รูปแบบที่ 1 : การนำเสนอผลงาน “กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน”  ผู้เข้าร่วมต้องจัดเตรียมการนำเสนอผลงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.1  การลงทะเบียน
      ผู้ลงทะเบียน ต้องส่งข้อมูลกิจกรรมเด่น และ กิจกรรในภาพรวมตลอด 1 ปีการศึกษาที่ผ่านมา ในห้วข้อที่เข้าร่วมนำเสนองาน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ "รูปแบบการจัดประชุม"

1.2 รายงานฉบับสมบูรณ์ (Full Paper)

       ผู้ลงทะเบียนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมนำเสนอผลงาน จะต้องจัดทำรายงานการจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ฉบับสมบูรณ์ เพื่อยืนยันการเข้าร่วมการนำผลงานเข้าร่วมการประชุม โดยรายงานฉบับสมบูรณ์จะเป็นการอธิบายรายละเอียดกิจกรรมให้ชัดเจนมากขึ้น เช่น รูปแบบ ขั้นตอน ผลการดำเนินกิจกรรม และการอภิปรายผล เพื่อให้ผู้อ่านมองเห็นและเข้าใจภาพรวมของการจัดกิจกรรม สามารถต่อยอดและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมของตนเองได้ โดยมีรูปแบบการเขียนรายงาน ดังนี้

1.2.1 จำนวนรายงาน ไม่เกิน 4 หน้า (ขนาด A4)
1.2.2 รูปแบบรายงานฯ และการตั้งค่าหน้ากระดาษ (คลิ๊ก)

1.3  การนำเสนอผลงาน

1.3.1 การนำเสนอแบบบรรยาย (Oral Presentaion) จัดเตรียมสไลด์สำหรับนำเสนอกิจรรมดาราศาสตร์ เช่น ชื่อกิจกรรม บทนำ/แนวคิด/ที่มาของกิจกรรม วัตถุประสงค์ การดำเนินงาน/รายละเอียดกิจกรรม ผลการดำเนินกิจกรรม ฯลฯ (เวลานำเสนอ 5 นาที)  (คลิ๊ก)

1.3.2 การนำเสนอแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) จัดเตรียมข้อมูลโปสเตอร์นำเสนอกิจกรรมดาราศาสตร์     (ผู้นำเสนอต้องจัดเตรียมมาเอง) โดยมีรายละเอียดดังนี้

- ความกว้าง x ความยาว (90 x 120 เซนติเมตร)
- ตัวอักษร/รูปภาพไม่เล็กเกินไป และไม่กลืนไปกับพื้นหลัง สามารถอ่านได้ง่าย เน้นรูปประกอบเพื่อให้เห็นภาพรวมของกิจกรรม

Poster

ตัวอย่างรูปแบบโปสเตอร์นำเสนอผลงาน

2. การนำเสนอกิจกรรมอบรม (Workshop) “กิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในชั้นเรียน”

2.1.  ลงทะเบียน

ส่งข้อมูลและอธิบายขั้นตอนของกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในชั้นเรียน เช่น วัตถุประสงค์ อุปกรณ์ ระยะเวลากิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย และขั้นตอนการเรียนรู้ เป็นต้น

2.2.  การคัดเลือก และสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

คณะกรรมการจะมีการคัดเลือก สัมภาษณ์ และสอบถามเกี่ยวกับ กิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในชั้นเรียน เพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือกกิจกรรมฯ

2.3 การนำเสนอ

ผู้นำเสนอเป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมมอบรม (Workshop) การนำเสนอกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในชั้นเรียนให้กับผู้เข้าร่วมการประชุม โดยมีเวลานำเสนอและดำเนินกิจกรรม 1 ชั่วโมง/กิจกรรม โดยทีมงานจากสถาบันฯ จะเป็นผู้ร่วมจัดเตรียมและสนับสนุนการนำเสนอผลงานดังกล่าว



เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกผลงานที่มีความโดดเด่น

ผลงานกิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน ที่มีความโดนเด่นและได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากคณะกรรมการ และได้รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ จากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ตามเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้

    1. ความชัดเจนในการนำเสนอ เช่น การนำเสนอครอบคลุมเนื้อหา, การนำเสนอถูกต้อง ตรง/ครบประเด็น         ที่กำหนด
    2. ความหลากหลายของกิจกรรม หรือโครงงานฯ ที่นำเสนอ เช่น วิธีการ รูปแบบ ความคิดสร้างสรรค์      ความแปลกใหม่
    3. ความต่อเนื่อง และจำนวนกิจกรรม/โครงงานดาราศาสตร์
    4. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตลอด 1 ปีการศึกษา รวมถึงประโยชน์ของที่เกิดขึ้นต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม หรือชุมชน
    5. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เช่น การนำเสนอ เผยแพร่กิจกรรม และโครงงานดาราศาสตร์, การเป็นวิทยากร, การดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภายนอก