บันทึกความทรงจำ เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี สุริยุปราคาเต็มดวง 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538

นายกรกมล ศรีบุญเรือง

นักวิชาการ

          เมื่อนึกย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ของวงการดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นเหนือท้องฟ้าเมืองไทยอาจจะอยู่ในความทรงจำของใครหลายคนที่ได้เฝ้ามองปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงในครั้งนั้นด้วยความประทับใจ หลังจากเกิดเหตุการณ์ครั้งเวลาก็ได้ล่วงเลยมาถึง ณ เวลาปัจจุบันก็เป็นเวลา 25 ปี แล้ว แต่กลิ่นไอของสุริยุปราคาเต็มดวงยังคงคุกรุ่นอยู่ สิ่งที่ผมได้เห็นในวันนั้นคือดวงอาทิตย์เสี้ยวบางที่เกือบมืดทั้งดวง เงาที่เป็นเสี้ยวตามพื้นในตอนนั้นผมก็ไม่ได้มีความรู้ในเรื่องปรากฏการณ์สุริยุปราคามากก็เพียงได้แต่ดูตามคำแนะนำ และอีกเหตุการณ์หนึ่งที่สังเกตเห็นคือฝูงนกบินกลับรัง แม้ตำแหน่งที่ผมสังเกตไม่ได้อยู่ในแนวคราสเต็มดวง แต่ท้องฟ้าขณะที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์มากที่สุดท้องฟ้าในเวลานั้นมีแสงสลัว ๆ คล้ายกับช่วงหัวค่ำหลังจากที่ดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าไปแล้วระยะการมองเห็นวัตถุที่อยู่รอบ ๆ ตัวมีสีคล้ำลงมองเห็นเงาตัวตัวจาง ๆ สักพักท้องฟ้าก็เริ่มสว่างเริ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกับมาสว่างตามปกติ แม้ว่าผมจะไม่ได้เดินทางไปดูปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงตามแนวคราสที่ผ่านในประเทศก็ตามแต่ผมก็จำเหตุการณ์ในวันนั้นได้ดี

 

04 01

รูปที่ 1 ภาพจำลองเหตุการณ์สุริยุปราคาที่ผมมองเห็นจากที่บ้าน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538 ขณะที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์เหลือเป็นเสี้ยวบาง ๆ (ภาพจำลองเหตุการณ์สุริยุปราคาจากโปรแกรม Stellarium)

 

          หลังจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนั้นหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ก็ได้ตีข่าวปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงขึ้นหน้าหนึ่งทุกฉบับ รวมถึงวารสารหลายฉบับได้ร่วมรวมภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนี้พิมพ์ออกมาจำหน่ายเก็บเป็นที่ระลึก แต่ในเวลานั้นผมเองไม่ได้ซื้ออะไรเก็บเลยเพราะไม่ได้สนใจอะไรมากเท่าไร เมื่อวันเวลาผ่านไปจนได้มา ทำงานที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติขณะนั้นยังเป็นโครงการการจัดตั้งอยู่และมีที่มีแค่ห้องเล็ก ๆ ของภาควิชาฟิสิกส์และพัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันนี้ผมได้ไปนั่งอ่านหนังสือในห้องสมุดและเจอหนังสือดาราศาสตร์เก่า ๆ หลายเล่มเลยหยิบออกมาอ่านและมีหลายเล่มที่อ่านแล้วสนุกและด้วยความอยากได้ผมก็เลยเอาหนังสือเล่มที่ชอบไปถ่ายเอกสารเก็บไว้เนื่องจากหนังสือเหล่านี้ไม่มีจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว นี้เป็นจุดเริ่มต้นของการสะสมหนังสือดาราศาสตร์ทั้งเก่าและใหม่ของผมและสะสมเรื่อยมาจนมาถึงปัจจุบัน

          เมื่อไม่นานมานี้ผมมีโอกาสได้ไปเดินเล่นที่ตลาดนัดขายของเก่าได้เจอกับหนังสือสุริยุปราคาเล่มหนึ่งที่วางอยู่กับพื้นเลยหยุดแล้วเดินตรงเข้าไปหยิบหนังสือเล่มนั้นขึ้นมาเพื่อเปิดดูเนื้อหาและตรวจดูสภาพของหนังสือ ระหว่างที่เปิดดูผมก็แลไปเห็นว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ธรรมดาเพราะว่ามีลายเซ็นต์ของหนึ่งในผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ปรากฏอยู่นั้นก็คือ อาจารย์ระวี ภาวิไล ที่ท่านได้ลงลายเซ็นต์ไว้และส่งมอบให้อาจารย์ท่านหนึ่งในภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยใหม่ไว้ (ผมไม่ทราบว่ามอบให้ใครเพราะไม่มีชื่อของผู้รับมอบเขียนบอกไว้ทราบแต่เพียงว่าเป็นของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยใหม่จากการสอบถามพ่อค้า) แต่เมื่อวันเวลาผ่านไปหนังสือเล่มนี้ก็ถูกใส่กล่องเก็บขายให้พ่อค้าขายหนังสือมือสอง จากนั้นหนังสือก็มาปรากฏอยู่บนเสื่อกกเก่าๆ ที่เปิดเป็นหน้าร้านชั่วคราว เพื่อตามหาเจ้าของที่มองเห็นคุณค่าของหนังสือคนต่อไป จนกระทั่งผมผ่านมาเจอและซื้อมาในราคา 50 บาท

 

04 02

รูปที่ 2 ภาพหน้าปกของหนังสือสุริยุปราคาเต็มดวงกันหน้าที่มีลายเซ็นของอาจารย์ระวี ภาวิไล

 

