดาวคือ กลุ่มดาวม้าปีกกับกลุ่มดาวแอนโดรเมดาทั้งสองกลุ่มดาวนี้เป็นกลุ่มดาวที่มีความโดดเด่นเป็นอย่างมากบนท้องฟ้า ทางทิศใต้จะมองเห็น คือ กลุ่มดาวเซตุส กลุ่มดาวนกเขา กลุ่มดาวตาข่าย กลุ่มดาวนกฟีนิกซ์ กลุ่มดาวแกะสลัก และกลุ่มแม่น้ำ เมื่อหันหน้ากลับไปทางทิศเหนือ จะมองเห็น กลุ่มดาวซีฟิอัส กลุ่มดาวค้างคาว และและยีราฟ และกลุ่มดาวแมวป่า เป็นต้น
รูปที่ 1 ท้องฟ้าในเดือนมกราคม เวลา 21:00 น.
มกราคม
วันที่ เดือน |
เวลา (น.) |
เหตุการณ์ |
1 มกราคม |
13:44 |
-ดาวอังคารอยู่ใกล้ดาวเนปจูน 0.2 องศา |
2 มกราคม |
16:20 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวศุกร์ 1.5 องศา |
3 มกราคม |
13:47 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวอังคาร 0.3 องศา |
|
21:00 |
- ฝนดาวตกควอดรานติดส์ อัตราการตก 120 ดวงต่อชั่วโมง |
4 มกราคม |
17:59 |
- โลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในรอบปี (ประมาณ 0.98331 AU) |
5 มกราคม |
|
|
6 มกราคม |
02:47 |
- จันทร์กึ่งข้างขึ้น |
7 มกราคม |
|
|
8 มกราคม |
|
|
9 มกราคม |
16:03 |
- ดาวพุธอยู่ใกล้ดาวเสาร์ 6.7องศา |
|
21:07 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวอัลดีบาแรน 0.36องศา |
10 มกราคม |
13:07 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกสุดในรอบเดือน (ระยะทาง 363,242 กิโลเมตร) |
11 มกราคม |
|
|
12 มกราคม |
18:34 |
- จันทร์เพ็ญ (ระยะทาง 366,880 กิโลเมตร) |
|
19:59 |
- ดาวศุกร์ห่างดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันออกมากที่สุด 47 องศา |
13 มกราคม |
04:05 |
- ดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวเนปจูน 0.35องศา |
|
19:11 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้กระจุกดาวรวงผึ้ง 3.7องศา |
14 มกราคม |
|
|
15 มกราคม |
11:31 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวเรกูลัส 0.8องศา |
16 มกราคม |
|
|
17 มกราคม |
|
|
18 มกราคม |
|
|
19 มกราคม |
12:26 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดี 2.3องศา |
|
16:59 |
- ดาวพุธอยู่ห่างดวงอาทิตย์ไปทางตะวันตกมากที่สุด 24 องศา |
20 มกราคม |
05:13 |
- จันทร์กึ่งข้างแรม |
21 มกราคม |
|
|
22 มกราคม |
07:14 |
- ดวงจันทร์อยู่ไกลโลกสุดในรอบเดือน (ระยะทาง 404,913 กิโลเมตร) |
23 มกราคม |
|
|
24 มกราคม |
17:37 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวเสาร์ 3.8องศา |
25 มกราคม |
|
|
26 มกราคม |
07:45 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวพุธ 3.3องศา |
27 มกราคม |
|
|
28 มกราคม |
07:07 |
- จันทร์ดับ |
29 มกราคม |
|
|
30 มกราคม |
|
|
31 มกราคม |
13:11 |
- ดาวพฤหัสบดีอยู่ใกล้ดาวสไปกา 3.5องศา |
ดาวเคราะห์ในเดือนมกราคม 2560
การสังเกตดาวเคราะห์ในช่วงเดือนมกราคมนี้ ในช่วงหัวค่ำทางทิศตะวันตกและสามารถสังเกตเห็นได้ มองเห็นดาวเคราะห์ 2 ดวง ที่สว่างเด่นอยู่บริเวณใกล้ขอบฟ้าดวงล่างคือ ดาวศุกร์ และดวงบน คือ ดาวอังคาร ส่วนดาวเคราะห์อีก 2 ดวง ผู้สังเกตสามารถมองเห็นได้ในช่วงเช้ามืดก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นในทางทิศตะวันออก คือ ดาวพุธ และดาวเสาร์ สำหรับดาวพุธในช่วงประมาณกลางเดือนเป็นช่วงที่เหมาะสมสำหรับการสังเกตดาวพุธมากที่สุด ส่วนดาวเสาร์จะอยู่ใกล้กับใจกลางทางช้างเผือก และดวงเคราะห์อีกดวงหนึ่ง คือ ดาวพฤหัสบดี ผู้สังเกตที่ต้องการชมดาวพฤหัสบดีคงต้องรอหลังเทียงคืนจึงจะสามารถเริ่มมองเห็นดาวพฤหัสบดีเพิ่มขึ้นจากขอบฟ้า
