เป็นโครงการความร่วมมือเพื่อศึกษาวิจัยด้านดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์บรรยากาศ ณ บริเวณ ขั้วโลก ร่วมกับสาธารณรัฐประชาชนจีน เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการสังเกตการณ์ทาง ดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์บรรยากาศ ที่ต้องการเวลาสังเกตการณ์ยาวนานและต่อเนื่อง ซึ่งความร่วมมือ ดังกล่าวจะช่วยพัฒนาองค์ความรู้และบุคลากรของประเทศไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวครอบคลุมการวิจัยเกี่ยวกับ Marine Biology, Oceanography, Atmospheric Science และ Astronomy Geophysics และ Geochemistry

Screen Shot 2562 12 09 at 11.31.21

        สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ส่งข้อเสนอโครงการวิจัยการสารวจ ตัดข้ามละติจูด (Latitude Survey Project) ต่อสถาบันวิจัยขั้วโลกของจีน (PRIC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลกระทบของรังสีคอสมิกต่อโลก โดยการนาเครื่องตรวจวัดนิวตรอนบรรทุกบนเรือสารวจวิจัยเพื่อเก็บข้อมูลตาม เส้นทางเดินเรือจากประเทศจีนไปยังทวีปแอนตาร์กติกา และได้รับการอนุมัติจากสถาบันวิจัยขั้วโลกของจีน ให้ สามารถนาอุปกรณ์ที่ติดตั้งเครื่องตรวจวัดนิวตรอนภายในคอนเทนเนอร์ฉนวนที่ได้รับการพัฒนาโดยนักวิจัยไทย ภายใต้ความร่วมมือของสถาบันในประเทศไทย อาทิเช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน), มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันในต่างประเทศ เช่น University of Delaware และ University of Wisconsin-River Falls ประเทศสหรัฐอเมริกา, Shinshu University ประเทศญี่ปุ่น เดินทางไปพร้อมกับเรือ สารวจวิจัย Xue Long ออกเดินทางจากเมืองเซี่ยงไฮ้ สาธาณรัฐประชาชนจีน ไปยังสถานีวิจัย Zhongshan ซึ่ง ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งของทวีปแอนตาร์กติกา ขั้วโลกใต้