          หลังจากนั้นผมก็ยังเจอวารสารและสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงอีกหลายอย่างและได้ซื้อเก็บสะสมรวบรวมไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะหาได้เพราะสิ่งของเล่านี้เป็นสิ่งย้ำเตือนความทรงจำในครั้งอดีคที่เคยได้เงยหน้าขึ้นไปมองดูปรากฏกาณ์สุริยุปราคาครั้งประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเหนือท้องฟ้าเมืองไทย แต่ ณ เวลานั้นผมไม่ได้เดินทางไปดูสุริยุปราคาเต็มดวงตามแนวที่คราสผ่าน ผมจำได้ว่าผมยืนดูสุริยุปราคาอยู่กับคุณย่าที่บริเวณบ้านหน้าโดยใช้แก้วที่ทุบจากขวดให้แตกแล้วเลือกเอาเศษแก้วที่มีขนาดใหญ่ไปรมควันให้เขม่าสีดำติดกับแผ่นแก้วที่ทุบมาแล้วค่อยเอามาส่องดูดวงอาทิตย์ตามคำแนะนำที่ได้ดูในโทรทรรศน์มา ในความทรงจำครั้งนี้ผมจำได้ว่าผมวิ่งออกไปดูที่หน้าบ้านแล้วก็วิ่งกลับเข้าบ้านมาดูการถ่ายทอดสดปรากฎการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง ผมจำไม่ได้ว่าดูการถ่ายทอดสดจากช่องไหนรู้เพียงแต่ว่าดู

 

04 03

รูปที่ 3 แถวบน  หนังสือสุริยุปราคาเต็มดวงและสมุดบันทึกสุริยุปราคาเต็มดวง

แถวล่าง วารสารที่มีการตีพิมพ์ออกมาในช่วงระยะเวลานั้นที่ขึ้นหน้าปกเป็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง

 

04 04

รูปที่ 4 หนังสือสุริยุปราคาเต็มดวงอีกชุดหนึ่งที่ผมหาซื้อจากร้านขายหนังสือมือสองมาได้ยกเว้นเล่มสุดท้ายทางขวามือสุดได้รับมาจาก อาจารย์อารี สวัสดี เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563

 

04 05

รูปที่ 5 หนังสือพิมพ์ที่ อาจารย์บุญรักษา สุนทรธรรม ซื้อและเก็บรักษาไว้แล้วนำมามอบให้หอจกหมายเหตุดาราศาสตร์ ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เก็บรักษาต่อและให้เป็นประโยชน์แก่คนรุ่นหลังที่สนใจอยากรู้เรื่องราวนี้

 

04 06

รูปที่ 6 ใบปลิวประชาสัมพันธ์ของ ททท ที่ทำแจกให้แก่ประชาชนที่สนใจ ภายในแผ่นใบปลิวเป็นข้อมูลของปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538

 

04 07

รูปที่ 7 ใบปลิวประชาสัมพันธ์ข้อมูลของปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงในวันที่ 24 ตุลาคม
พ.ศ. 2538 ไม่ได้ระบุว่าหน่วยงานไหนจัดทำขึ้นมา เพื่อแจกจ่ายประชาชน

          ก่อนเหนือจากหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ และใบปลิว และยังมีหน่อยงานต่างที่ได้จัดทำของที่ระลึกขึ้นมาเพื่อจำหน่อยแก่ประชาชนที่สนใจ เช่น แสตมป์และ ไปรษณียบัตร ทางกรมไปรษณีย์ (ในเวลานั้น) ได้จัดทำแสตมป์สุริยุปราคาดวงละ 2 บาท กับไปรษณียบัตรพร้อมซองใส่ไปรษณียบัตรขึ้นมาจำหน่ายเป็นของที่ระลึกในโอกาสนี้ด้วย

 

04 08

รูปที่ 8  แผ่นแสตมป์สุริยุปราคาดวงละ 2 บาท เต็มแผง และบัตรโทรศัพท์

 

          นอกจากนี้องค์โทรศัพท์ก็ได้จำหน่ายบัตรโทรศัพท์ (เด็กสมัยนี้คงไม่มีใครรู้จักรกันแล้ว) ที่พิมพ์รูปภาพสุริยุปราคาออกจำหน่าย 4 แบบ ในราคา 25 บาท 50 บาท 100 บาท และ 200 บาท แต่ผมมีแค่ 2 แบบเท่านั้น แต่ก็ยังตามหาอีก 2 ใบที่เหลืออยู่

          สมบัติชนิดเดียวที่ผมซื้อในตอนนั้นคือ “เทปคาสเซ็ท” ของวงไมโครที่มีชื่ออัลบัมว่า “สุริยคราส” และมีเพลงที่แต่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับปรากฏการณ์สุริยุปราคาด้วยโดยมีชื่อเพลงตามชื่อชื่ออัลบัมว่า “สุริยคลาส” เช่นกัน 

 

04 09

รูปที่ 9 แสดงปกของเทปคาสเซ็ทของวงไมโครที่มีรูปสุริยุปราคาเต็มดวงปรากฏอยู่บนปกเทปคาสเซ็ท

 

          นอกจากสิ่งเหล่านี้ที่ผมได้กล่าวมานี้ยังมีของอีกจำนานมากที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อจำหน่ายเนื่องในโอกาสนี้ ผมคงไม่สามารถรวบรวมสิ่งของเหล่านี้ได้ครบทุกชนิดเป็นแน่เพราะผมไม่ทราบจริง ๆ ว่ามีอะไรบ้างที่ถูกผลิตออกมา ณ เวลานั้น ไว้ถ้านี้อะไรใหม่ที่ได้มาจะมาเล่าอีก สำหรับบทความนี้ก็คงขอจบเพียงเท่านี้ก่อน

 update 21 พฤษภาคม 2563