สดร. ได้ริเริ่มและผลักดันให้เกิดความร่วมมือที่สาคัญของ 3 หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ แห่งชาติ (องค์การมหาชน) - สดร. สานักงานเทคโนโลยีอวกาศและ ภูมิสารสนเทศแห่งชาติ (องค์การมหาชน) - สทอภ. และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) - สซ. ในการพัฒนาดาวเทียมขนาดเล็ก เพื่อใช้ใน การวิจัย ดาวเทียมดังกล่าว จะออกแบบและสร้างโดยทีมวิศวกรและ บุคลากรของ 3 หน่วยงาน เป็นการสร้าง ประสบการณ์ในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงในประเทศไทย และในอนาคต จะเป็นพื้นฐานให้เกิดอุตสาหกรรม อวกาศ (Space Industry) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงที่สุดอย่างหนึ่ง ของโลก

Screen Shot 2562 12 09 at 11.12.46

        ในเดือนธันวาคม 2561 ผสดร. ได้รับเชิญจาก Changchun Institute of Optics, Fine Mechanics and Physics (CIOMP) สาธารณรัฐประชาชนจีน ให้ไปเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทางด้านทัศนศาสตร์ และการพัฒนาดาว เทียมขนาดเล็ก มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือที่จะพัฒนาดาวเทียมขนาดเล็ก TSC-0 หรือ TSC Pathfinder จะติดตั้งกล้องถ่ายภาพพื้นพิภพได้ในความละเอียด 2 เมตร โครงการนี้คาดว่าจะเริ่มดาเนินการได้ในปี 2563 และสามารถส่งขึ้นสู่อวกาศได้ในปี 2565 นับเป็นโครงการนาร่อง เพื่อสร้างขีดความสามารถของวิศวกรและ ช่างเทคนิคไทย เพื่อเตรียมการออกแบบดาวเทียมของไทยเองต่อไปในอนาคต

        สืบเนื่องจากนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและ นวัตกรรม ที่จะขยายความร่วมมือไปยังสถาบันอุดมศึกษา มีผลทาให้โครงการ Thai Space Consortium มีงบประมาณรวมเกิน 1,000 ล้านบาท จึงจาเป็นต้องมีการจัดทา Feasibility Study ซึ่งขณะนี้ สทอภ. กาลังอยู่ ในระหว่างการดาเนินการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม สดร. ไดเ้ ริ่มดาเนินการออกแบบระบบทัศนศาสตร์ของดาวเทียม TSC-1 แล้ว แม้ว่าการทา Mission Analysis ของดาวเทียมดวงแรกยังไม่เสร็จสิ้นกระบวนการ และเนื่องจาก สดร. มีความร่วมมือกับ CIOMP ในการ ออกแบบและสร้างดาวเทียม TSC-0 จึงมีความเป็นไปได้ที่ Payload บน ดาวเทียม TSC-1 จะถูกปรับให้เป็น Hyperspectral Telescope ซึ่งในปัจจุบัน ยังไม่มีดาวเทียมของไทยที่มีขีด ความสามารถในระดับนี้