ลักษณะปรากฏและขนาดปรากฏของดาวเคราะห์ทั้ง 5 ดวง ในช่วงเดือนมกราคม
รูปที่ 2 แสดงลักษณะปรากฏและขนาดปรากฏของดาวเคราะห์ในช่วงเดือนมกราคม
การสังเกตดาวพุธ
ในช่วงต้นเดือนมกราคมนี้ดาวพุธจะปรากฏทางทิศตะวันออกในช่วงเช้ามืด และสำหรับดาวพุธในช่วงประมาณกลางเดือนเป็นช่วงที่เหมาะสมสำหรับการสังเกตดาวพุธมากที่สุด โดยในวันที่ 19 มกราคม นี้ดาวพุธอยู่ห่างดวงอาทิตย์ไปทางตะวันตกมากที่สุด 24 องศา ซึ่งเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ที่ตื่นเช้ามาดูดาว ในช่วงนั้นดาวพุธจะมีขนาดปรากฏของดาวพุธบนท้องฟ้าประมาณ 7.3 พิลิปดา และมีความสว่างปรากฏของดาวพุธจะมีค่าประมาณ 0.51 ถึง 0.15
เวลาขึ้น – ตก ของดาวพุธในเดือนมกราคม พ.ศ. 2560
เวลา ณ ตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ : ละติจูด 13°45.0' เหนือ ลองจิจูด 100°31.0' ตะวันออก
(กรุงเทพมหานคร)
ดาวน์โหลดเวลาขึ้น – ตก ของดาวพุธในเดือนมกราคม พ.ศ. 2560
การสังเกตดาวศุกร์
การสังเกตดาวศุกร์ในเดือนมกราคมนี้เราสามารถสังเกตเห็นดาวศุกร์ในช่วงหัวค่ำตลอดทั้งเดือน โดยสามารถสังเกตเห็นดาวศุกร์ได้จากขอบฟ้าทางทิศตะวันตกตั้งแต่หลังจากดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าจนถึงดาวศุกร์ตกลับขอบฟ้า โดยในช่วงต้นเดือนผู้สังเกตจะมองเห็นดาวศุกร์ปรากฏอยู่ในบริเวณกลุ่มดาวคนแบบหม้อน้ำ และในช่วงวันที่ 12 มกราคม ดาวศุกร์จะทำมุมห่างดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันออกมากที่สุด 47 องศา และโดยในช่วงเดือนนี้ดาวศุกร์จะมีขนาดปรากฏเฉลี่ยบนท้องฟ้าประมาณ 25.2 พิลิปดา และมีค่าสว่างปรากฏระหว่าง -3.95 ถึง -4.09 ซึ่งสว่างมากกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ที่ปรากฏบนท้องฟ้า
เวลาขึ้น – ตก ของดาวศุกร์ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2560
เวลา ณ ตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ : ละติจูด 13°45.0' เหนือ ลองจิจูด 100°31.0' ตะวันออก
(กรุงเทพมหานคร)
ดาวน์โหลด เวลาขึ้น – ตก ของดาวศุกร์ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2560
การสังเกตดาวอังคาร
ในเดือนมกราคมนี้เราจะมองเห็นดาวอังคารได้จากทางขอบฟ้าทิศตะวันตกในช่วงหัวค่ำ และเป็น 1 ใน 2 ของดาวเคราะห์ที่สามารถมองเห็นได้ในช่วงหัวค่ำ ตำแหน่งปรากฏของดาวอังคารในช่วงมกราคมจะอยู่ในบริเวณกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ มีขนาดปรากฏบนท้องฟ้าประมาณ 5.4 พิลิปดา สำหรับความสว่างปรากฏของดาวอังคารในช่วงเดือนมกราคมนี้อยู่ที่ระหว่าง 1.07 ถึง 1.18 ในการสังเกตอาจต้องใช้เวลาในการมองหาดาวอังคารน้อยเล็กเนื่องจากดาวอังคารมีค่าความสว่างปรากฏที่ใกล้เคียงกับดาวฤกษ์หลายดวงที่อยู่ใกล้บริเวณนั้น
เวลาขึ้น – ตก ของดาวอังคารในเดือนมกราคม พ.ศ. 2560
เวลา ณ ตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ : ละติจูด 13°45.0' เหนือ ลองจิจูด 100°31.0' ตะวันออก
(กรุงเทพมหานคร)
ดาวน์โหลด เวลาขึ้น – ตก ของดาวอังคารในเดือนมกราคม พ.ศ. 2560
การสังเกตดาวพฤหัสบดี
