การค้นคว้ารวบรวมข้อมูลและให้ความรู้

เรื่อง “อารยธรรมและอารยสถานดาราศาสตร์ไทย”

ระหว่างวันที่ 29-30 กันยายน 2561

ณ สถานที่สำคัญทางอารยธรรมดาราศาสตร์

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดลพบุรี

          อารยธรรมของมนุษย์เกิดขึ้นจากการรังสรรค์ความรู้จากการสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ สะสมองค์ความรู้ เพื่อสร้างสรรค์ศิลปวิทยาการต่าง ๆ อารยธรรมของแต่ละกลุ่มชนมีความหลากหลายเนื่องจากถิ่นที่ตั้ง ทรัพยากร ความเชื่อ และศาสนา ก่อให้เกิดเรื่องเล่า และการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละอารยธรรม และเมื่อมีการสืบสานและแลกเปลี่ยนกับกลุ่มชนอื่น ๆ ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาที่แตกต่างกันไป

ดาราศาสตร์ที่ศึกษากันทั่วไปในปัจจุบันนั้น จัดเป็นความรู้ดาราศาสตร์สมัยใหม่ ที่เน้นความเข้าใจด้านฟิสิกส์ของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ดี แต่เดิมนั้น ดาราศาสตร์เป็นองค์ความรู้ที่สำคัญและสร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยกระบวนทัศน์ของแต่ละกลุ่มชน ความรู้ด้านดาราศาสตร์ของกลุ่มชนชาติพันธุ์ไทมีความหลากหลายไปในแต่ละกลุ่มชน ก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกันไป ทั้งในด้านเกษตรกรรม ปฏิทิน และสถาปัตยกรรม การศึกษาดาราศาสตร์ชาติพันธุ์ (Ethno astronomy) จึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สามารถนำไปใช้เพื่อศึกษาชาติพันธุ์ไทได้

กว่าสามร้อยสามสิบปีที่ดาราศาสตร์ตะวันตกได้แพร่หลายเข้ามาพร้อมกับศาสตร์อื่น ๆ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในแง่ของวิทยาศาสตร์และสังคมวิทยา การเปิดรับความรู้อย่างตะวันตกและผนวกเข้ากับความรู้เดิมของชาวไทสยาม ดังเช่นสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในรัชสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเครื่องหมายที่สะท้อนถึงการผสมผสานอารยธรรมไทให้เลื่อนไหลไปตามบริบทของโลก แต่ยังคงไว้ซึ่งความเป็นไท

กิจกรรมค้นคว้ารวบรวมข้อมูลและให้ความรู้ เรื่อง “อารยธรรมและอารยสถานดาราศาสตร์ไทย” จะเป็นการรวบรวมผู้มีความสนใจในงานด้านสังคมวิทยาดาราศาสตร์ เพื่อใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานวิจัยด้าน ภูมิปัญญาดาราศาสตร์ไทย ให้เกิดขึ้น และสร้างฐานข้อมูลด้านสังคมวิทยาดาราศาสตร์ อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจในแนวคิดด้านดาราศาสตร์ไทย และการผสมผสานของดาราศาสตร์ไทยกับดาราศาสตร์สากล และส่งถ่ายความรู้ดาราศาสตร์ไทยให้คงอยู่ต่อไป

 

01 02

03 04

05 06

07 08

09

 

การบรรยาย

วันที่ 29 กันยายน 2561

ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล หอดูดาวและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจันทรเกษม
ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลวัดกุฎีดาวและเรื่องราวการวางผังวัดแบบดวงดาว
บรรยายโดย รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี

วันที่ 30 กันยายน 2561

ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล ณ พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์

ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล ณ หอดูดาววัดสันเปาโล และพระที่นั่งทะเลชุบศร

บรรยายโดย นายภูธร ภูมะธน

ผู้เข้าร่วม

  1. รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม   สดร.    ที่ปรึกษา
  2. นายภูธร ภูมะธน           นักวิชาการอิสระ นักวิชาการ
  3. รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี มหาวิทยาลัยมหิดล        อาจารย์
  4. ผศ.ดร.ศิรามาศ โกมลจินดา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่     อาจารย์
  5. อ.ดร.อาทิตย์ ลภิรัตนากุล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่     อาจารย์
  6. อ.ดร.เชิดศักดิ์ แซ่ลี่           มหาวิทยาลัยเชียงใหม่     อาจารย์
  7. นายอดิศักดิ์ สุขวิสุทธิ์ โรงเรียนอรุณประดิษฐ์     อาจารย์
  8. นางอรพินธ์ แซ่ลี่           นักวิชาการอิสระ นักวิชาการ
  9. นางสวนิต เทียมทินกฤต สำนักจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม นักวิชาการ
  10. นายกรกมล ศรีบุญเรือง สดร. นักวิชาการ
  11. นายพิสิฏฐ นิธิยานันท์ สดร.    เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์
  12. นายกรกต ท้าวศรีบุญเรือง สดร.    เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ชำนาญการ
  13. ว่าที่ร้อยตรีนิรันดร์ หิรัญสุข สดร. เจ้าหน้าที่จัดการงานทั่วไป
  14. นางสาวปรียา สุขยิ่ง สดร.    บรรณารักษ์