การสังเกตดาวพฤหัสบดีในเดือนมกราคมนี้เราสังเกตจะสามารถสังเกตดาวพฤหัสบดีปรากฏในช่วงหลังตี 1 เป็นต้นไป โดยผู้สังเกตจะมองเห็นดาวพฤหัสบดีปรากฏอยู่ระหว่างกลุ่มดาหญิงสาว ในช่วงเดือนนี้ดาวพฤหัสบดีจะมีขนาดปรากฏบนท้องฟ้าประมาณ 37 พิลิปดา มีค่าสว่างปรากฏอยู่ที่ประมาณ – 1.51 ถึง – 1.62 สำหรับการสังเกตดาวพฤหัสบดีสามารถทำได้ทั้ง ตาเปล่าและใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ เช่น กล้องสองตา กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก โดยผู้สังเกตจะสามารถมองเห็นดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีเป็นจุดสว่างเล็ก ๆ อยู่รอบ ๆ ตัวดาวพฤหัสบดี ในบางครั้งผู้สังเกตอาจสามารถมองเห็นจุดดำ ๆ เล็ก ๆ บนตัวดาวพฤหัสบดีซึ่งเกิดจากเงาของดวงจันทร์ที่ทอดลงไปยังพื้นผิวของดาวพฤหัสบดีเอง ซึ่งคล้ายกับปรากฏการณ์สุริยุปราคาที่เกิดบนโลก ผู้สังเกตสามารถดูตำแหน่งปรากฏดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดีในแต่ละวันได้จากรูปที่ 3
เวลาขึ้น – ตก ของดาวพฤหัสบดีในเดือนมกราคม พ.ศ. 2560
เวลา ณ ตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ : ละติจูด 15°00' เหนือ ลองจิจูด 100°00' ตะวันออก
(กรุงเทพมหานคร)
ดาวน์โหลด เวลาขึ้น – ตก ของดาวพฤหัสบดีในเดือนมกราคม พ.ศ. 2560
รูปที่ 3 ตำแหน่งปรากฏดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดีในช่วงเดือนมกราคม
การสังเกตดาวเสาร์
การสังเกตดาวเสาร์ในช่วงเดือนมกราคมตลอดทั้งเดือนนี้ผู้สังเกตสามารถสังเกตดาวเสาร์ได้ในช่วงเช้ามืด โดยตำแหน่งปรากฏของดาวเสาร์จะอยู่บริเวณกลุ่มดาวแมงป่องใกล้กับบริเวณใจกลางทางช้างเผือกอาจจะยากต่อการสังเกตบ้างสำหรับผู้ที่กำลังเริ่มดูดาวใหม่ เนื่องจากว่าดาวเสาร์ในช่วงนี้มีความสว่างใกล้เคียงกับดาวฤกษ์ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงทางช้างเผือก โดยช่วงเดือนมกราคมดาวเสาร์มีขนาดปรากฏบนท้องฟ้าประมาณ 15.3 ฟิลิปดา (ไม่รวมวงแหวน) และมีขนาดปรากฏบนท้องฟ้าเมื่อรวมวงแหวนประมาณ 35.6 ฟิลิปดา และมีค่าความสว่างปรากฏอยู่ที่ประมาณ 0.72 สำหรับการสังเกตดาวเสาร์สามารถทำได้ทั้ง การสังเกตด้วยตาเปล่าและใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ เช่น กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก โดยผู้สังเกตสามารถมองเห็นดวงจันทร์ของดาวเสาร์เป็นจุดสว่างเล็ก ๆ อยู่รอบ ๆ ดาวเสาร์
รูปที่ 4 ภาพแสดงตำแหน่งดาวเสาร์ในช่วงเดือนมกราคม
เวลาขึ้น – ตก ของดาวเสาร์ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2560
เวลา ณ ตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ : ละติจูด 13°45.0' เหนือ ลองจิจูด 100°31.0' ตะวันออก
(กรุงเทพมหานคร)
ดาวน์โหลด เวลาขึ้น – ตก ของดาวเสาร์ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลด เวลาขึ้น – ตกดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลด เวลาขึ้น – ตกดาวเคราะห์แคระ 1 ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลด เวลาขึ้น – ตกดาวเคราะห์แคระ 2 ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลด เวลาขึ้น – ตกดาวเคราะห์แคระ 3 ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลด เวลาขึ้น – ตกดาวเคราะห์แคระ 4 ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลด เวลาขึ้น – ตก ของดาวยูเรนัสในเดือนมกราคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลด เวลาขึ้น – ตก ของดาวเนปจูนในเดือนมกราคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลด เวลาขึ้น – ตก ของดาวทั้งหมดในเดือนมกราคม พ.ศ. 2560
กรกมล ศรีบุญเรือง
นักวิชาการ
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)